การพูด หนึ่งในทักษะที่สำคัญชนิดที่เรียกว่าพูดไม่เป็น ตายสถานเดียว ไม่ว่าจะทำงานหรือเรียนหนังสือ ถ้าสื่อสารไม่ตรงจุด ถามไม่ตรงประเด็น ก็ไม่มีวันที่จะแก้ปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่ได้ การพูดสำคัญมากถึงขนาดที่มหาวิทยาลัยที่ครีเอเตอร์จากมาก็มีวิชาสอนทักษะการพูดในสถานที่ต่างๆ การวางตัว และทำนองที่เหมาะสม โดยอาจารย์จากคณะมนุษยศาสตร์มาให้การสอน อันที่จริง สมัยนั้น ครีเอเตอร์ก็ไม่ได้รู้สึกว่าการพูดมันจะยากเย็นอะไร เราพะวงกับทักษะอื่นมากกว่า พอเข้าสู่โลกของการทำงานจริง ยอมรับการพูดเพื่อรับมือกับคนเป็นเรื่องยาก ตั้งแต่นั้นมาทุกอย่างก็ยากไปหมด.... ถ้าพูดไม่เป็น ปาร์คโซยอน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ก็คงตระหนักถึงเรื่องการสื่อสารกับผู้คนจึงเขียนหนังสือเล่มนี้หนามาก หนาแบบทุบมือใครบางคนได้เลย จะมาถ่ายทอดบริบทของคนที่พูดเป็นในสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะในโลกของการทำงาน แปลเป็นไทยโดย อาสยา อภิชนางกูร ความรู้ความประทับใจที่ได้ภายในเล่มได้เรียนรู้ว่าลักษณะเฉพาะของภาษาในการทำงานที่แตกต่างจากภาษาในชิตประจำวัน เพราะภาษาคือเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับคนทำงานเป็นอย่างยิ่ง ลักษณะเฉพาะที่ว่ามีดังนี้1.การสื่อสารที่เข้าใจง่ายและชัดเจน2.ความสามารถในการชี้นำการเลือกของอีกฝ่าย3.การใช้ภาษาที่สุภาพ ได้เรียนรู้ว่าองค์ประกอบ 3 ประการของการพูด ประกอบด้วย1.คำนึงถึงอีกฝ่ายเป็นหลัก โดยการสนทนานั้นมีการปรับเปลี่ยนตามผู้ฟังที่สนทนาด้วย2.ใช้ภาษาเรียบง่าย อีกฝ่ายฟังแล้วเข้าใจ ไม่ได้ใช้ศัพท์เทคนิคจนคนนอกวงการฟังไม่เข้าใจ3.มีไหวพริบในการพูด รู้จักเริ่มบทสนทนาด้วยความเหมาะสม ได้เรียนรู้ว่าเทคนิคการพูดกับหัวหน้าจะต้องสอบถามข้อมูลให้ชัด เพื่อลดเวลาการทำงานที่ผิดพลาด เราไม่ต้องการให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นเลย เพราะมันแก้ไขได้ยาก การสื่อสารจึงต้องเคลียร์ตั้งแต่แรก โดยมีขั้นตอนดังนี้1.Where How When 3 คำที่ต้องถามหากงานที่ได้รับมอบหมายยังมีรายละเอียดไม่กระจ่างมากพอ อย่าลืมถาม 3 เรื่องนี้ด้วย ต้องใช้ที่ไหน ? ต้องใช้ภายในเมื่อไหร่ ? มีวิธีที่ต้องการกำหนดหรือไม่ ?2.ตรวจสอบตั้งแต่เป็นฉบับร่างว่าแนวทางเป็นเช่นนี้ใช่หรือไม่3.เมื่อมีคำถามให้รวบรวมมาถามทีเดียว ถ้าเป็นไปได้ให้ทำแบบมีตัวเลือกให้ตอบ มันแสดงถึงความรอบคอบของแนวทางการทำงานตัวเรา ได้เรียนรู้ว่าการพูดอย่างเรียบง่ายต้องพิจารณาสถานะและความรู้สึกของอีกฝ่ายให้ดีและแสดงความคิดเห็นออกไปพร้อมกับเหตุผลรองรับที่ดี มีหลักการ มีเหตุผลที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกคล้อยตาม หากผู้พูดมีความน่าเชื่อถือก็ยิ่งทำให้ผู้ฟังคล้อยตามได้ง่ายขึ้นด้วย ได้เรียนรู้ว่าสมองของผู้ฟังจะประมวลก่อนว่าเรื่องที่สนทนาอยู่เกี่ยวข้องกับตนหรือไม่ ถ้าใช่...จะพิจารณาต่อว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือเปล่า ถ้าใช่..มันเป็นข้อเสนอหรือการต่อรองที่เชื่อถือได้มั้ย ถ้าใช่..การสนทนา นี่คือประเด็นที่เราต้องเข้าใจเวลาจะไปคุยหรือไปต่อรองกับใครจะได้ไม่ถูกปฏิเสธ เพราะสมองคนเราสนใจแต่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวเองเท่านั้น ได้เรียนรู้ว่าอย่าไปมุ่งหวังจะโน้มน้าวอีกฝ่ายให้มาอยู่ข้างเดียวกับตน แต่จงพาตัวเองไปอยู่ฝ่ายเดียวกับเขา เพื่อฟังในสิ่งที่เขาพูดและชวนแก้ปัญหาที่เผชิญไปด้วยกัน แถมสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งได้อีกด้วย ได้เรียนรู้ว่าเทคนิคการสื่อสารที่ทำให้คำพูดมีพลังจะต้องประกอบด้วยความคิดเห็น เป็นเหตุเป็นผล มีตัวอย่างประกอบ และย้ำความคิดเห็นไปทวนซ้ำอีกรอบหนึ่ง เรียกว่า PREP Techniques ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ทำให้ความคิดเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีความน่าเชื่อถือและมีเหตุมีผลมากขึ้น ความเห็นนั้นจะต้องมีตัวเลขอ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ประกาศออกมา สถิติ ดัชนีต่างๆ รวมถึงคนหมู่มากคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ที่มีคนเห็นด้วย ถ้ามีความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจะดียิ่งขึ้น เพราะเขาจะมีงานวิจัยทางวิชาการมารองรับ ได้เรียนรู้ว่าเทคนิคการสนทนาให้ชัดเจนในที่ประชุม ประกอบด้วย ภาษาที่ใช้ต้องเป็นรูปธรรมเปรียบเทียบแล้วรู้สึกจับต้องวัดผลได้ มีการจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ในการนำเสนอ ใช้การเปรียบเทียบที่ดูดี มีกรณีตัวอย่างประกอบเป็นของตัวเอง ยิ่งสื่อสารได้ชัดเจน ยิ่งโน้มน้าวคนในห้องประชุมให้เข้าใจและเชื่อถือมากขึ้น สุดท้ายเราก็จะเป็นที่ยอมรับในกลุ่ม ได้เรียนรู้ว่าช่วงการสนทนาเพื่อลดความขัดแย้ง เรียกว่า ปรับอุณหภูมิในการเจรจาอย่างเหมาะสม นั่นคือ รู้จักพูดปฏิเสธ มีการขอบคุณคนรอบข้างตามความเหมาะสม หากเกิดปัญหาก็พูดขอโทษให้เป็นและถูกจังหวะ (อย่าพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องขอโทษบ่อยจะดีมาก) ได้เรียนรู้ว่าหัวใจสำคัญของการขอโทษ คือทำให้เขาเห็นถึงความพยายามของเราที่จะชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นของอีกฝ่าย ขั้นแรกเราแสดงตัวยอมรับผิดและแสดงความรับผิดชอบอย่างรวดเร็ว ขอโทษอีกฝ่ายที่ทำให้เสียหายและเสียความรู้สึก แล้วเร่งหาวิธีลดความเสียหายของอีกฝ่าย (ในความเป็นจริงเราดูบริบทว่าเราสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาให้เขาได้จริงหรือไม่) ได้เรียนรู้ว่าในการทำงานร่วมกับผู้อื่นบางครั้งเราก็มีเหตุต้องขอความร่วมมือจากคนอื่นหรือแผนกอื่น ดังนั้น การขอความช่วยเหลือจะต้องสื่อสารอย่างละเอียดด้วยหลักการ 3W1H กล่าวคือWhy วัตถุประสงค์ของงานนี้คืออะไรWhat ต้องทำอะไรบ้างWhen ต้องสะสางให้เสร็จเมื่อไหร่How ควรทำออกมาอย่างไร ได้เรียนรู้ว่าตามกฎของเมห์ราเบียน (mehrabian rule) กล่าวว่าสิ่งที่ทรงพลังในการสื่อสารจนผู้ฟังประทับใจประกอบด้วยภาษากาย โทนเสียง และคำพูด ทั้งหมดนี้ทำให้ครีเอเตอร์เข้าใจแล้วว่าการพูดเก่งกับพูดเป็นไม่เหมือนกัน บางคนพูดเก่งเข้าสังคมเป็นจนมีเพื่อนมากมาย แต่การพูดในที่ทำงานนั้นต่างกันมาก และถ้าพูดเป็น...เราจะเหนือกว่าคนเก่งที่พูดไม่เป็นเสียอีก ปาร์ค โซยอนนำตัวอย่างจากประสบการณ์ของคนที่เกาหลีใต้มาไล่เรียงประเด็นได้อย่างน่าสนใจ มองดูผิวเผินหนังสือเล่มนี้ก็ดูเหมือนจะไม่มีอะไรให้น่าดึงดูด แต่จริงๆก็มีรายละเอียดอีกมากให้ครีเอเตอร์ต้องศึกษาไปปรับใช้กับชีวิตจริง พูดจาให้คนฟังอย่างง่ายๆแล้วเข้าใจกระจ่างชัด เหมือนจะเป็นเรื่องเบสิก แต่อาจจะไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป หรือบางทีเราเองอาจจะยังไม่รู้สึกตัวก็เป็นได้ครับ เครดิตภาพภาพปก โดย katemangostar จาก freepik.com ภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย artursafronovvvv จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย gpointstudio จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ คิดแบบอัจฉริยะ โดย ทันตแพทย์สม สุจีรารีวิวหนังสือ ทิ้งนิสัยไม่ดีแล้วจะมีความสุขรีวิวหนังสือ ภาระที่อมไว้ คายออกมาเถอะนะรีวิวหนังสือ ไปใช้ชีวิตซะ โดย DR.POP รีวิว หนังสือ ขายดีเพราะไม่ได้ดีแต่ขายเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !