เป็นที่ทราบกันว่าสำนักงานประกันสังคม ทำการปรับลดเงินสมทบผู้ประกันตน มาตรา 39 จาก 432 บาท เหลือจ่ายแค่ 235 บาท ต่ออีก 3 เดือนตั้งแต่ ก.ย.-พ.ย. 64 แต่ปัญหาคือไปจ่ายทีไรระบบไม่อัปเดตสักที ยังเป็น 432 บาท ถ้าจ่ายไปต้องเสียเวลาทำเรื่องคืน ครบกำหนดวันที่ 15 แล้วจะจ่ายหรือไม่จ่ายดี ถ้าไม่จ่ายจะโดนปรับ โดนตัดสิทธิอะไรมั้ย ในใจวุ่นวายไปหมดเกิดมาไม่เคยจ่ายเกินซะด้วยสิ ไม่ต้องห่วงครับเมื่ออ่านบทความนี้จบ จะเกิดความสบายใจขึ้นทันที https://news.trueid.net/detail/93Y9APww2jY3 คำตอบคือ จ่ายเกิน 15 กันยายนได้ เป็นความเข้าใจผิดของผู้ประกันตนว่าของเดือนนั้น “ต้องจ่ายภายในวันที่ 15” แต่ในเงื่อนไขประกันสังคม เช่นในแบบฟอร์ม สปส. 1-20 ที่เรากรอกสมัครครั้งแรก >>ดาวน์โหลดได้จากที่นี่<< แต่เชื่อว่าส่วนใหญ่ รวมถึงตัวผู้เขียนด้วยขอสารภาพไม่ได้อ่าน และรายละเอียดท้ายแบบฟอร์มเป็นประโยชน์มากเพราะสรุปคำถามหลายคนสงสัยไว้หมดเลย เช่น “จ่ายได้ถึงวันไหน” หมวดของ หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เขียนไว้อย่างละเอียดชัดเจนว่า สำหรับเงินสมทบในงวดถัดไปให้นำส่งตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนนั้น จนถึงวันที่ 15 ของเดือนถัดไป เกิดแสงสว่างวาบ ส่งมาเป็น 10 ปี นี่เราเข้าใจผิดมาตลอดเลยหรือว่าของเดือนนั้น มันจ่ายได้ถึง 15 เดือนหน้าโดยไม่ผิดเงื่อนไขใด ๆ ถ้ายังไม่แน่ใจ ยังมี แบบส่งเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 39 หรือ สปส.1-11 >>คลิกดาวน์โหลด<< ใช้ในกรณีนำจ่ายเงินสมทบโดยตรง ณ สำนักงานประกันสังคม บอกเงื่อนไขเดียวกันในท้ายเอกสารเช่นกันว่า ผู้ประกันตนมีหน้าที่ส่งเงินสมทบเดือนละครั้งภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นั่นหมายความว่าหากระบบยังไม่ปรับยอดเงินเป็นอัตราใหม่ 235 บาท งวดเดือนกันยายน สามารถจ่ายได้ถึงวันที่ 15 ของเดือนตุลาคม หากระบบปรับอัตราใหม่วันที่ 21 กันยายน สามารถจ่ายได้โดยไม่ผิดเงื่อนไขใด ๆ ไม่ใช่การจ่ายเลทหรือจ่ายช้า กรอบระยะเวลาการจ่ายของแต่ละงวดอยู่ภายใน 45 วัน หากข้ามไปเดือนตุลาคม พนักงานจะถามเราว่า “ต้องการจ่ายของเดือนไหน” ให้เลือกเป็นกันยายน หรือจ่ายรวบ 2 เดือนเลยก็ได้ไม่ผิดกติกา ยืนยันด้วยโพสต์จากเพจไทยคู่ฟ้าของรัฐบาล ยังอธิบายชัดเจนในเงื่อนไขนี้ แต่มีการแชร์ ณ ปัจจุบันเพียง 1,200 ครั้งเท่านั้นเอง https://www.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/688886434910499 แล้วเราไปเอาความเชื่อว่าจ่ายไม่เกิน 15 มาจากไหน? มาจากความคุ้นชินเวลาจ่ายบิลค่าใช้จ่าย เช่นค่าผ่อนของ , ค่าบัตรเครดิต , ค่าใช้จ่ายรายเดือนต่าง ๆ มักไม่มีที่ไหนใจดีให้ของเดือนนี้ จ่ายช้าได้ถึงเดือนถัดไป คำว่า 15 15 และ 15 ของประกันสังคมมาตรา 39 เลยจำติดหัวว่าคือเดือนนี้ และเราไม่เคยกลับไปอ่านรายละเอียดในใบสมัครเลยว่า 15 นี่ “หมายถึงเดือนไหน” แต่ต้องไม่ลืมว่า ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสุดลง ตามดังที่ปรากฏในท้ายแบบฟอร์ม สปส. 1-20 หากค้างชำระสามเดือนติดต่อกัน ภายในระยะเวลาสิบสองเดือนส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบเก้าเดือน และแนะนำว่า “ไม่ควรจ่ายเกินกำหนดเวลา 15 ของเดือนถัดไป” เพื่อให้สิทธิคุ้มครองดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเงินที่จ่ายไปเหมือนการส่งต่อช่วยเหลือกลับไปสู่ผู้ประกันตน ให้มีเงินหมุนเวียนในระบบรักษาพยาบาล ที่สำคัญ! รักษาสิทธิไว้เพื่อให้ไม่พลาดมาตรการเยียวยาผ่านประกันสังคม ที่มีแนวโน้มทยอยออกมาเพิ่มเติมในอนาคต มีไว้อุ่นใจ ได้ประโยชน์แน่นอนครับ 🤗 .. บทความน่าสนใจ เช็กเลย! ลงทะเบียนบัตรคนจน รายได้ห้ามเกินเท่าไหร่ถึงได้สิทธิ เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ได้เงินแล้ว “ไม่จ่ายต่อ” ต้องทำอย่างไร? ลิงก์แบบฟอร์ม “ทบทวนสิทธิ” www.sso.go.th มาตรา40 ตรวจสอบสิทธิตกหล่น ไม่พลาดเงินเยียวยา 5 พัน ยื่นทบทวนสิทธิ ม.40 ผ่านโทรศัพท์ พร้อมเทคนิคโทร 1506 อย่างไรให้ติดง่าย ประกันสังคมมาตรา 40 เลือกจ่ายแบบไหนเหมาะกับเรา คุ้มไหม? สมัคร ม.40 เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 ตอบทุกข้อสงสัย ฉบับเข้าใจง่าย ภาพประกอบโดย ภาพปก Pixabay 1117826 : สมาร์ทโฟน , ภาพในสมาร์ทโฟน : สำนักงานประกันสังคม / ภาพที่ 1 : TrueID News / Pixabay ChrisFiedler : พื้นหลัง / ภาพที่ 2 : สปส. 1-20 / ภาพที่ 3 : สปส.1-11 / ภาพที่ 4 : สำนักงานประกันสังคม อัปเดตความรู้ข่าวสารใหม่ ๆ อีกมากมาย โหลดเลยที่ App TrueID ฟรี !