รีเซต

นักดับเพลิงญี่ปุ่นงานเข้า ถูกลงโทษ-ตัดเงิน หลังทำผิดกฎ แอบสตรีมเกมจนมีรายได้

นักดับเพลิงญี่ปุ่นงานเข้า ถูกลงโทษ-ตัดเงิน หลังทำผิดกฎ แอบสตรีมเกมจนมีรายได้
ข่าวสด
16 มกราคม 2565 ( 16:45 )
167
นักดับเพลิงญี่ปุ่นงานเข้า ถูกลงโทษ-ตัดเงิน หลังทำผิดกฎ แอบสตรีมเกมจนมีรายได้

ในปัจจุบันการการหารายได้เสริมจากเป็น สตรีมเมอร์ หรือ เกมเมอร์ บนช่องทางต่าง ๆ นั้นเป็นอะไรที่ถือว่าปกติ เพราะนอกจากเราจะได้ทำในสิ่งที่เราชอบแล้วสนใจแล้วนั้นเรายังสามารถหารายได้จากงานเหล่านั้นได้ด้วย

 

ทว่าแต่ในบางอาชีพนั้น การทำอาชีพเสริมนั้นกลับเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมและผิดกฎ เหมือนเรื่องราวของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงรายหนึ่ง ในประเทศญี่ปุ่น ที่ทำอาชีพเสริมเป็นสตรีมเมอร์ จนทำให้เขาต้องออกมาก้มหัวขอโทษประชาชน ทั้งยังโดนหักเงินเดือนจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นด้วย

 

สำนักข่าว Mainich และ AFP รายงานว่านักผจญเพลิงวัย 33 ปี จากจังหวัดวากายามะรายนี้นั้นมีคลิปวิดิโอบนช่องตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 – ตุลาคม 2564 ถึง 314 คลิป มียอดวิวรวม 2,270,000 ครั้ง ซึ่งรวมๆ แล้วสามารถทำรายได้ให้เขาสูงถึง 1,000,000 เยน หรือคิดเป็นเงินไทยก็ราวๆ 300,000 บาท และมีผู้ติดตามราว 15,000 คน

 

โดยส่วนใหญ่เขาจะเน้นเล่นเกมแนวกลยุทธ์ออนไลน์ แต่เขาไม่ได้เปิดเผยหน้าตาบนช่องของเขาแต่อย่างใด ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้เริ่มการสืบสวนดังกล่าวหลังจากที่ได้ทราบข้อมูลจากบุคคลนิรนามว่า “อาจมีนักผจญเพลิงที่รับงานเสริมเป็นยูทูบเบอร์” ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็พยายามพิสูจน์ตัวบุคคลด้วยการฟังเสียงของยูทูบเบอร์รายนี้ไปทีละคลิป

 

 

ก่อนที่เจ้าตัวก็ให้การรับสารภาพ เมื่อถูกตั้งคำถามถึงการกระทำที่เกิดขึ้น ซึ่งบทลงโทษที่เขาได้รับก็คือการหักเงินเดือนมกราคมออกไป 10% โทษฐานละเมิดกฎหมายราชการท้องถิ่น ซึ่งห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รัฐมีงานเสริม โดยนักผจญเพลิงรายนี้ได้ระบุว่า “การตัดสินของผมว่าอะไรคืองานที่ 2 นั้นไร้เดียงสาเกินไป”

 

ทั้งนี้ผู้แทนจากสำนักดับเพลิงวากายามะยังได้แถลงขอโทษและโค้งคำนับอย่างเป็นทางการต่อหน้าสื่อ “เราไม่ได้คิดว่ามันเป็นสิ่งเลวร้ายที่เขาเป็นยูทูบเบอร์ แต่การที่เขาได้กำไรจากโฆษณาที่ทำให้เป็นเรื่องไม่เหมาะสม และยังเป็นการทรยศต่อความเชื่อมั่นของชาววากายามะด้วย” ฮิเดทากะ อะมาโนะ เจ้าหน้าที่ของเมืองระบุ

 

 

อย่างไรก็ตามกฎดังกล่าวนั้นถูกบังคับใช้กับข้าราชการทุกคนในญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลบางประการ ไม่ว่าจะเป็น การป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน และทำให้มั่นใจว่าข้าราชการรายนั้นจะจดจ่ออยู่กับหน้าที่ของตนเอง แต่ก็ชาวเน็ตบางส่วนออกมาเคลื่อนไหวกับกรณีของนักดับเพลิงรายนี้ ว่าเขาได้รับรายได้จากงานอดิเรกเท่านั้น ทั้งยังไม่น่าส่งผลกระทบใด ๆ กับอาชีพหลักที่เขาทำอยู่ด้วย

 

ที่มา : kotaku / mainichi / japantoday

ข่าวที่เกี่ยวข้อง