เมื่อพูดถึงคำว่า “ ฟิสิกส์ “ หลายคนคงบอกว่ามันยาก “เรียนไปทำไมไม่รู้เรื่อง “ ทำไมต้องเรียน “ มีหลายเหตุผลที่มีต่อวิชานี้ หลายคนล้มเหลวกับการเรียนฟิสิกส์ทั้งในระดับมัธยม จนถึงปูพื้นฐานเมื่อเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เรามาดูการเรียนฟิสิกส์ 4 ปี ในรั้วมหาวิทยาลัย เรียนอะไรบ้าง? เอาชีวิตรอดกับการเรียนให้จบ 4 ปียังไง? ย้อนความกลับไปตอนที่ได้รู้จักวิชาฟิสิกส์ครั้งแรกตอน ม.4 ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมวิชาวิทยาศาสตร์ถึงต้องแยกออกมาเป็นวิชา ฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา เพราะมันดูเยอะและอีกอย่างไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเรียนไปสามารถเอาใช้ในชีวิตจริงได้ยังไง จนกระทั้งได้เริ่มเรียนเนื้อหาจากบทแรก บทสอง และเรียนต่อไปเรื่อย ๆ จนจบ ม.6 พบว่า 3 วิชานี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตเราเป็นอย่างมาก อย่างเช่น วิชาฟิสิกส์จะศึกษาเกี่ยวกับการอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้น หรือจะเป็นวิชาเคมีที่ศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบของสสาร การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในองค์ประกอบของสสารนั้น และสุดท้ายวิชาชีววิทยาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ อย่างมีเหตุและผล ซึ่งศึกษาทั้งในเรื่อง ด้านโครงสร้าง ด้านการทำงาน ด้านการเจริญเติบโต ด้านวิวัฒนาการ และต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต พอเริ่มเข้าใจว่าวิชาต่าง ๆ เรียนเกี่ยวกับอะไรและวิชาไหนตัวเองทำได้ดี น่าจะเป็นแนวทางที่สามารถไปต่อยอดอาชีพในอนาคตได้ภาพประกอบ โดย Geralt จาก Pixabay.com เมื่อจบ ม.6 ก็ต้องตัดสินใจว่าตัวเองจะเลือกเดินทางไปในเส้นทางไหน เพื่อใช้วิชาชีพเหล่านั้นที่เรียนไปทำงานหาเงินให้กับตัวเองและสามารถดูแลครอบครัวได้ มีหลายอาชีพที่ขึ้นมาเต็มไปหมดทั้งวิศวะ ครู บัญชี หรือแม้กระทั้งตำรวจหญิง พอลองพิจารณาตัวเองว่าชอบอะไร หรือคิดว่าตัวเองทำอะไรได้ดีที่สุดในตอนนั้น ทำให้ตกผลึกได้และเลือกคณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ เพราะฟิสิกส์เราเรียนแล้วเข้าใจ สามารถอธิบายให้เพื่อนฟังใจได้ และยังทำคะแนนในการสอบต่าง ๆ ได้ ฟิสิกส์สามารถต่อยอดได้ทั้งครู และตำรวจหญิง เมื่อก้าวมาเป็นเฟรชชี่ปี 1 ด้วยความที่ยังใหม่กับการจัดการเรียนการสอน สถานที่แปลกใหม่ รวมทั้งสังคมความเป็นอยู่แตกต่างจากตอนเรียนมัธยมอย่างสิ้นเชิง ทำให้ต้องปรับตัวค่อนข้างเยอะ ในการเรียนปี 1 เนื้อหาจะเป็นปูพื้นฐานวิชาฟิสิกส์ เคมี และชีวะ ร่วมกับแลปแต่ละวิชา ซึ่งทำให้รู้ว่าพื้นฐานเราไม่แน่นเท่าคนอื่น เลยทำให้ปี 1 ต้องศึกษาเพิ่มเติมเยอะหน่อย และยังมีวิชาที่เพิ่มเติมเข้ามาคือแคลคูลัส 1 เพื่อเอาไปต่อยอดกับการพิสูจน์สูตรต่าง ๆ ในชั้นปีที่สูงขึ้นไป โดยการเรียนปี 1 ผ่านไปได้ด้วยดี ภาพประกอบ โดย Geralt จาก Pixabay.com เมื่อขึ้นปี 2 จะได้เรียนเนื้อหาที่เป็นวิชาหลักของฟิสิกส์ อย่างเช่น Modern Physic ,Wave ,Optics ,Electronic ,Mechanics ,Quantum ,Thermodynamics และ Methods ซึ่งแต่ละวิชาคือเริ่มมีความยากขึ้น เรียนลึกขึ้น เนื้อหาแบบเข้มข้น สูตรค่อนข้างเยอะ เหมือนการเรียนแต่ละวิชาต้องใช้จินตนาการเข้ามาร่วมด้วยถึงจะมองภาพออก และมีวิชาที่ลงเรียนเพิ่มเติมเช่น ฟิสิกส์เพื่อสุขภาพ วิชาพลังงาน ซึ่งเป็นวิชาที่มองเห็นภาพได้จริง และสามารถเข้าใจได้ง่าย เอาไปประยุกต์กับชีวิตประจำวันได้ด้วย เมื่อขึ้นมาเป็นพี่จูเนียร์ เนื้อหาวิชาเรียนยังเข้มข้น และต่อเนื่องเหมือนเดิม ตัวอย่างวิชาเรียนอย่างเช่น Nuclear ,Solid ,Methods ,Astrophysics ,Basic Writing ,Physics of Sport และ Analog วิชาเรียนปี 3 ถือว่าหนักเอาการเลยทีเดียว ในการเรียนแต่ละวิชาต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ จนบางครั้งเนื้อหาเยอะจนลืมว่าเคยเรียนผ่านมาแล้ว เปรียบเทียบเหมือนในการเรียนมัธยมจะเรียน 1 บทและสอบปลายภาคเลย แต่พอขึ้นมหาลัยต้องเรียน 2-3 บทถึงจะสอบได้ซึ่งค่อนข้างหนักเหมือนกันภาพประกอบ โดย Foundry จาก Pixabay.com จบปี 3 มาได้ ขึ้นมาปี 4 เป็นพี่ซีเนียร์ ในการเรียนปี 4 ปีสุดท้ายของการเรียน จะต้องทำโปรเจค และสัมมนาเดี่ยว ในการทำโปรเจคคือต้องอ่านเปเปอร์ให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งเพราะจะมีผลตอนการนำเสนอผลงาน เมื่อเจอปัญหาต้องหาวิธีแก้ด้วยตัวเองก่อน ถ้าไม่ได้จริงค่อยปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา การออกแบบชิ้นงาน การสร้างชิ้นงาน และผลการทดลองที่ค่อนข้างยากโดยในทำโปรเจคเดี่ยวนี้ใช้เวลาถึง 1 ปี ของการอยู่ปี 4 เลยทีเดียว ในการนำเสนอโปรเจคจบก็ต้องนำเสนอท่ามกลางอาจารย์ 3 ท่าน ซึ่งบอกเลยแต่ละคนขึ้นชื่อทั้งนั้น แต่ด้วยความที่ซ้อมพรีเซนต์กับเพื่อนมาค่อนข้างเยอะ เลยทำให้การสอบโปรเจคครั้งนั้นผ่านมาได้ด้วยดี ภาพปก โดย Qimono จาก Pixabay.com เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !