รีเซต

“ฟลูโรนา (Flurona)” ไข้หวัดใหญ่ผสมโควิด-19 อันตรายแค่ไหน อาการฟลูโรนา รุนแรงไหม

“ฟลูโรนา (Flurona)” ไข้หวัดใหญ่ผสมโควิด-19 อันตรายแค่ไหน อาการฟลูโรนา รุนแรงไหม
Ingonn
10 มกราคม 2565 ( 15:47 )
384

ในช่วงที่ผ่านมา ในต่างประเทศได้พบเชื้อโควิด-19 รูปแบบใหม่ที่ผสมกันระหว่าง โควิด-19 และไข้หวัดใหญ่ จนกลายเป็นเชื้อ “ฟลูโรนา (Flurona)” โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อทั้ง 2 โรค

 

วันนี้ TrueID จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ  “ฟลูโรนา (Flurona)”  เชื้อโควิด-19 รูปแบบใหม่ที่ผสมระหว่างเชื้อไวรัสโควิด-19 และไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะอันตรายและมีอาการอย่างไรบ้าง เช็กที่นี่

 

ฟลูโรนา (Flurona) คืออะไร

ฟลูโรนา (Flurona) เป็นการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และเชื้อไวรัสโคโรนา (Corona) หรือโควิด-19 เชื้อทั้งสอง เป็นไวรัสทั้งคู่ แต่เป็นไวรัสคนละตระกูลกัน และทั้งสองตระกูลทำให้เกิดอาการป่วยคล้ายๆ กัน ขณะนี้ยังไม่มีนัยสำคัญอะไรที่ทำให้ต้องวิตกกังวล และจากการเฝ้าระวังในประเทศไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อดังกล่าว

 

การที่คนหนึ่งคนติดเชื้อสองอย่าง โดยบังเอิญในเวลาเดียวกัน มีความเป็นไปได้ (Mixed Infection) แต่จะผสมพันธุ์กันจนเกิดเป็นไฮบริดไม่ได้ จึงไม่ต้องวิตกกังวล แต่ทั้งเชื้อไข้หวัดใหญ่ และเชื้อโควิด-19 แพร่กระจายจากทางเดินหายใจในลักษณะที่เป็นฝอยละอองเหมือนกัน

 

กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อฟลูโรนา (Flurona) 

  1. ผู้สูงอายุ
  2. ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค
  3. หญิงตั้งครรภ์

 

อาการฟลูโรนา (Flurona)

  • มีอาการทางเดินหายใจ เช่น เป็นหวัด คัดจมูก
  • อ่อนเพลีย
  • เป็นไข้ 89.4%
  •  ไอ 79.3%
  • หายใจเหนื่อย 24.1%
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 20.7%


กรณีคนที่มีอาการรุนแรงจะทำให้เกิดปอดอักเสบ และอาจเสียชีวิตจากระบบทางเดินหายใจล้มเหลว หรืออวัยวะต่างๆ ล้มเหลว 

 

อาการของฟลูโรนาเท่าที่มีการรายงานในปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรแตกต่างจากโควิดทั่วไป โอกาสติดเชื้อทั้ง 2 ตัวพร้อมกันยังมีค่อนข้างน้อย 


ฟลูโรนา (Flurona) พบที่ไหนแล้วบ้าง

จำนวนผู้ป่วยที่พบยังมีจำนวนน้อย ขณะนี้มีข้อมูลรายงานการตรวจพบในอิสราเอล บราซิล ฮังการี ฟิลิปปินส์

ส่วนประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันยังไม่พบฟลูโรนาในประเทศไทย โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่กับเชื้อโควิดผสมพันธุ์เกิดเป็นไฮบริดไม่ได้ ส่วนอาการของฟลูโรนายังไม่มีอะไรแตกต่างจากโควิด 

 

วิธีป้องกันฟลูโรนา (Flurona) 

การใส่หน้ากาก ล้างมือ รักษาระยะห่าง สามารถป้องกันทั้งสองโรคในเวลาเดียวกัน และถ้าจะสร้างภูมิคุ้มกัน ให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้นควรฉีดวัคซีน 

 

สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แนะนำให้ฉีดในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งขณะนี้ สปสช.ได้เตรียมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประมาณ 6 ล้านโดส ให้กลุ่มเหล่านี้ ในขณะที่วัคซีนโควิด-19 จะฉีดให้ครอบคลุมคนในประเทศทั้งหมด

 

ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรเว้นระยะจากวัคซีนโควิด 19 ห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพราะหากฉีดพร้อมกันสองอย่างอาจจะทำให้มีไข้ ปวดเมื่อยมากเกินไปและเมื่อเกิดอาการข้างเคียงก็จะไม่รู้ว่ามาจากวัคซีนตัวใด เพราะฉะนั้นถ้าฉีดวัคซีนโควิด 19 ผ่านไป 1-2 สัปดาห์ หากไม่มีอาการอะไรก็ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ต่อได้

 

ข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ , THE STANDARD 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง