. . . หากท่านฟังคำแนะนำการใช้ยาไม่เข้าใจเเละไม่ชัดเจน หลังจากกลับบ้านมาเเล้ว สิ่งที่จะช่วยให้ท่านใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย คือ "ฉลากยา" เเละหากการอ่านฉลากยาไม่ชัดเจนก็อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อการใช้ยา เเละไม่ได้ประสิทธิภาพในการรักษาเกิดขึ้นได้ ดังนั้น . . . วันนี้จึงขอเเชร์ เเละ เเนะนำวิธีการอ่านฉลากยา เพื่อการใช้ยาอย่างถูกต้อง และ ปลอดภัย ซึ่ง ฉลากยาที่อยู่บนหน้าซองของท่านที่ได้รับ จะเป็น "คำสั่งใช้ยาเเละวิธีการรับประทานยา" ที่ถูกต้องตามที่เเพทย์สั่งเเละเภสัชกรเเนะนำ* หมายความว่า ฉลากยาบอกว่าอย่างไร ให้ ใช้ยาตามที่ฉลากบอกไว้เเบบนั้น ได้อย่างมั่นใจว่าถูกต้องเเละปลอดภัยเเน่นอน !!!"ฉลากยา" รายละเอียดที่ระบุบนฉลากยาจะมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามที่มาตรฐานกำหนด (ดังภาพตัวอย่าง)1. ชื่อ-สกุลผู้ป่วย + เลขประจำตัวผู้ป่วย ( ยืนยันว่าเป็นของใคร ไม่ผิดคน)2. ชื่อ ยา ขนาดความเเรง ( ให้ทราบว่ากำลังใช้ยาอะไร ชื่อยาในฉลากเป็นยาชนิดเดียวกันกับยาในซองหรือไม่)3. ข้อบ่งใช้ในการรักษา ( ให้ทราบว่าเป็นยาที่รักษาอะไร)4. วิธีการใช้ยา ตามที่เเพทย์สั่ง ( ให้ทราบวิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง)5. จำนวนเม็ดยาที่ได้รับไป ( เพื่อให้ครบระยะเวลาของการรักษาเเละเพียงพอต่อวันนัด)6. คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการใช้ยาชนิดนั้น ( ให้เฝ้าระวังเเละทราบถึงอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้)7. เบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาล ( หากเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้ยา สามารถโทรติดต่อเเละสอบถามได้)ภาพเเสดงองค์ประกอบฉลากยา สร้างสรรค์ขึ้นเอง ตัวอย่างที่ 1 เช่น ฉลากยา . . . ยาบรรเทาอาการปวดเเละการอักเสบ ฉลากยาเขียนไว้ว่า รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า เที่ยง เเละเย็น เมื่ออาการหายสามารถหยุดยาได้(......หมายความว่า สามารถใช้ยาในการรักษาอาการปวดของท่าน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เที่ยง เเละ เย็น ซึ่ง ถ้ารับประทานไปเเล้ว มื้อเช้า มื้อเที่ยง พบว่ามื้อเย็นไม่มีอาการปวดเเล้ว นั่นแปลว่า ไม่จำเป็นต้องทานมื้อเย็น เเละไม่ต้องทานต่อไป ไม่ว่ายาจะเหลือกี่เม็ด กี่แผง ก็ตาม ....)เเต่ถ้าหาก ยังมีอาการปวดต่อเนื่อง ก็ยังคงสามารถรับประทานได้ต่อเนื่องตามที่ฉลากยาเเนะนำไว้ เเละถ้า อาการรุนเเรงเเละหนักขึ้นกว่าเดิม นั่นหมายความว่า ยาที่ท่านกำลังใช้ อาจยังไม่สามารถบรรเทาอาการได้ หรือ มีสภาวะอื่นเพิ่มเติม ควรรีบไปพบเเพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป . . . ภาพประกอบ ถ่ายภาพเเละสร้างสรรค์ขึ้นเอง ตัวอย่างที่ 2 เช่น ฉลากยาที่เขียนไว้ว่า เมื่อมีอาการ ทุก 6 ชั่วโมง หรือ ทุก 8 ชั่วโมง "ยาพาราเซตามอล บรรเทาอาการปวดหรือมีไข้ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวด หรือ มีไข้ "นั่นหมายความว่า เมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้ สามารถรับประทานยาตัวนี้ได้ 1 เม็ด เเละหลังจากรับประทานเเล้ว ยังมีอาการปวดหรือมีไข้อยู่ สามารถรับประทานซ้ำได้ เมื่อเวลาผ่านไปนับจากที่รับประทานเม็ดเเรกไปแล้ว 6 ชั่วโมง จะนับเช่นนี้ไปเรื่อยจนอาการหายก็สามารถ หยุดยาได้ ไม่สามารถรับประทานได้เร็วกว่า 6 ชั่วโมง เด็ดขาด** สิ่งที่ต้องระวัง ** หากเป็นยาที่รับประทาน ทุก 4 ชั่วโมง หรือ ทุก 6 ชั่วโมง หรือ ทุก 8 ชั่วโมง เหล่านี้ จะต้องระมัดระวังว่า ห้ามรับประทาน เร็วกว่าที่เเนะนำ เพราะถ้ารับประทานเร็วกว่าที่เเนะนำจะทำให้ยาที่รับเข้าไปในร่างกายนั้น มีปริมาณเกินขนาดได้ เพราะยาเเต่ละชนิดจะมีการกำจัดยา การสะสมยา ช่วงเวลารับประทานยาจะเเตกต่างกัน ตามการทดลองที่ผ่านหลากหลายขั้นตอน กว่าจะผ่านมาถึงขั้นการกำหนดวิธีการรับประทานยาในปัจจุบัน ภาพประกอบ ถ่ายภาพเเละสร้างสรรค์ขึ้นเองดังนั้น จะเห็นได้ว่า "การอ่านฉลากยา ก่อนใช้ยา" จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญด้วยรักและปรารถนาดี จาก เภสัชกร ^,^ ขอขอบคุณครับ