ยากรักษาโรคเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่เป็นปัจจัยความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ซึ่งไม่ว่ายุคสมัยไหนก็ยังต้องมีอยู่เสมอ แต่ในสมัยโบราณยังไม่มียาที่เป็นแผนปัจจุบัน หากมีอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ ก็จะใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น โดยคนโบราณนั้นก็ได้ศึกษาค้นคว้าพืชสมุนไพรต่าง ๆ ต่าง จนเกิดเป็นตำรายาสมุนไพร อันทรงคุณค่าทางด้านภูมิปัญญาที่สามารถนำพืชสมุนไพรต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในยุคปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับพืชสมุนไพรอยู่ในกลุ่มแคบ ๆ เท่านั้น ทำให้คนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรน้อยมาก และรู้จักพืชสมุนไพรเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นผู้เขียนตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่า หากไม่ช่วยกันแนะนำหรือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรให้คนทั่วไปรู้จักมากขึ้น ก็อาจเป็นเหตุให้พืชสมุนไพรไม่ได้รับการอนุรักษ์สืบสานไปสู่คนรุ่นต่อ ๆ ไป ผู้เขียนจึงมีความตั้งในนำข้อมูลลักษณะและสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด มาเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้พืชสมุนไพรเหล่านี้กลับมาเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลของพืชสมุนไพรหนึ่งชนิด มาบอกเล่าถึงสรรพคุณที่น่าสนใจ สมุนไพรชนิดนี้มีชื่อว่า “กรวยป่า” หลายคนอาจไม่รู้จักหรือได้ยินชื่อมาก่อน ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกันในบทความนี้ภาพถ่ายโดยผู้เขียนลักษณะของ “กรวยป่า” เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางชนิดไม่ผลัดใบ ลำต้นกลมตรงมีสีเขียวอมสีน้ำตาล ผิวของเปลือกลำต้นเรียบ แต่หากส่วนของลำต้นที่แก่เปลือกจะหนาและแตกเป็นร่อง ไม่มีกิ่งแตกสาขาออกมา จะมีแค่เพียงก้านเล็ก ๆ ของใบเท่านั้น ลักษณะของใบมีรูปรางรียาว ปลายไปโค้งมน ส่วนโคนใบมนเข้าหากัน ขอบใบรั้งสองข้างเรียบขนานกัน ผิวใบมันวาวทั้งใบและหลังใบ ดอกมีสีเขียวอมน้ำตาลลักษณะดอกจะเป็นตุ่มออกกระจุกรวมกันเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นทรงกลมเม็ดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อสุกจะมีสีแดง ผลเปลือกหนาผิวเรียวเกลี้ยงสรรพคุณของ “กรวยป่า” เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงโลหิต แก้ไข แก้ร้อนใน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน บำบัดอาการเจ็บคอภาพถ่ายโดยผู้เขียนปกติแล้วมักจะพบ “กรวยป่า” ขึ้นอยู่ตามป่าดิบชื่นหรือตามริมน้ำ เมื่อสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กนั้นมักจะเห็น “กรวยป่า” ขึ้นอยู่ตามริมชายคลองท้ายสวน จึงทำให้ทราบว่าต้นไม้ชนิดนี้เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณหลายอย่าง ๆ ครั้งหนึ่งพ่อของผู้เขียนมีอาการเจ็บคอและไอติดต่อกันหลายวัน ปู่จึงนำเปลือกของลำต้นที่ยังไม่แก่จะมียางอยู่ มาต้มประมาณ 40 นาทีพร้อมใส่เกลือลงไปพอประมาณจนมีรสเค็ม จากนั้นนำมาให้พ่อใช้อมกลั้วปากประมาณหนึ่งนาทีแล้วบ้วนทิ้ง ให้ทำอยู่อย่างนี้วันละ 3 ครั้ง โดยครั้งหนึ่งห่างกัน 3-4 ชั่วโมง ประมาณ 3 วันก็หายเป็นปกติ นอกจากนี้ผู้เขียนเคยมีอาการผื่นคันตามตัวปู่ก็จะใช้ใบสดของ “กรวยป่า” ตำผสมกับเหล้าขาวแล้วนำมาทาตามบริเวณที่มีผื่นคัน ภายในเวลาไม่กี่นาทีก็หายจากอาการคันที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงสรรพคุณบางส่วนที่ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์มา ซึ่งนอกจากนี้ “กรวยป่า” ยังมีสรรพคุณสามารถรักษาอาการต่าง ๆ ได้อีกหลายชนิด และยังสามารถนำไปเข้าเครื่องยาผสมกับสมุนไพรอื่นรักษาโรคได้อีกหลายอาการ ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้ทุกท่านรู้จักพืชสมุนไพรมากขึ้น และให้ความสำคัญกับพืชสมุนไพรเหล่านี้ เพื่อช่วยกันอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบต่อไปภาพถ่ายโดยผู้เขียน