กีฬามอเตอร์สปอร์ตในประเภทแข่งขันแรลลี่หรือแข่งทางลูกรัง รถที่ใช้จะแตกต่างจากรถที่แข่งทางเรียบอย่างสิ้นเชิงซึ่งรายการแข่งที่เป็นรายการใหญ่ก็คือ WRC (World Rally Championship) ก็น่าจะเป็นที่คุ้นชื่อกันดี รายการนี้จะมีรถแข่งหลากหลายยี่ห้อมาร่วมชิงชัยกันแต่เชื่อว่ารถที่คุ้นตามากที่สุดคงไม่พ้นรถจากแดนซามูไรอย่างเช่น Mitsubishi หรือ Subaru ครับสองแบรนด์จากญี่ปุ่นนี้ถือว่าสร้างชื่อมาจากการแข่งขันทางฝุ่นมายาวนานตั้งแต่ยุค 90 ด้วยประสิทธิภาพรถอันยอดเยี่ยมทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ในหลายสมัย รถยนต์รุ่นที่ขาซิ่งต้องรู้จักคือ Lancer Evolution กับ Impreza แท้จะเป็นรถเก่าแต่เรามักจะได้เห็นพวกมันโลดแล่นในการแข่งแบบ Street อยู่บ่อย ๆ จริงอยู่ที่รถญี่ปุ่นทั้งสองต่างมีชื่อเสียงแต่ทว่าในปัจจุบันเราไม่เห็นชื่อรถรุ่นนี้โผล่ในสนามทางฝุ่นอีกแล้วทำไมมันถึงเป็นเช่นนั้นมันเกิดอะไรขึ้นกับค่ายรถทั้งสอง ในขณะที่รายการ WRC ตั้งแต่ปี 2000 จนถึงปัจจุบันกลับมีแต่รถยุโรปเพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็น Citroen , Volkswagen , Renault , Skoda หรือรถอเมริกาอย่าง Ford ก็ลงแข่งขันด้วยเสียอย่างงั้น1. กฎที่เปลี่ยนไปที่มารูปภาพ: Aleksey จาก Pixabay สิ่งที่รถจากญี่ปุ่นแทบจะถูกกลืนหายไปจากวงการแรลลี่ปัจจุบันคงเป็นเพราะกฎกติกาใหม่ที่ถูกเขียนขึ้นในช่วงปลายปี 90 ถึงต้นปี 2000 ครับเพราะกฎใหม่ได้ถูกบัญญัติว่ารถที่ใช้แข่งจะต้องเป็นรถรุ่นที่วางจำหน่ายขายจริงเท่านั้น ในขณะที่กฎเก่าจะเป็นรูปแบบ Homologation คือรถที่ใช้แข่งจะต้องถูกผลิตเพื่อวางจำหน่ายจริงในปริมาณไม่ต่ำกว่า 2,500 คันและต้องใช้ Spec เดียวกันเมื่อมีการปรับเปลี่ยนกฎใหม่แบบนี้ก็หมายความว่าการจะนำรถลงแข่งขอแค่ใช้รุ่นรถที่มีขายและสามารถปรับแต่งอย่างไรก็ได้มากขึ้น นั่นก็เพราะไม่มีข้อจำกัดเรื่องที่ต้องผลิตรถ Spec เดียวกันวางขายอีกต่อไป ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของค่ายรถญี่ปุ่นทั้ง Mitsubishi กับ Subaru ก็ไม่ได้กำไรมากนักเพราะเป็นค่ายรถระดับกลาง การจะผลิตรถเพื่อลงแข่งขันอย่างเดียวดูจะไม่คุ้มค่าเท่าไหร่และทำให้ตัดสินใจไม่เข้าร่วมแข่งขัน2. รูปทรงของรถที่มารูปภาพ: Toby Parsons จาก Pixabayอีกปัจจัยที่รถญี่ปุ่นไม่ได้เฉิดฉายในทางฝุ่นอีกเลยก็เพราะว่าเทคโนโลยีการดีไซน์รถ Hatchback หรือรถ 3 , 5 ประตู มีบทบาทมากขึ้น ข้อดีของรถประเภทนี้คือฐานล้อสั้นทำให้การเข้าโค้งได้คล่องตัวกว่าลดอาการท้ายปัดทำให้นักขับควบคุมรถได้ง่ายกว่ารถญี่ปุ่นที่เข้าเกณฑ์การแข่งจะเป็นรถ Sedan 4 ประตูที่มีฐานล้อยาวกว่าทำให้คล่องตัวน้อยกว่ารถ Hatchback จะมีผลต่อการทำเวลามากขณะที่รถยนต์ฝั่งยุโรปจะมีรถประเภท Hatchback มากมายและมีวางจำหน่ายจริงตามกฎใหม่แถมสามารถปรับแต่งได้เต็มที่ ส่วนรถญี่ปุ่นกลับไม่มีรถแบบนั้นวางขายมันก็ทำให้บทบาทของรถญี่ปุ่นลดน้อยลงเพราะเสียเปรียบเรื่องโครงสร้างรถครับ3. สิ้นเปลืองงบประมาณที่มารูปภาพ: horjaraul จาก Pixabayจากหัวข้อแรกเนื่องจาก Mitsubishi และ Subaru ไม่ใช่ค่ายรถยักษ์ใหญ่อะไรการที่จะลงทุนทำรถเพื่อแข่งขันแรลลี่ดูจะไม่คุ้มค่านัก เนื่องจากงบประมาณการทำรถแข่งค่อนข้างสูง ลองนึกดูสิครับว่ารถแข่งแรลลี่ต้องใช้เครื่องยนต์กับช่วงล่างพิเศษขนาดไหนที่สามารถทนต่อการขับขี่อันทรหดได้เป็นระยะเวลานาน แน่นอนว่าอะไหล่ชิ้นส่วนจะต้องมีคุณภาพดีกว่าอะไหล่รถทั่วไปหลายเท่าเมื่อต้องลงงบมากขึ้นบวกกับสภาพทางการเงินของบริษัทขนาดกลางมันดูจะไม่สมส่วนเท่าไหร่ ทำให้ทั้งสองค่ายรถต้องตัดสินใจยกเลิกไม่ส่งรถเข้าแข่งแต่ขอทำตลาดกับรถยนต์ทั่วไปจะดีกว่า เห็นได้จาก Mitsubishi ที่ปิดไลน์การผลิตรถ Lancer Evolution ไปเมื่อประมาณปี 2015 ส่งผลให้เห็นว่าทางผู้ผลิตเลือกที่จะหันหลังให้กับวงการ WRC แล้วที่มารูปภาพ: Marc Pascual จาก Pixabayอีกทั้งถ้าหันกลับไปดูค่ายรถยุโรปอย่าง Citroen , Volkswagen หรือ Ford จากอเมริกาซึ่งเป็นแบรนด์รถใหญ่ที่มีเงินทุนมหาศาลกว่า ดังนั้นพวกเขาจึงมีทุนสำหรับผลิตรถส่งเข้าแข่งได้อย่างต่อเนื่อง จึงไม่แปลกที่แชมป์ WRC ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะเป็นรถจากค่ายยุโรปกับอเมริกาทั้งสิ้นด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้เลยเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้รถยนต์จากญี่ปุ่นต้องถอยหลังกลับไป อย่างไรก็ตามล่าสุดเมื่อไม่กี่ปี Toyota เป็นแบรนด์รถญี่ปุ่นเพียงหนึ่งเดียวที่ยังแข่งขันเพราะพวกเขามีรถที่เข้าหลักเกณฑ์เช่น Toyota Yaris แต่บทบาทก็ไม่ได้โดดเด่นมากเหมือนในยุค 90 เท่าไหร่ครับ นอกจากนี้ยังมี Hyundai จากเกาหลีใต้มาร่วมชิงชัยอีกจึงเป็นคู่แข่งที่เคี้ยวยากพอสมควรไม่ว่าอย่างไรรถแรลลี่จากญี่ปุ่นก็เคยได้สร้างตำนานสร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการแรลลี่อย่างมากกมายในอดีต แม้วันนี้พวกเขาจะถูกลดบทบาทลงไปมากแต่ชื่อของรถดัง ๆ อย่าง Mitsubishi Lancer Evolution กับ Subaru Impreza ยังติดอยู่ในใจขาซิ่งหลายคนไปอีกนานที่มารูปภาพปก: Aleksey จาก Pixabay