ไม่ว่าจะเป็นสังคมหรือยุคสมัยไหนย่อมมีการปรากฏขึ้นของกลุ่มคนที่ไม่ปรารถนาดี หรือเป็นภัยต่อสังคมส่วนรวมอยู่เสมอ โดยโดยเฉพาะในช่วงข้าวยากหมากแพง หรือ การเกิดวิกฤตต่าง ๆ ก็จะยิ่งส่งผลให้กลุ่มคนเหล่านี้เพิ่มจำนวนมากขึ้น รวมถึงกลวิธี โกหกหลอกลวงต่าง ๆ ที่เริ่มมีความแยบคายและหลากหลาย กระทั่งสามารถล่อลวงเอาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากผู้อื่นด้วยวิธีการที่ปราศจากสามัญสำนึกและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ที่นับวันผู้บริสุทธิ์หรือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนน่าตกใจ ยิ่งเป็นการเหยียบย่ำซ้ำเติมให้สถานการณ์ทางสังคมให้เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันการหลอกลวงเพื่อหวังเอาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์จากผู้อื่นด้วยวิธีการ "Phishing" หรือการหลอกลวงแบบออนไลน์ยังคงเป็นวิธีการที่ได้ผลอยู่เสมอ เนื่องจากมีการเจาะข้อมูลเข้าไปยังองค์กรหรือหรือกลุ่มบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อสร้างความแนบเนียนในการหลอกลวงผู้อื่น ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่ทำให้เหยื่อกว่าจะรู้ตัวก็สายไปเสียแล้ว โดยเฉพาะในยุคที่ประชาชนส่วนใหญ่กำลังอยู่ในสภาพจิตใจที่ย่ำแย่และเปราะบางท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติรอบตัวดังเช่นในเวลานี้คำว่า "Phishing" (ฟิชชิ่ง) จริง ๆ แล้วเป็นคำที่พ้องเสียงกับคำว่า "Fishing" (ฟิชชิ่ง) ที่มีความหมายว่าการตกปลา โดย Phishing ก็มีความหมายในลักษณะเดียวกันแต่จะเป็นการหย่อนเบ็ดเพื่อเอาข้อมูลหรือการล่อเหยื่อเพื่อให้ได้ข้อมูลด้วยวิธีการต่าง ๆ ผ่านระบบออนไลน์ ตัวอย่างเช่นการสร้างเว็บไซต์ปลอมหรือเว็บไซต์เลียนแบบที่หน้าตาเหมือนกับเว็บไซต์จริง เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวลงในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นรหัส Username Password ข้อมูลวัน เดือน ปีเกิด หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ รวมทั้งข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การแฮก (Hack) ข้อมูลในการเข้าใช้งานระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวกข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้แต่การจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบออนไลน์ ส่งอีเมลมายังผู้เสียหาย เช่น มีการเลียนแบบหรือแฮกข้อมูลของสถาบันการเงินหรือธนาคารต่าง ๆ โดยส่งอีเมลมายังผู้เสียหายว่า "ขณะนี้ ผู้เสียหายกำลังถูกบุคคลอื่นแอบเข้าใช้งานระบบธุรกรรมทางการเงินของธนาคาร จึงขอให้ผู้เสียหายคลิกไปตามลิงค์ที่ส่งมาในอีเมลนี้เพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขรหัส Username Password เป็นต้น ซึ่งหากมีผู้หลงเชื่อกับข้อความในลักษณะก็และกดเข้าไปในลิงค์นั้น ๆ พร้อมแก้ไขเปลี่ยนแปลง Username Password ก็จะทำให้ผู้กระทำความผิดหรือผู้ที่ส่งข้อมูลหลอกลวงเข้ามามี Username Password อันใหม่ของผู้เสียหายพร้อมเข้าไปกระทำความผิดในการยักย้ายถ่ายโอนเงินในบัญชีของผู้เสียหายได้ทุกเมื่อ ซึ่งจากกรณีดังกล่าวนี้ หลายธนาคารได้เคยออกมาแจ้งเตือนบ่อยครั้งว่า สถาบันการเงินและธนาคารส่วนใหญ่ไม่มีนโยบายส่งลิงค์ให้ลูกค้าเข้าไปแก้ไข Username Password ได้โดยพลการการส่งข้อความผ่านสื่อ Social Media หรือ Line โดยส่วนใหญ่จะเป็นการแฮกข้อมูลของญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักของเราและปลอมตัวเข้ามาทักทายเราตามช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ โดยเฉพาะใน Social Media แล้วเข้ามาขอยืมเงินโดยอ้างเหตุผลสารพัด ซึ่งไม่น่าเชื่อด้วยวิธีการเช่นนี้ ส่งผลให้มีผู้เสียหายเคยสูญเงินมาแล้วเป็นจำนวนมากสำหรับวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของภัยออนไลน์อย่าง Phishing นั้นมีหลักการง่าย ๆ ดังนี้เมื่อเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเว็บไซต์เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน เว็บไซต์ซื้อของออนไลน์ เว็บไซต์เกี่ยวกับการกรอกข้อมูลหรือลงทะเบียนข้อมูล เว็บไซต์รวมถึง Application ต่าง ๆ ของธนาคาร ต้องสังเกตุ URL หรือชื่อของเว็บไซต์ให้ดีว่าสะกดถูกต้องหรือไม่ เพราะบางครั้งกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้จะเลียนแบบชื่อเว็บไซต์ได้อย่างแนบเนียนมาก เช่น อาจมีตัวสะกดเพิ่มมา 1 ตัว เป็นต้น ดังนั้น การเข้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลส่วนตัวและการทำธุรกรรมทางการเงินดังกล่าว จะต้องสังเกตชื่อเว็บไซต์อย่างละเอียด รอบคอบ และถี่ถ้วนที่สุดเมื่อได้รับอีเมลต่าง ๆ เข้ามา โดยเฉพาะจากสถาบันการเงิน ธนาคาร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะต้องให้เราเข้าไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือส่งข้อมูลต่าง ๆ ควรโทรศัพท์กลับไปสอบถามกับหน่วยงานนั้น ๆ อย่างละเอียดอีกครั้ง โดยไม่ควรเชื่อในทันทีที่เห็นข้อมูล ที่สำคัญคือ ไม่ควรกดเข้าไปยังลิงค์ต่าง ๆ ที่ส่งเข้ามาในอีเมลโดยพลการเมื่อเห็นญาติ เพื่อน หรือบุคคลที่รู้จักมักคุ้นกัน ส่งข้อความมาทางระบบ Social Media ต่าง ๆ โดยเฉพาะการเข้ามาขอยืมเงิน หรือขอความช่วยเหลือ ควรโทรติดต่อกลับไปยังบุคคลผู้นั้นก่อนทุกครั้งควรเข้าไปเปลี่ยนแปลงข้อมูล Username Password ในระบบธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้แต่ Social Media ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลควรติดตั้งโปรแกรม Anti-Virus, Anti-Spam และ Firewall เพื่อป้องกันไม่ให้มีการส่งถ่ายข้อมูลโดยไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือการโจมตีข้อมูลผ่านการแฮกข้อมูลจากเหล่ามิชฉาชีพทุกวันนี้ยังคงปรากฏข่าวความเสียหายจากการ Phishing ที่เกิดจากการกระทำของเหล่ามิชฉาชีพที่ยังคงออกอาละวาดสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ประชาชนทุกหย่อมหญ้า ที่แม้จะมีการจับกุมดำเนินคดีและลงโทษตามกฎหมายไปแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้หมดไปจากสังคมโดยเร็ว คือการรู้เท่าทันของประชาชน และร่วมมือกันเฝ้าระวัง แจ้งเตือน และให้ข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มคนเหล่านี้ได้โดยง่ายอ้างอิงแหล่งข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลภาพประกอบจาก unspash ภาพหน้าปก, ภาพที่ 1, ภาพที่ 2, ภาพที่ 3, ภาพที่ 4