ส่วนใหญ่เราใช้ Microsoft Excel กันเป็นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้ Formula อย่างเช่น SUM หรือ VLOOKUP หรือการใช้แป้นพิมพ์ลัดอย่างเช่น Ctrl + S เป็นต้น แต่ยังมีอีกหลายคุณสมบัติของ Microsoft Excel ที่น่าจะทดลองใช้ เพื่อดึงประสิทธิภาพการทำงานของ Microsoft Excel ให้ออกมามากกว่าเดิม และต่อจากนี้เป็น 5 Formula ที่ซับซ้อนกว่าของเดิมๆ ที่เราใช้งานกัน แต่เราสามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น1. DSUM (เวลาอ่านชื่อจะเป็นการอ่านเป็น "THE SUM")SUM ใน Microsoft Excel เป็นสิ่งแรกๆ ที่เราต้องเรียนรู้ ต่อมาอาจจะได้รู้จักคำสั่ง IF ที่ซับซ้อนเพื่อทำการคำนวณแบบมีเงื่อนไข หลังจากนั้นอาจจะได้รู้จัก SUMIF และ SUMIFS เป็นลำดับถัดๆ ไป บางครั้งคำสั่งเหล่านี้ก็ถ้าเอามาใช้ร่วมกันก็อาจจะเราปวดหัวหรือเป็นโรคประสาทได้สิ่งที่ต้องการเรานั้นเราสามารถที่ใช้ SUMIF, SUMIFS และ IF ร่วมกันได้ แต่ว่าการเขียนสูตรอาจจะค่อนข้างยาว เราสามารถใช้ DSUM ได้ มาลองดูกันเลย ซึ่งในตอนนี้เรามีโจทย์ที่ต้องการคำนวณอยู่ 4 ข้อที่แตกต่างกัน วิธีการใช้ DSUMสำหรับ DSUM จะมีไวยากรณ์ดังนี้=DSUM(database,field,criteria)database: simply put the data range with headers inclusive. (ชุดข้อมูลที่เราต้องการใช้ในการคำนวณรวมส่วนของ Header ด้วย)field: in simple words the column we like to SUM. In our case it is revenue (ฟิลด์หรือชื่อคอลัมน์)criteria: range of cells where criteria is mentioned. (เงื่อนไขของข้อมูลที่ต้องการนำมาคำนวณ) DSUM ทำงานอย่างไรDSUM เป็นฟังก์ชันที่แตกต่างจากฟังก์ชันอื่นๆ เพราะฟังก์ชัน DSUM นั้นทำงานเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลหรือ Database ซึ่ง D = Database นั่นเองสำหรับแนวคิดเรื่องฐานข้อมูลนั้นไม่ได้เข้าใจยากอะไรมากมาย ไม่ได้เป็นภาษาต่างดาวซึ่งผู้ใช้อย่างเราๆ ก็พอจะเข้าใจได้นะ สำหรับศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลก็มีดังนี้1. สำหรับข้อมูลฐานข้อมูล เราใช้คำว่า data range หรือ table หรือใช้เพียงแค่ range ก็ได้2. ในฐานข้อมูลจะมีฟิลด์ (Field) ซึ่งใน Excel เราจะเรียกว่า Column3. ข้อมูลแต่ละบรรทัดในฐานข้อมูลจะเรียกว่า Records หรือใน Excel เราเรียก Rows มาทำความเข้าใจการทำงานของ DSUM ผ่านทางตัวอย่างกัน1. คำนวณ Revenue ที่ Department เป็น Eastใส่ชื่อ Field ที่ต้องการและเงื่อนไขเอาไว้ในแต่ละเซลล์ให้เรียบร้อยใส่คำว่า Department ไว้ที่เซลล์หนึ่ง (ในที่นี้ใส่ไว้ที่ C23)ใส่คำว่า '=East (ไว้ที่ C24) และอย่าลืมใส่เครื่องหมาย ' เอาไว้ด้วย ถ้าไม่ใส่จะมีปัญหากับเครื่องหมายเท่ากับนะครับและใส่สูตร =DSUM(A1:E20, "Revenue", C23:C24) โดย A1:E20 หมายถึงช่วงของข้อมูลที่ต้องการRevenue ในที่นี้คือจะรวมค่าผลลัพธ์ของ Field ที่ชื่อว่า Revenueและ C23:C24 คือเงื่อนไขที่ต้องการในการรวมผลลัพธ์ หลังจากนั้นจะได้ข้อมูลตามภาพด้านล่างเลยครับ2. คำนวณผลรวมของ Revenue ถ้ายอด Runs มากกว่า 35 และ Kms มากกว่า 100,000ตัวอย่างนี้จะมีการรวมค่าของ Revenue เพื่อหาผลลัพธ์โดยมีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไขด้วยกันได้แก่ Runs ต้องมีค่ามากกว่า 35 และ Kms มีค่ามากกว่า 100,000ใส่ชื่อ Field สำหรับเงื่อนไขที่ 1 คือ Runs ไว้ในช่อง C23ใส่เงื่อนไขสำหรับ Field Runs คือ >35 ไว้ในช่อง C24ใส่ชื่อ Field สำหรับเงื่อนไขที่ 2 คือ Kms ไว้ในช่อง C25ใส่เงื่อนไขสำหรับ Field Kms คือ >100000 ไว้ในช่อง C26ใส่สูตร =DSUM(A1:E20, "Revenue", C23:C26) ไว้ที่ช่องใดก็ได้ตามที่ต้องการโดย A1:E20 หมายถึงช่วงของข้อมูลที่ต้องการRevenue ในที่นี้คือจะรวมค่าผลลัพธ์ของ Field ที่ชื่อว่า Revenueและ C23:C26 คือเงื่อนไขที่ต้องการในการรวมผลลัพธ์ หลังจากนั้นจะได้ข้อมูลตามภาพด้านล่างเลยครับ3. คำนวณผลรวมของ Revenue ที่ Runs มากกว่า 10 แต่น้อยกว่า 50ตัวอย่างนี้จะมีการรวมค่าของ Revenue เพื่อหาผลลัพธ์โดยมีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไขด้วยกันได้แก่ Runs ต้องมีค่ามากกว่า 10 และ Runs มีค่าน้อยกว่า 50ใส่ชื่อ Field สำหรับเงื่อนไขที่ 1 คือ Runs ไว้ในช่อง C23ใส่เงื่อนไขสำหรับ Field Runs คือ >10 ไว้ในช่อง C24ใส่ชื่อ Field สำหรับเงื่อนไขที่ 2 คือ Runs ไว้ในช่อง C25ใส่เงื่อนไขสำหรับ Field Runs คือ <50 ไว้ในช่อง C26ใส่สูตร =DSUM(A1:E20, "Revenue", C23:C26) ไว้ที่ช่องใดก็ได้ตามที่ต้องการโดย A1:E20 หมายถึงช่วงของข้อมูลที่ต้องการRevenue ในที่นี้คือจะรวมค่าผลลัพธ์ของ Field ที่ชื่อว่า Revenueและ C23:C26 คือเงื่อนไขที่ต้องการในการรวมผลลัพธ์ หลังจากนั้นจะได้ข้อมูลตามภาพด้านล่างเลยครับ4. คำนวณผลรวมของ Revenue ที่ Department เป็น North และ Vehicle เป็น Bus และ Minibus ที่ Runs มากกว่า 10 และน้อยกว่า 50ตัวอย่างนี้จะแบ่งเงื่อนไขออกได้เป็น 4 เงื่อนไขด้วยกัน ได้แก่Department = North Vehicle = Bus หรือ MinibusRuns > 10Runs < 50ให้ลองใช้เงื่อนไขตามรูปภาพดูนะครับ และเวลาเขียนสูตร DSUM เวลาเลือกเงื่อนไขนั้นให้ระบายเลือกให้ครอบคลุมเงื่อนไขที่เราต้องการทั้งหมดด้วยนะ จากตัวอย่างน่าจะพอมองเห็นภาพและเข้าใจการใช้งานเบื้องต้นบ้างแล้ว นอกจากนี้การใช้เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้กับเงื่อนไขนั้นยังมีเครื่องหมายอื่นๆ อีกเช่น<> จะใช้แทนไม่เท่ากับ>= ใช้แทนมากกว่าหรือเท่ากับ (คือมากกว่าหรือเท่ากับเงื่อนไขก็ได้ เช่น >10 ก็จะเป็นตั้งแต่ 11 ขึ้นไป ส่วน >=10 คือตั้งแต่ 10 ขึ้นไป)<= ใช้แทนน้อยกว่าหรือเท่ากับและยังมีแบบอื่นๆ อีก ยังไงก็ลองศึกษาเพิ่มเติมกันดูนะครับ 😎 ภาพโดยนักเขียนหมีขั้วโลก ทอดกรอบ〔´(エ)`〕อัปเดตสาระดี ๆ มีประโยชน์แบบนี้อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !