แนวข้อสอบ พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 จำนวน 50 ข้อพร้อมเฉลยบทนำ แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534” เพื่อให้ผู้ที่สนใจสอบราชการ อ่านเป็นแนวทางในการสอบและได้ทดสอบก่อนสอบจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้แนวทางที่เหมาะสมและครบถ้วนทั้งนี้เนื้อหาในข้อสอบนี้มีการอธิบายเพิ่มเติมแต่ละคำตอบ และผู้เขียนได้รวบรวมสาระสำคัญของ และความยากของ“พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534” ไว้ในนี้แล้ว1.พระราชบัญญัตินี้ให้ไว้ เมื่อใดก.วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2534ข.วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2534ค.วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2534ง.วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2534ตอบ ก.2.พระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของใครก.วุฒิสภาข.รัฐสภาค.สภานิติบัญญัติ แห่งชาติง.สภานิติบัญญัติตอบ ค.3.พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่เมื่อใดก.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหกสิบวันข.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปค.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาหนึ่งร้อยยี่สิบวันง.วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาสามสิบวันตอบ ข.4.การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ใดก.ประโยชน์สุขของราชการข.ประโยชน์สุขของประชาชนค.ประโยชน์สุขของข้าราชการง.ประโยชน์สุขของรัฐตอบ ข.5.การจัดสรรงบประมาณ และการบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งหรือปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึง หลักการใดก.การเกิด ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐข.ความมีประสิทธิภาพค.ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐง. ถูกทุกข้อตอบ ง.6.ในการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ คำนึงถึงตามข้อใดก.ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานข.การมีส่วนร่วมของประชาชนค.การติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานง. ถูกทุกข้อตอบ ง.7.ข้อใดเป็นการ “จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน” ตามพระราชบัญญัตินี้ก.ระเบียบบริหารราชการส่วนกลางข.ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคค.ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 4 ให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้(1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง(2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค(3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น8.ให้ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ก.รัฐมนตรีข.คณะรัฐมนตรีค.นายกรัฐมนตรีง.ปลัดลัดกระทรวงการคลังตอบ ค.9.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง”ก.สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง กรม ทบวงข.กระทรวง ทบวง กรม สำนักนายกรัฐมนตรี ค.สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรมง. สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรมตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 7 ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้(1) สำนักนายกรัฐมนตรี(2) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง(3) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง(4) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง10. จากข้อ 9 ส่วนราชการ ตามมาตรา 7 มีฐานเป็นอะไรก.เป็นส่วนราชการข.เป็นนิติบุคคลค.เป็นรัฐบาลง. เป็นกระทรวงตอบ ข.11.การยุบส่วนราชการ ตามมาตรา ๗ (ข้อ 9) ให้ตรงตามข้อใดก.เป็นวุฒิสภาข.เป็นสภานิติบัญญัติ แห่งชาติค.เป็นพระราชกฤษฎีกาง.เป็นสำนักงานกระทรวงการคลังตอบ ค.12.การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย จากข้อความขั้นต้นให้ใครเป็นผู้ออกกฎกระทรวงส่วนราชการก. นายกรัฐมนตรีข.รัฐมนตรีค.สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีง.คณะรัฐมนตรีตอบ ข.13.ใครเป็นผู้นำเสนอ ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและในการกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการก.สำนักงานงบประมาณข.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนค.สำนักงานคณะกรมการราชการพลเรือนง.ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ข.ตอบ ง.14.การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นไป ตามกฎหมายใดก.กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันข.กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยของราชการค.กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้นง.กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยตอบ ค.15.ให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นไปตามข้อใดก.ทบวงข.กระทรวงค.สำนักรัฐมนตรีง.กรมตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 9 การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีบรรดาที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นกรมสำนักนายกรัฐมนตรีอาจจัดให้มีส่วนราชการเป็นการภายในขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่จัดทำ นโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบายและแผนการปฏิบัติราชการตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรี กำหนดหรืออนุมัติ เพื่อการนี้นายกรัฐมนตรีจะสั่งให้กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมใน สำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำก็ได้17.สำนักนายกรัฐมนตรีมีใครเป็นผู้บังคับบัญชาก.นายกรัฐมนตรีข.รัฐมนตรีค.คณะรัฐมนตรีง.ข้าราชการพลเรือนตอบ ก.18.นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใดก.กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินข.มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลาย กระทรวงหรือทบวงค.บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรมง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้(1) กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงานเกี่ยวกับการ ปฏิบัติราชการ ในกรณีจำเป็นจะยับยั้งการปฏิบัติราชการใด ๆ ที่ขัดต่อนโยบายหรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้และมี อำนาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการ ส่วนท้องถิ่น(2) มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลาย กระทรวงหรือทบวง(3) บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นกรม(4) สั่งให้ข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งมาปฏิบัติราชการสำนักนายกรัฐมนตรี โดยจะให้ ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิมหรือไม่ก็ได้ ในกรณีที่ให้ขาดจากอัตราเงินเดือนทางสังกัดเดิม ให้ได้รับ เงินเดือนในสำนักนายกรัฐมนตรีในระดับ และขั้นที่ไม่สูงกว่าเดิม(5) แต่งตั้งข้าราชการซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมหนึ่งไปดำรงตำแหน่งของอีกกระทรวง ทบวง กรม หนึ่ง โดยให้ได้รับเงินเดือนจากกระทรวง ทบวง กรมเดิม ในกรณีเช่นว่านี้ให้ข้าราชการซึ่งได้รับแต่งตั้งมีฐานะ เสมือนเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งตนมาดำรงตำแหน่งนั้นทุกประการ แต่ถ้าเป็นการแต่งตั้ง ข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีหรือเทียบเท่าขึ้นไปต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(6) แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็น คณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ และกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนให้แก่ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้ง(7) แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี(8) วางระเบียบปฏิบัติราชการ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น(9) ดำเนินการอื่น ๆ ในการปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบตาม (8)19.ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีก.รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรีข.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีรองจากนายกรัฐมนตรีค.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 16 สำนักนายกรัฐมนตรี นอกจากมีนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ดังนี้(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติ ราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการใน สำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามนโยบายที่นายกรัฐมนตรีกำหนดรวมทั้งกำกับ เร่งรัด ติดตามและประเมินผลการ ปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีรองจากนายกรัฐมนตรี รอง นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี (3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติ ราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี20.ข้อใดเรียงลำดับ การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ได้ถูกต้องก.สำนักงานรัฐมนตรี ส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงข.สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานรัฐมนตรี กรมค.สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรมง.สำนักงานปลัดกระทรวง กรม สำนักงานรัฐมนตรี ตอบ ค.21.สำนักงานปลัดกระทรวงมีฐานะเป็นอะไรก. กรมข.ทบวงค.กระทรวงง.นิติบุคคลตอบ ก.22.การจัดระเบียบราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามกฎหมายใดก.กฎหมายว่าด้วยกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการข.กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ส่วนการค.กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยของราชการง.กฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการตอบ ข.26.กรมหนึ่งมีใครเป็นผู้บังคับบัญชาก.หัวหน้าส่วนราชการกรมข.ข้าราชการกรมและมีฐานะเทียบเท่ากองค.อธิบดีง.ถูกทุกข้อตอบ ค.27.การมอบอำนาจให้ทำตามข้อใดก.การสั่งการด้วยวาจาข.ทำเป็นหนังสือค.การขออนุมัติง.การขออนุญาตตอบ ข.28.ให้รายได้ของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษเป็นรายได้ที่ไม่ต้องนำส่งคลังตามกฎหมายใดก.กฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังข.กฎหมายว่าด้วยวิธีการ เงินคงคลังค.กฎหมายว่าด้วยวิธีการ เงินการคลังง.กฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณตอบ ก.29.ให้ผู้รักษาราชการแทนตามความในพระราชบัญญัตินี้มีอำนาจหน้าที่ตามข้อใดก.เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตน แทนข.เช่นเดียวกับตนค.มอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้แทนง.รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนด้วยตอบ ง.30.ความในหมวดนี้ (การรักษาราชการแทน) มิให้ใช้บังคับแก่ราชการในกระทรวงที่เกี่ยวกับใครก.หมอข.ทหารค.ตำรวจง.ครูตอบ ข.31. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “หัวหน้าคณะผู้แทน”ก.บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจำการใน ต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูตข.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนค.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูตง. หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า รัฐบาล คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรมตอบ ค.32. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “คณะผู้แทน”ก.บรรดาข้าราชการฝ่ายพลเรือน หรือข้าราชการฝ่ายทหารประจำการใน ต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสถานเอกอัครราชทูตข.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนหัวหน้าคณะผู้แทนค.ข้าราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้าคณะผู้แทนตามระเบียบพิธีการทูตง. หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้า รัฐบาล คณะรัฐมนตรีกระทรวง ทบวง กรมตอบ ก.33.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “อำนาจและหน้าที่ ของหัวหน้าคณะผู้แทน”ก.บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการข.บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่ค.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาลง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 50/439 หัวหน้าคณะผู้แทนมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้(1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ(2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล(3) บังคับบัญชาบุคคลในคณะผู้แทนและข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่มิใช่บุคคลในคณะผู้แทนซึ่งประจำอยู่ ในประเทศที่ตนมีอำนาจหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของ กระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล(4) รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติราชการของบุคคลตาม (3) เพื่อ ประกอบการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการต้นสังกัดเกี่ยวกับการแต่งตั้งและการเลื่อนขั้นเงินเดือน34.การรวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นอะไรก.เป็นนิติบุคคลข.เป็นส่วนราชการค.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นง.เป็นสถานที่ราชการตอบ ก.35.การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นไปตามข้อใดก.ตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัดข.พระราชบัญญัติค.ตามคำสั่งนายอำเภอง.ถูกทุกข้อตอบ ข.36.จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายใดก.กฎหมายว่าด้วยวิธีการกระทรวงการคลังข.กฎหมายว่าด้วยวิธีการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดค.กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณง.กฎหมายว่าด้วยจังหวัดตอบ ค.37. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจภายในเขตจังหวัดก.นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ข.ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็น ธรรมในสังคมค.จัดให้มีการบริการภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็วและมีคุณภาพง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 52/143 ให้จังหวัดมีอำนาจภายในเขตจังหวัด ดังต่อไปนี้(1) นำภารกิจของรัฐและนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์(2) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและเป็น ธรรมในสังคม(3) จัดให้มีการคุ้มครอง ป้องกัน ส่งเสริม และช่วยเหลือประชาชนและชุมชนที่ด้อยโอกาส เพื่อให้ได้รับ ความเป็นธรรมทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง(4) จัดให้มีการบริการภาครัฐเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสมอหน้า รวดเร็วและมีคุณภาพ(5) จัดให้มีการส่งเสริม อุดหนุน และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้สามารถดำเนินการ ตามอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้มีขีดความสามารถพร้อมที่จะดำเนินการตามภารกิจ ที่ได้รับการถ่ายโอนจากกระทรวง ทบวง กรม(6) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นของรัฐมอบหมาย หรือที่มีกฎหมายกำหนด38.ใครเป็นประธานคณะกรมการจังหวัดก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.ปลัดจังหวัดค.หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงง.อัยการจังหวัดตอบ ก.39.ในการปฏิบัติหน้าที่ประจำจังหวัดเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะแต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการ ประจำจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคกี่คนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะก.หนึ่งคนข.สองคนค.สามคนง.สี่คนตอบ ก.40.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือ ร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการที่มีสถานที่ตั้งให้ทำการอยู่ในจังหวัดไม่ว่าจะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคหรือ ราชการบริหารส่วนกลางและผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในจังหวัด รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคม และผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ข้อความขั้นต้นเป็นการปรึกษาหารืออะไรก.จัดทำแผนพัฒนาจังหวัดข.การพัฒนาจังหวัดค.การพัฒนาประชากรในจังหวัดง.ถูกทุกข้อตอบ ก.41.ในจังหวัดใครเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจาก นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และ ประชาชนก.ผู้ว่าราชการจังหวัดข.ปลัดจังหวัดค.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดง.นายอำเภอตอบ ก.42.ใครทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมี อำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้นก.ปลัดจังหวัดข.รองผู้ว่าราชการจังหวัดค.นายอำเภอง.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ก.43.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดก.บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัดข.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาลค.กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายง.ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 57 ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้(1) บริหารราชการตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และตามแผนพัฒนาจังหวัด(2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล(3) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี(4) กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือ ยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรมมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่ เกี่ยวข้อง(5) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและ หัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนาจังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ(6) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือเสนอขอจัดตั้งงบประมาณต่อสำนักงบประมาณ ตามมาตรา 52 วรรคสาม และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ(7) กำกับดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมาย(8) กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด องค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ(9) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัดตามกฎหมาย และตามที่ ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย44.ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอก.ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วมข.ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วมค.บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวงในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับง.ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตอบ ค.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 52 ให้อำเภอมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตอำเภอ ดังต่อไปนี้(1) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม(2) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม(3) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตาม มาตรา 61/2 และมาตรา 61/345.นายอำเภอสังกัดกระทรวงใดก.กระทรวงมหาดไทยข.กระทรวงการคลังค.กระทรวงกลาโหมง.กระทรวงปกครองส่วนท้องถิ่นตอบ ก.46.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอก.บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการข.บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาลค.ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมายง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 65 นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้ (1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่า การปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดยเฉพาะ ให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไป ตามกฎหมายนั้นด้วย (2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล (3) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่ง คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี(4) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย47.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการ “การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น”ก.องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล เทศบาลข.องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ค. เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. สุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดตอบ ข.48.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ใครเป็นประธานก.รองนายกรัฐมนตรีข.นายกรัฐมนตรีค.คณะรัฐมนตรีง.ถูกทั้งข้อ ก. และข้อ ข.ตอบ ง.49.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามของ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิก.ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองข.ไม่เป็นบุคคลล้มละลายค.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกง.อายุไม่เกิน สิบแปดปีบริบูรณ์ตอบ ง.50.ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ “ อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร. “ก.เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่าง อื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากรข.รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดค.เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ง. ถูกทุกข้อตอบ ง.อธิบายเพิ่มเติม มาตรา 66 ก.พ.ร. มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้(1) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่าง อื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทน และวิธีปฏิบัติราชการอื่น ให้เป็นไปตามมาตรา 3/1 โดยจะเสนอแนะให้มีการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการก็ได้ (2) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่ หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ(3) รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน มาตรา 3/1(4) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง การรวม การโอน การยุบ เลิก การกำหนดชื่อ การเปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการภายในของส่วนราชการที่ เป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการอื่น(5) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฎีกา และกฎที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้(6) ดำเนินการให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชน ทั่วไป รวมตลอดทั้งการฝึกอบรม 63(7) ติดตาม ประเมินผล และแนะนำเพื่อให้มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ และรายงานต่อ คณะรัฐมนตรีพร้อมทั้งข้อเสนอแนะ(8) ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายว่าด้วยการ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติ ในกรณีที่เป็นปัญหา มติของคณะกรรมการ ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย(9) เรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณา(10) จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา(11) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่ มอบหมาย และจะกำหนดอัตราเบี้ยประชุมหรือค่าตอบแทนอื่นด้วยก็ได้ (12) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย บทสรุป แนวข้อสอบ “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534” ทางผู้เขียนได้เน้นสาระสำคัญของเนื้อหาและความยาก ที่เคยออกสอบบ่อย “พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ” เช่น ความหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง การจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหรือทบวง การจัดระเบียบราชการในทบวงซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง การจัดระเบียบราชการในกรม การปฏิบัติราชการแทน การรักษาราชการแทน การบริหารราชการในต่างประเทศ การจัดระเบียบบริหารส่วนภูมิภาค อำนาจหน้าที่ของอำเภอ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ได้ลงไว้ในแนวข้อสอบนี้ไว้ หวังว่าผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจมีแรงบันดาลใจจากแนวข้อสอบให้ จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง โดย ปลาทูอำนาจหน้าที่ของ นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล โดย ปลาทูอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ร. โดย ปลาทูอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ โดย ปลาทู ภาพทั้งหมด โดย ปลาทูอัปเดตความรู้ใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !