เมื่อมีข่าวเนื้อหมูขาดแคลนและมีราคาสูง รวมถึงเนื้อไก่ ไข่ไก่ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หาได้ง่ายอาจปรับราคาขึ้นตาม จะใช้โปรตีนทดแทนอย่าง plant based ก็มีราคาสูง จนมีการนำเนื้อชนิดอื่น อย่างเนื้อจระเข้มาทดแทน ก็ตะขิดตะขวงใจสำหรับคนที่ไม่เคยรับประทาน ถ้าอย่างนั้น เราลองดูข้อมูลโปรตีนของแมลง เป็นตัวเลือกในการเสริมโปรตีนดูบ้าง ก็น่าจะดีจริง ๆ แล้ว การเอาแมลงมาทำเป็นอาหารมีมานานแล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลียนิยมกินหนอนบางชนิด คนเกาหลีนิยมกินตั๊กแตน เนเธอร์แลนด์ก็มีการศึกษาหาแมลงที่สามารถนำมาทดแทนเนื้อสัตว์ได้ โดยศึกษาอย่างจริงจังถึงขนาดให้ทุนสนับสนุนเป็นโครงการวิจัยเลยทีเดียวหากดูข้อมูลต่างประเทศเปรียบเทียบโปรตีนจากสัตว์ชนิดต่างๆ พบว่าด้วงควาย หรือ ด้วงกระเบื้อง ซึ่งพบในประเทศไทยด้วยเหมือนกัน หากเอาเจ้าด้วงควายมาเทียบกับเนื้อวัว ในขนาดเท่า ๆ กัน คือ 100 กิโลกรัม ปรากฏว่าด้วงควายสามารถให้โปรตีนเทียบเท่าถึง 151 วัน ในขณะที่เนื้อวัวให้โปรตีนได้เพียง 21 วัน ซึ่งถือว่าเป็นโภชนาการท่ีมีประสิทธิภาพมาก ให้โปรตีนเยอะขนาดนี้นี่เอง องค์การสหประชาชาติถึงกับประกาศให้แมลงเป็น superfood ไม่น่าเชื่อเลยจริง ๆ ส่วนข้อมูลของไทยนั้น มีผลการศึกษาในเรื่องคุณภาพโปรตีนและไขมันในแมลง 8 ชนิด ที่กินได้ ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พบว่าหากเทียบนำ้หนักสดของแมลง 100 กรัม ให้พลังงานอยู่ในช่วง 98-231 กิโลแคลอรี โปรตีน 9.2-27.6 กรัม ไขมัน 1.8-20.4 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1.0-4.8 กรัม แมลงที่มีพลังงานและไขมันสูงสุดคือหนอนไม้ไผ่ แมลงที่มีโปรตีนสูงสุดคือตั๊กแตนปาทังก้า รองลงมาคือแมงป่องการนำแมลงมาแปรรูปเป็นอาหาร ส่วนใหญ่ของต่างประเทศทำได้หน้าตาน่ารับประทานอยู่ค่ะ เช่น เอามาทำเป็น”เบอร์เกอร์” ทําจากหนอนและตัวอ่อนของมอดรังผึ้งเป็น "ขนมอบกรอบ" หรือเอาไปผสมเป็นส่วนประกอบใน ส่วนพี่ไทย เท่าที่เห็นส่วนใหญ่ก็เป็นรถเข็นแมลงทอด แต่เริ่มมีการทำเป็นฟาร์มแมลงที่ทำเป็นธุรกิจส่งออกต่างประเทศ รวมถึงแปรรูปเป็น “โปรตีนแมลงผงแห้ง”ข้อดีของการนำแมลงมาเป็นแหล่งอาหารในอนาคต ก็คือ มีคุณค่าทางโภชนาการไม่ต่างจากเนื้อสัตว์หลัก แถมการเลี้ยงแมลงยังลดโลกร้อน ไม่ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก และยังใช้ต้นทุนต่ำในการเลี้ยงอีกด้วยก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว แต่อาจจะต้องระวังในเรื่องอื่นอีกนิด เนื่องจากแมลงแม้มีโปรตีนสูงและมีคุณภาพโปรตีนในส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นดีพอสมควร แต่มีปริมาณไขมันสูงและในการรับประทานแมลงโดยทั่วไปจะเป็นการทอดจึงเป็นการเพิ่มไขมันมากขึ้น ดังนั้นในการบริโภคควรคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยนอกเหนือจากเรื่องสารพิษตกค้าง ที่อาจติดมากับแมลงเหล่านี้ค่ะภาพ 1 Joshua Hoehne /unsplash ภาพ 2 Yassine Khalfalli /unsplash ภาพ 3 Kai62 /pixabay ภาพ 4 Ilya Mashkov /unsplash ภาพปก kengkreingkrai/pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !