ขึ้นชื่อว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าที่ไหนก็น่าจะเรียนยากกันหมดใช่ไหมครับ หรือจะเป็นสาขาอื่น ๆ ก็เรียนยากในแบบของสาขานั้น ๆ แต่ถ้าเรามีความตั้งใจ มีใจรักในสิ่งที่เรียน หรือเรียนในสิ่งที่รัก แต่ชีวิตการเรียนมันก็ไม่ได้เจอเฉพาะความชอบในสาขาที่เรียน มันยังเจอวิชาเรียนอื่น ๆ ที่เสริมมาให้เราเรียนอีกด้วย มาดูกันว่า ชีวิตการเรียนในสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ในระบบ 3 เทอม ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรานารี (มทส.) มันเป็นยังไง ไปอ่านกันเลยครับขอบคุณภาพ : Image by Chuk Yong from Pixabay มทส. เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งแรกของประเทศ จัดระบบการเรียนการสอนแบบไตรภาคหรือ 3 เทอม เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายสหกิจศึกษา โดยที่นี่เปิดสอนในคณะที่เป็นที่ต้องการของประเทศ การคัดเลือก นศ. เพื่อเข้าศึกษา ในปัจจุบันนี้มีหลายช่องทาง เช่น การสอบคัดเลือก โควต้า Protfolio เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้าง่ายอีกที่หนึ่งในประเทศขอบคุณภาพ: Image by congerdesign from Pixabay สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทส. เมื่อรับนักศึกษาเข้าเรียนแล้ว ในปี 1 จะเรียนพื้นฐานทางด้านวิศวะฯ ก่อน ยังไม่มีการแยกเข้าสาขา ส่วนคนที่ได้สาขาในปี 1 ต้องสอบผ่านในวันที่มาสอบสัมภาษณ์ ส่วนใครที่สอบไม่ผ่านก็ไม่ต้องกังวล ในปี 1 เราจะได้ชื่อว่าวิศวกรรมศาสตร์ ยังไม่สังกัด แต่จะเลือกสาขาได้ตอนปี 2 โดยการใช้เกรดเป็นตัวเลือก ถ้าใครเกรดสูงก็มีสิทธิ์เป็นอันดับต้น ๆ ที่จะได้เรียนในสาขานั้น ๆ ส่วนใครเกรดน้อยกว่า 2.00 จะไม่สามารถเลือกสาขาได้ จนกว่าเกรดจะเกิน 2.00 ซึ่งในวันรับน้องของปี 1 เข้าจะจัดให้สอบวิชาแคลคูลัส เพื่อวัดความรู้พื้นฐานในการเลือกเรียนวิชาแคลคูลัสและจัดตารางเรียนในเทอม 1 ถ้าใครสอบแคลคูลัสไม่ผ่าน จะต้องลงเรียนวิชา Pre calculas และสอบให้ผ่านเสียก่อน ถึงจะมีสิทธิ์เรียนวิชา Calculas I ส่วนตารางเรียนเทอม 1 ของปี 1 ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นคนจัดให้ ส่วนเทอมถัดไปเราเป็นคนจัดเองเมื่อขึ้นปี 2 ก็จะเข้าสาขาที่เลือกเรียนไว้ การรับน้องที่นี่ เมื่อก่อนถือว่าโหดมาก แต่ทุกวันนี้มีข่าวหลุดออกไปเยอะ เลยทำให้การรับน้องไม่หนักเท่าเมื่อก่อน หรือบางสาขาไม่มีการรับน้องเลย มีเพียงกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ส่วนวิศวะฯ จะมีประเพณีลงลาน คล้าย ๆ ฝึก นศท. แต่ไม่หนักเท่า ส่วนมากจะเป็นการทำกิจกรรมมากกว่า ส่วนวิชาเรียนก็จะเป็นพื้นฐานวิศวกรรมที่เจาะลึกมากกว่าปี 1 เริ่มได้เรียนการออกแบบทางวิศวกรรม ทั้งเขียนมือ เขียนในโปรแกรม Solidwork, Autocat ได้เรียนเขียนโปรแกรมภาษา C บอกเลยว่าเทอมแรกของปี 2 นั้น ไม่ง่ายเลยครับ โดยส่วนมากเกรดที่ดี ๆ ในปี 1 จะมาตกเอาก็เทอมแรกนี้แหละครับ รวมถึงผมด้วย ฮ่าฮ่าฮ่าขอบคุณภาพ: Image by John Dortmunder from Pixabay ขอบคุณภาพ: Image by PIRO4D from Pixabay พอขึ้น ปี 3 วิชาเรียนแต่ละตัว ค่อนข้างที่จะเจาะลึกในสายอาชีพ ถือว่าหนักเอาการเหมือนกัน ถ้าสายเครื่องกลก็จะได้เรียนเกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ เรียนถอดประกอบเครื่องยนต์ สายวิศวกรรมเกษตรก็ได้ถอดประกอบเครื่องสูบน้ำ เครื่องรถไถ เครื่องยนต์แทรกเตอร์ขนาดใหญ่ ส่วนยานยนต์ก็จะได้เรียนเกี่ยวกับยานพาหนะในถนน พวกรถยนต์ อะไรพวกนี้ ที่สำคัญใน ปี 3 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ต้องคิดหาที่ไปสหกิจ คิดหาโปรเจกต์จบ คิดเรื่องเรียนอีก ถ้าผ่านปี 3 ไปได้ เราก็จะขึ้นปี 4 ฮ่าฮ่าฮ่า ไม่ใช่ละ ขอบคุณภาพ: Image by Krzysiek from Pixabay ปี 4 ในระบบเรียน 3 เทอม ส่วนมากถ้าคนเก่ง ๆ ก็จะสามารถเรียนจบได้ภายใน 3 ปี 1 เทอม แต่ส่วนมากจริง ๆ จะไม่ค่อยจบ 4 ปีกันหรอกครับ ถ้าใครผ่านวิชาของปี 1 ปี 2 ปี 3 มาแล้ว ชีวิตการเรียนใน ปี 4 ถือว่าไม่หนักมาก เพราะส่วนใหญ่จะไปสหกิจแล้วกลับมาเรียนเพิ่มเติมนิดหน่อย จากนั้นก็จบ หางานทำหรือเรียนต่อกันขอบคุณภาพ: Image by diema from Pixabay งานรับปริญญาที่ มทส. จะโดดเด่นในเรื่องซุ้มรับปริญญา ที่ออกแบบและทำโดยนักศึกษา แต่ละซุ้มงดงามอลังการมากเลยครับ การเรียนการสอนแบบ 3 เทอมนั้น มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ใน 1 ปี มีการสอบมิดเทอมและไฟนอล รวม 6 ครั้งต่อปี ต้องตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือตลอดเลยครับ เพราะเวลามันเร็วมาก แต่ก็ดีที่ปิดเทอมไว แต่ไม่ค่อยตรงกับมหาวิทยาลัยอื่นเขา และที่สำคัญ มทส. มีคนจบ 4 ปี น้อย ถ้าหากใครอยากมาเรียน ขอให้ฝึกฝนพื้นฐานมาดี ๆ เลยครับ เพื่อชีวิตที่ดีในการเรียน