มีใครขอวีซ่าเชงเก้นแล้วยังไม่รู้ความหมายว่าบนหน้าวีซ่าบ้างไหมคะเชื่อว่าหลายๆ คนที่ขอวีซ่าเชงเก้นน่าจะรู้ความหมายบนหน้าวีซ่ากันแล้ว และยังมีอีกหลายคนที่เป็นมือใหม่พึ่งเริ่มหัดขอวีซ่า บางคนอาจจะยังไม่รู้ความหมายบนหน้าวีซ่าที่ตัวเองได้รับนั้นดูยังไง วันนี้เราเลยเอาเกล็ดความรู้ที่ไม่เล็กมาฝาก เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลอยู่เราขอยกตัวอย่างหน้าวีซ่าเยี่ยมเยียนจากประเทศเยอรมนีของเราเองนะคะ หน้าวีซ่านี้เราได้รับเมื่อปี 2023 ส่วนหน้าวีซ่าปี 2024 มีอัพเดทเพิ่มเติมจากเดิมคือ มี QR Code เพิ่มขึ้นมา ไม่ว่าหน้าวีซ่าจะเปลี่ยนแปลงยังไง แต่ความหมายบนหน้าวีซ่าก็ยังคงเหมือนเดิมวีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) เป็นวีซ่าที่อนุญาตให้เข้าประเทศในเขตเชงเก้น ซึ่งสามารถขอจากประเทศใดประเทศหนึ่งที่เราจะเดินทางเป็นหลักสามารถยื่นขอที่ประเทศนั้น แต่ถ้าในแพลนนั้นมีการเดินทางหลายประเทศต้องดูว่าประเทศใดที่เราอยู่มากที่สุดให้ขอจากประเทศที่อยู่นานที่สุด กรณีของเราจะใช้วีซ่าที่ยื่นจากประเทศเยอรมนีในการเดินทาง 3 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี (เข้าเยอรมนีนานสุด) ออสเตรีย และเช็ก ฯลฯ หากแพลนอยู่ประเทศนั้นๆ เป็นระยะเวลาเท่ากันก็ให้ยื่นขอวีซ่าจากประเทศที่เดินทางถึงประเทศแรกในเขตเชงเก้นประเทศที่อยู่ในเขตเชงเก้น มีทั้งหมด 27 ประเทศ ได้แก่ เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม, สเปน, ไอซ์แลนด์, อิตาลี, ออสเตรีย, กรีซ, แลตเวีย, ลิกเตนสไตน์, ลิธัวเนีย, ลักเซมเบอร์ก, มอลตา, นอร์เวย์, โปรตุเกส, โปแลนด์, ฝรั่งเศส, สวีเดน, เยอรมัน, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, ฟินแลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, เดนมาร์ก, เช็ก, ฮังการี เอสโตเนีย และโครเอเชีย (เข้าร่วมเมื่อปลายปี 2023) เป็นต้นนอกเหนือจากประเทศในกลุ่มเชงเก้นแล้ว ยังสามารถเข้าประเทศที่อยู่ในเขตบอลข่านได้โดยไม่ต้องขอวีซ่า สามารถเช็ครายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไขและประเทศที่อนุญาตให้เข้าได้ตามลิงค์ : http://www.seeyouagain-europe.com/view.aspx?id=1208Valid from : วันที่อนุญาตให้เริ่มเดินทางเข้าเขตเชงเก้น Until : วันสุดท้ายที่อนุญาตให้อยู่ในเขตเชงเก้นตัวอย่าง : บนหน้าวีซ่าที่เราได้รับ คือ 15.03.2023 - 30.04.2023 ** ปกติสถานฑูตจะให้เกินจากระยะเวลาที่กรอกในแบบฟอร์มขอวีซ่า เผื่อกรณีฉุกเฉินหรือมีเหตุทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงวันเดินทาง แต่ต้องไม่เกินระยะเวลาที่กำหนดบนหน้าวีซ่า **Duration of stay : จำนวนวันที่อนุญาตให้พำนักอยู่ในเขตเชงเก้นตัวอย่าง : บนหน้าวีซ่าที่เราได้รับ คือ 32 วัน ** สามารถเดินทางออกจากเขตเชงเก้นก่อน หรือจะอยู่จนครบจำนวนวันที่อนุญาตให้พำนักก็ได้ **Type of visa : ประเภทของวีซ่าตัวอย่าง : บนหน้าวีซ่าที่เราได้รับ คือ Type : C เป็นวีซ่าระยะสั้น เช่น ท่องเที่ยว / เยี่ยมเยียน ** สามารถพำนักอยู่ได้ไม่เกิน 90 วัน ภายในเวลา 180 วัน ส่วนเงื่อนไขการอนุญาตให้พำนักอยู่ในเขตเชงเก้นก็ต้องดูช่อง Duration of stay บนหน้าวีซ่าที่เราได้รับ **Number of Entries : จำนวนครั้งที่สามารถเดินทางเข้า - ออกเขตเชงเก้น 01 คือ 1 ครั้ง 02 คือ 2 ครั้ง Mult (Mutiple Entries) คือ เข้า - ออกได้หลายครั้ง ตัวอย่าง : บนหน้าวีซ่าที่เราได้รับ คือ Multiple ** หากได้รับวีซ่าแบบ Multiple แล้วมีเหตุจำเป็นหรืออยากเดินทางไปเที่ยวประเทศที่อยู่นอกเขตเชงเก้น หากจะเดินทางเข้าใหม่อีกรอบ ต้องดูช่อง Valid from... , Until... และ Duration of stay ประกอบ และทุกครั้งที่เดินทางเข้าเขตเชงเก้นต้องเอาจำนวนวันที่เราจะอยู่นั้นนับรวมกันเพื่อไม่ให้เกินจำนวนวันที่ Duration of stay กำหนด **มีหลายๆ คนสับสนระหว่างระยะเวลาที่สามารถเดินทางเข้า - ออก และจำนวนวันที่สามารถอยู่ในเขตเชงเก้นได้ บางคนเข้าใจว่าสามารถอยู่ในเขตเชงเก้นได้ตามวันที่ระบุบนหน้าวีซ่าโดยลืมคำนึงถึง Duration of stay หากใครที่ซื้อตั๋วเครื่องบินหลังจากได้รับวีซ่า ก่อนจองตั๋วก็อย่าลืมดูทั้ง 2 ช่องนี้ควบคู่กันไปเพื่อป้องกันการ Over stay เราเคยเดินทางร่วมกับคนที่จองตั๋วเครื่องบินเกินจำนวนวันที่อนุญาตให้พำนัก ตอนนั้นไฟล์ทเปลี่ยนเครื่องที่อินเดีย Immigration ของอินเดียไม่อนุญาตให้ขึ้นเครื่องหากไม่เลื่อนตั๋วเครื่องบินเข้าตามระยะเวลาที่สามารถอยู่ได้ และเคยได้ยินเกี่ยวกับคนที่เคยเดินทางเข้าประเทศในเขตเชงเก้นมาแชร์กรณีจองตั๋วเกินวันที่อนุญาตให้พำนัก เมื่อเดินทางถึง Immigration ทางเจ้าหน้าที่ปฏิเสธการเข้าประเทศหากไม่เปลี่ยนตั๋วเดินทาง เสียเวลาอยู่นานสุดท้ายก็ต้องเลื่อนตั๋วเข้าเจ้าหน้าที่ถึงให้ผ่านเข้าประเทศได้เพราะฉะนั้นเมื่อได้รับวีซ่าแล้ว เพื่อประโยชน์และการปฏิบัติตามกฎของวีซ่าให้ถูกต้อง เราจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าวีซ่าก่อนเดินทาง ส่วนใครที่อยากนับจำนวนวันชัวร์ๆ สามารถเข้าไปคำนวณวันได้ตามลิงค์ : https://www.visa-calculator.com เราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับความหมายหน้าวีซ่าเชงเก้นนะคะ และขอขอบคุณข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากเว็บไซต์ต่างๆ ที่เรานำลิงค์มาแปะในบทความนี้นะคะหากเนื้อหาในบทความส่วนตรงไหนอ่านแล้วไม่เข้าใจ หรือมีจุดไหนที่ให้ข้อมูลผิดพลาด เราก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ^v^ #วีซ่าเยอรมนี #วีซ่าเยี่ยมเยียนเยอรมนี #ความหมายหน้าวีซ่าเชงเก้น #Schengenvisa #ความรู้เกี่ยวกับหน้าวีซ่า #หน้าวีซ่าเชงเก้น เครดิตภาพหน้าปกและรูปภาพทั้งหมด : รีวิวอีหยั๋งดีกราฟฟิกภาพ : Canvaเรียบเรียงบทความ : รีวิวอีหยั๋งดี อยากไปเที่ยวไหนหรือเปล่า? หาข้อมูลที่เที่ยวสุดปังได้ที่ App TrueID โหลดเลย ฟรี !