ปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ ว่า Cloud Computing เข้ามามีบทบาทต่อระบบการทำงาน และการบริหารจัดการต่าง ๆ ภายในองค์กรอย่างรวดเร็ว และได้มีการให้บริการที่รวมทุกการบริการ ไม่ว่าจะเป็น Web Server, Data Server, Mail Server, Application Server, IoT, ERP, ระบบ Automation ภายในโรงงานอุตสาหกรรม และบริการอื่น ๆ อีกมากมาย ที่รวมทุกบริการเป็น Platform เป็น Solution ที่ให้บริการอยู่บน Cloud ที่สามารถให้บริการที่ตอบสนองต่อระบบการบริหารจัดการภายในองค์กร ที่เรียกได้ว่าสามารถทำได้ทุกอย่างผ่าน Cloud โดยไม่จำเป็นที่จะต้องติดตั้ง Server ภายในองค์กร ซึ่งช่วยให้ลดต้นทุนในการติดตั้งระบบ การบำรุงรักษา และการอัพเกรดเพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต ภาพโดย Tumisu จาก Pixabay ซึ่งระบบ Cloud นั้นก็จะมี Infrastructure, OS และ Component ที่ให้บริการที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการเลือกใช้ ซึ่งแต่ละบริการก็จะมีข้อดีข้อเสีย และการรองรับการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องพิจารณาว่าบริการแบบไหน ของผู้ให้บริการเจ้าไหนที่เหมาะกับการใช้งานของเรา ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องพิจารณาในเรื่องของการตอบสนองการใช้งานเท่านั้น ความยากง่ายในการใช้งาน การ Configuration รวมทั้งความยากง่ายและความสะดวกในการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ของในแต่ละ Platform ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาพิจารณาในการเลือกใช้บริการ Cloud เช่นเดียวกัน ภาพโดย Wikipedia ซึ่ง Infrastructure สำหรับ Cloud ที่ผมได้ไปรู้จักจากการสัมมนากับ Nipa Cloud มานั้น ก็คือ OpenStack ซึ่งก็เป็น Infrastructure ที่ทาง Nipa Cloud ได้ใช้งานอยู่ ซึ่ง OpenStack นั้นก็มีข้อดีตรงที่เป็น Open Source ที่เราสามารถนำมาพัฒนาต่อให้เหมาะสมกับการใช้งานของเราได้ และยังมี Component ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และหลากหลายให้เลือกใช้งาน รวมทั้งยังมี Community ที่ให้นักพัฒนาได้พูดคุยแลกเปลี่ยนและพัฒนาร่วมกันอย่างกว้างขวาง ซึ่ง OpenStack นั้นก็เป็น Infrastructure สำหรับ Cloud ที่เริ่มต้นจากการพัฒนาร่วมกันของ 3 องค์กรใหญ่ คือ NASA, CISCO และ DELL และในปัจจุบันนี้ก็มีองค์ใหญ่ ๆ มากมายที่เลือกใช้ OpenStack ในการให้บริการระบบ Cloud ของตน เช่น Tencent, Intel, Red Hat, AT & T เป็นต้น ซึ่งใน OpenStack นั้นก็มี Component ที่ช่วยให้การติดตั้ง OS และซอร์ฟแวร์ต่าง ๆ เป็นไปโดยอัตโนมัติโดยที่ไม่ต้องทำซ้ำ ๆ ใน Server แต่ละตัว โดยที่สามารถให้ Component จัดการติดตั้งให้กับ Server ทุกตัวในครั้งเดียว เช่น การทำ Full Automation ด้วย Airship เป็นต้น ภาพโดย Airship และยังมี StarlingX ซึ่งก็เป็นหนึ่งใน Component ของ OpenStack ที่ทำหน้าที่ Edge Computing และช่วยให้การ Configuration ค่าต่าง ๆ ให้กับอุปกรณ์ IoT เช่น รถยนต์, รถไฟ และ Robot ทำได้ง่าย ๆ แค่เพียงเสียบสายแลนเข้ากับอุปกรณ์ ตัว StarlingX จะทำการ Config ค่าต่าง ๆ ให้กับอุปกรณ์โดยอัตโนมัติ ถาพโดย StarlingX และที่กล่าวมาก็เป็นแค่ข้อมูลคร่าว ๆ ของ Cloud และ OpenStack ซึ่งในประเทศไทยเองก็มีผู้ให้บริการ Cloud ที่ให้บริการด้วย OpenStack และมีการพัฒนาแพล็ตฟอร์มที่เรียกว่า NCP (Nipa Cloud Platform) ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการผ่าน User Interface ที่ทำได้อย่างง่ายดาย และสำหรับเพื่อนคนไหนที่สนใจค้นคว้าและศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OpenStack ก็สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่เว็บไซต์ openstack.org ครับ ภาพโดย Nipa Cloud ภาพหน้าปกโดย Wikipedia