เรื่องราวของกล้องระดับ.... คาดว่าแทบจะทุกๆสาขาในคณะวิศวกรรมนั้นต้องผ่านการเรียนวิชา Survey กันมาแล้วโดยเฉพาะภาควิชาสำรวจหรือโยธานั้นต้องเจอแน่นอน ซึ่งนิสิตทุกคนนั่นจะต้องเจอกับกล้องระดับในรายวิชานี้แน่นอน โดยกล้องระดับนี้มีประวัติมาที่ยาวนานอีกด้วย โดยในรายวิชานี้เพื่อนๆจะได้ใช้กล้องตั้งแต่กล้องวัดมุม(Theodolite) โดยตัวกล้องจะประกอบไปด้วยส่วนของลำกล้องบวกกับจานองศา 2 จานคือจานองศาดิ่งและจานองศาราบ ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้งานค่อนข้างสะดวกโดยสามารถแบ่งกล้องประเภทนี้ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้องวัดมุมทบ และ กล้องวัดทิศทาง โดยความยากง่ายจะแตกกันไปรวมถึงการคำนวณองศาต่างกันอีกด้วย ต่อมาจะเป็นกล้องที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนนั่นคือกล้อง Total station จะเป็นกล้องที่สารพัดประโยชน์ มากกว่ากล้องด้านบนโดยกล้องประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ General type , Robotic type , Reflectoless type , Remote type และ Smart station ส่วนกล้องที่ใช้ในการเรียนหรือทำแลปทั้งหมดจะเป็นประเภท General type ส่วนตัวมองว่าเป็นกล้องที่ใช้งานง่าย สะดวก และครบเครื่องมากสามารถวัดมุมได้ทั้ง องศาดิ่งและองศาราบ แถมยังมีการวัดระยะทางรวมถึงฟังก์ชันที่ช่วยในงานระดับอีกมากมาย ความยุ่งยากในการใช้งานกล้องประเภทนี้จะเป็นส่วนของการตั้งกล้องประเภทนี้ซึ่งจะมีความยากมากกว่ากล้องTheodolite โดยตัวผู้ใช้ต้องมีการปรับหลายอย่างเพื่อลดค่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากตัวกล้องให้ได้มากที่สุด สรุป กล้องระดับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดงานระดับในการสำรวจซึ่งเป็นเครื่องมือที่จำเป็นทำให้มีการออกแบบให้ใช้งานงได้ง่ายแล้ว กล้องนั้นยังแบ่งตามประเภทชั้นงานอีกด้วยโดยจะแบ่งเป็น 3 ชั้นงานซึ่งจะขึ้นกับความละเอียดของชั้นงานที่ต้องการ กล้องมีจะหน้าที่ในการช่วยผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบความถูกต้องของความต่างระดับของพื้นที่ที่กำลังก่อสร้างเช่น สะพาน ถนนต่างๆ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด ภาพประกอบที่ 1 inkflo / แหล่งที่มา Pixabay ภาพประกอบที่ 2 Justinite / แหล่งที่มา Pixabay ภาพประกอบที่ 3 Hans / แหล่งที่มา Pixabay ภาพประกอบที่ 4 Mikal Blomkvist / แหล่งที่มา Pexels ภาพประกอบหน้าปก Nelson Axigoth / แหล่งที่มา Pexels เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !