📖มนุษย์อารมณ์ (The Emotional Man)📖🖋ผู้เขียน: ณัฐวุฒิ เผ่าทวี🖋📚สำนักพิมพ์: SALMON.📚ภาพถ่ายโดย "ตะวันซันชายน์" (เจ้าของบทความ) คุณว่าคุณเป็นมนุษย์ที่ใช้เหตุผลหรือใช้อารมณ์ในการตัดสินใจมากกว่ากัน? ระหว่าง "เหตุผล" กับ "อารมณ์" สิ่งไหนที่มีอิทธิพลต่อคุณเป็นสิ่งแรก? อีกคำถามนึง ที่คุณอ่านมาถึงตรงนี้ เลือกที่จะอ่านบทความนี้ คุณมีเหตุผลอะไรอยู่เบื้องหลัง? คุณสงสัยไหมว่าทำไมตัวเองถึงเลือกจะอ่านบทความนี้ หากคุณยังไม่แน่ใจในคำตอบ หากคุณรู้สึก "เอ๊ะ อิหยังวะ มันยังไงกันแน่ฮึ!" เราจะพาคุณมาค้นหาคำตอบเบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ในเชิงเศรษฐศาสตร์และจิตวิทยา และทำความรู้จักกับเจ้าอารมณ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรม การใช้ชีวิต การตัดสินใจ และความสุขของเราในอนาคต ผ่านความเรียงที่นำการทดลองและงานวิจัยของนักเศรษฐศาสตร์และนักจิตวิทยามาไขข้อสงสัย พร้อมยกตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจนโดย "ณัฐวุฒิ เผ่าทวี" ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์และนักเศรษฐศาสตร์ความสุข เจ้าของผลงาน "The Happiness Manual พฤติกรรมความสุข" และ "A Guide to Behaving Better ทุกพฤติกรรมมีความเสี่ยง โปรดอย่าลำเอียงก่อนตัดสินใจ"ภาพถ่ายโดย "ตะวันซันชายน์" (เจ้าของบทความ) ในหนังสือเล่มนี้จะแบ่งเป็นหัวข้อ มีทั้งหมด 8 หัวข้อ ได้แก่ ภาพจาก https://pixabay.com/photos/justice-statue-lady-justice-2060093/ 1.ความยุติธรรม (Fairness) โดยยกตัวอย่างเกมการแบ่งเงินที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกเกมลักษณะนี้ว่า "ultimatum game" ที่จะทำให้เราได้คำตอบของคำถามที่ว่า "ปัจจัยอะไรที่เป็นตัวกำหนดความแฟร์และความไม่แฟร์ของสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต"ภาพจาก https://pixabay.com/illustrations/road-sign-attention-note-scam-464653/2.พฤติกรรมการโกง (Cheating) ที่ใช้การทดลองทางจิตวิทยาซึ่งนำมาถึงปรากฎการณ์ "สองคนในสมองเดียว (Multiple selves)" คือการที่เรามีสองคนที่คิดและมีความต้องการต่างกันอาศัยอยู่ในสมอง คนแรกนั้นเป็นคนที่มีศีลธรรม มองว่าตัวเองเป็นคนดี และไม่อยากให้คนอื่นมองว่าเราเป็นคนไม่ดี ส่วนคนที่สองเป็นคนเห็นแก่ตัว มองผลประโยชน์ตัวเองเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงเหตุผลด้านศีลธรรมhttps://pixabay.com/illustrations/insecurity-judgment-relationship-1767736/3.การตัดสินความผิดชอบชั่วดีของคนอื่น (Moral judgment) โดยใช้การทดลองทางจิตวิทยาที่จะทำให้เราได้คำตอบที่ว่า การตัดสินความผิดชอบชั่วดีของคนอื่นนั้น คนเรามักใช้เหตุผลก่อนอารมณ์หรือใช้อารมณ์ก่อนหาเหตุผลมารองรับกันแน่ภาพจาก https://pixabay.com/photos/board-school-self-confidence-2433993/4.ความสามารถในการควบคุมตัวเอง (Self-control) นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าเหตุผลที่คนเราใช้ในการตัดสินใจว่าจะแต่งงานหรือไม่นั้น เป็นเหตุผลเดียวกับการที่สองประเทศยอมตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน นั่นก็คือเหตุผล "ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)"ภาพจาก https://pixabay.com/illustrations/comic-cry-tears-rose-excuse-me-477451/5.ความเสียใจและความเสียดาย (Regret) ในหัวข้อนี้จะพาเราไปค้นหาคำตอบระหว่าง "เสียใจที่ได้ทำลงไป" กับ "เสียดายที่ยังไม่ได้ทำ" สิ่งไหนทำให้คนเราเจ็บปวดมากกว่ากัน โดยใช้ผลวิจัยจากนางพยาบาลที่ไปสัมภาษณ์คนชราหรือคนป่วยใกล้ตายภาพจาก https://pixabay.com/vectors/emoticons-smilies-set-smiley-blue-150528/6.อารมณ์ที่หลากหลายและพฤติกรรมที่ตามมา ในหัวข้อนี้จะพาเราไปทำความรู้จักเจ้าอารมณ์พื้นฐานที่ติดตัวมนุษย์ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ ได้แก่ อารมณ์เศร้า (sadness) ความรู้สึกขยะแขยง (disgust) อารมณ์โกรธ (anger) อารมณ์ดีมีความสุข (happiness) อารมณ์เบื่อ (boredom) และความเครียด (stressfulness) ภาพจาก https://pixabay.com/photos/bipolarity-women-feelings-emotions-2207325/7.มนุษย์อารมณ์ในสังคมที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ในหัวข้อนี้จะเป็นการออกแบบสังคมเพื่อรองรับสังคมที่เต็มไปด้วยมนุษย์อารมณ์ที่หลายคนมีปัญหาเรื่องการควบคุมตัวเอง (self-control problem)ภาพถ่ายโดย "ตะวันซันชายน์" (เจ้าของบทความ)8.ช่องว่างระหว่างใจเราในวันนี้และใจเราในวันข้างหน้า ศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเรียกว่า "Empathy gap" มันเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า "วันนั้นคุณพูดว่าจะทำ แล้วทำไมวันนี้ถึงไม่ทำตามที่พูด ห๊ะ!" หรือ "เห้ย กินเบียร์แค่ขวดเดียว ไม่เมาร๊อกกก" แต่สุดท้ายเมาเหมือนแมว (🐱นุด! เมาเหมือนหมา แมวไม่เกี่ยวสิ) อะไรที่ทำให้คนเราพูดอย่างหนึ่ง แต่กลับทำอีกอย่างหนึ่ง อะไรที่ทำให้คนเรากลับคำพูดหรือกลืนน้ำลายตัวเอง ไปตามหาคำตอบและเพิ่มความรอบรู้ได้ในหนังสือเรื่อง "มนุษย์อารมณ์ (The Emotional Man)" เล่มนี้#ตะวันซันชายน์อ่าน