รีเซต

แพทย์เตือนอาจถึงตาย ภัยร้ายที่มากับน้ำ (คลิป)

แพทย์เตือนอาจถึงตาย ภัยร้ายที่มากับน้ำ (คลิป)
77ข่าวเด็ด
24 กรกฎาคม 2563 ( 07:07 )
94

จังหวัดน่าน เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกดำนา บางส่วนใช้วิธีหว่านแห้งรอฝน กังวลกลัวราคาตกต่ำ ด้านแพทย์ออกมาเตือน 3 โรคที่มากับน้ำอาจถึงตาย

 

ข่าววันนี้ น่าน วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เกษตรกรชาวนาในจังหวัดน่าน เริ่มเพาะปลูกหลังมีฝนตกมาอย่างต่อเนื่อง

นายพร อินทำ เกษตรกรชาวอำเภอเชียงกลาง กล่าวว่า เป็นห่วงเรื่องราคาข้าวในปีนี้ หลังพืชผลทางการเกษตรตกต่ำในช่วงที่ผ่านมา ห่วงราคาข้าวอาจตกตาม ฝากรัฐบาลวางแผนรับมือ

ด้าน นายแพทย์ พงษ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน ออกมาเตือน โรคที่มากับน้ำที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ คือ โรคฉี่หนู หรือโรคฉี่หนู ภัยร้ายที่มากับหน้ำฝน Leptospirosis คืออะไรพบว่าระบาดมากที่สุดในช่วงฤดูฝน น้ำฝนจะชะล้างเอาเชื้อโรคต่างๆ จกสภาพแวดล้อมไหลมารวมกันอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมขัง ซึ่งโรคฉี่หนูเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะ เช่น หนู สุกร โค กระบือ สุนัข

โดยสัตว์ที่เป็นพาหะอาจไม่แสดงอาการแต่มีการติดเชื้อที่ท่อไตทำให้มีการปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ ซึ่งเชื้อจะแฝงอยู่ในจุดที่น้ำท่วมขังตามดิน โคลน แอ่งน้ำ ร่องน้ำ น้ำตก แม่น้ำ ลำคลอง และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานเป็นเดือน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

ผู้ที่ความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโรคฉี่หนู ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย ที่มีน้ำท่วมขัง ผู้ที่ต้องทำงานในภาคเกษตร (ชาวนา ชาวไร่ เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ)

เชื้อโรคฉี่หนูสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังที่มีแผล หรือรอยขีดข่วน หรือผิวหนังที่เปื่อย เนื่องจากแช่อยู่ในน้ำนานๆ และผ่านเข้าทางเยื่อบุที่อ่อนนุ่ม เช่น ตา จมูก ปากมักจะพบเชื้อในน้ำ ซึ่งอาจติดโรคขณะว่ายน้ำ หรือขณะประกอบอาชีพ เช่น สัมผัสน้ำที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือดของสัตว์ที่มีเชื้อโดยตรง โดยสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ แต่ไม่พบการติดต่อจกคนถึงคนโดยตรง ซึ่งเชื้อเลปโตสไปร์ (Leptospira) อาจถูกขับออกมาในปัสสาวะผู้ป่วยต่อเนื่องยาวนานถึง 1 เดือน โดยระยะฟักตัวของโรคจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่อาจนานได้ถึง 3 สัปดาห์

อาการแสดงภายหลังการติดเชื้อผู้ที่ได้รับเชื้อนี้จำนวนหนึ่งอาจไม่มีอาการ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการ อาจแบ่งเป็น 2 ระยะดังนี้

ระยะแรก (Leptospiremic phase) 4 – 7 วันแรกของการดำเนินโรค จะมีอาการไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ สับสน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลัง น่อง และ ต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน มีอาการตาแดง มักพบใน 3 วันแรกของโรค และเป็นอยู่ได้นานถึง 1 สัปดาห์ ตาเหลือง ตัวเหลือง มีอาการคอแข็ง ความดันโลหิตต่ำ ได้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ผื่นแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ตับ ม้ามโต (อาจพบได้แต่ไม่บ่อย)

ระยะที่สอง (Immune phase) ผู้ป่วยจะเริ่มสร้างโปรตีนที่เฉพาะต่อเชื้อโรคฉี่หนู โดยพบหลังจากเริ่มมีอาการไข้ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยจะมีช่วงที่ไข้ลงประมาณ 1- 2 วันแล้วกลับมีไข้ขึ้นอีก ในระยะนี้ผู้ป่วยมักมีอคาร ปวดศีรษะ ไข้ต่ำ ๆ คลื่นไอเจียน (อาการมักรุนแรงน้อยกว่าอาการในช่วงแรก) อาจพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ม่านตาอักเสบ หน้าที่ของตับและไตผิดปกติ ระยะนี้อาจกินวลาได้นาน ถึง 30 วัน แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดในผู้ป่วยทุกราย ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีตาเหลือง และกลุ่มที่ไม่มีตาเหลือง

การป้องกันการติดเชื้อด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ หรือสิ่งแวดอมที่อาจปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนู เช่น การเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือการแช่น้ำนานๆ ถ้ามีบาดแผลตามร่างกาย หรือแค่รอยถลอก รอยขีดข่วน ควรงดลงน้ำ หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ควรสวมรองเท้าบูทเพื่อป้องกันน้ำไม่ให้น้ำถูกแผล และระวังอย่าให้มีน้ำขังในรองเท้าบูทที่ใส่ กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของหนู กำจัดหนูตามแหล่งที่อยู่อาศัย หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ในแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ ผู้ที่ทำงานเสี่ยงต่อโรคควรใช้ถุงมือยาง รองเท้าบูท หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำ ถ้าต้องลุยน้ำเป็นเวลานาน หรือจำเป็นต้องทำงานในสภาวะดังกล่าวควรสวมใส่เครื่องป้องกัน หากไปแช่หรือย่ำน้ำที่อาจมีเชื้อโรคฉี่หนูปนเปื้อนอยู่ควรรีบอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วและเช็ดตัวให้แห้ง

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคนหรือโรคเนื้อเน่าโรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่k Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง พังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต

โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เนื้อเยื้อใต้ผิวหนัง อาทิ ไขมันใต้ผิวหนัง พังผืดและกล้ามเนื้อ จะมีความรุนแรงมาก อันตรายถึงชีวิต หากรักษาไม่ทัน เพราะเชื้อจะทำลายเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อที่มักพบบ่อยที่แขนขา

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า Streptococcus เมื่อเชื้อเข้าสู่เนื้อเยื่อ โดยผ่านทางแผลที่ผิวหนัง เชื้อจะเจริญอย่างรวดเร็วและหลั่งสารพิษ (Toxin) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายเนื้อเยื่อ มีผลทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นไม่พอทำให้กล้ามเนื้อตาย และเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและลามไปทั่วร่างกาย

อาการของโรค มีไข้สูง หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน เหงือออก เป็นลม ช็อกหมดหมดสติ อาการของโรคแบ่งตามระยะเวลาที่เกิดโรค อาการของโรควันที่ 1-2 มีอาการปวดบริเวณที่เกิดโรค บวม และแดง ลักษณะจะคล้ายกับผิวหนังอักเสบหรือไฟลามทุ่ง แต่โรคเนื้อเน่าเกิดในชั้นลึกกว่านั้นซึ่งมองไม่เห็น อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นซึ่งไม่สอดคล้องกับอาการทางผิวหนังที่ตรวจพบ ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัวหัวใจเต้นเร็ว มีลักษณะอาการขาดน้ำ

อาการของโรควันที่ 2-4  พบว่าบริเวณที่บวมจะกว้างกว่าบริเวณผิวหนังที่แดง มีผื่นผุพองซึ่งบ่งบอกว่าผิวหนังขาดเลือด และมีเลือดออก ผิวมีสีออกคล้ำเนื่องจากผิวหนังเริ่มตาย เมื่อกดผิวจะพบว่าแข็งไม่สามารถคลำขอบของกล้ามเนื้อได้ อาจจะคลำได้กรอบแกรบใต้ผิวหนัง เนื่องจากเกิดแก๊สใต้ผิวหนัง

อาการของโรควันที่ 4-5 จะมีความดันโลหิตต่ำ และมีภาวะโลหิตเป็นพิษ ผู้ป่วยจะไม่ค่อยรู้สึกตัว

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเนื้อเน่าได้แก่ ผิวหนังมีแผลจากแมลงกัดต่อย อุบัติเหตุถูกของมีคมตำหรือบาด หรือมีบาดแผล มีโรคประจำตัว เช่น ติดสุรา ติดยาเสพติด โรคตับ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง วัณโรค

หากพบมีอาการดังกล่าวควรมาพบแพทย์โดยด่วนเพื่อวินิจฉัยให้เร็ว และผ่าตัดเอาเนื้อที่ตายหรือเนื้อที่ติดเชื้อออกให้มากที่สุด ผ่าตัดเพื่อระบายเอาหนองออก และตัดเนื้อเยื่อที่ตาย หากติดเชื้อรุนแรงอาจจำเป็นต้องตัดอวัยวะนั้นออก

หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการแทรกซ้อน อัตราเสียชีวิตจะสูง เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษ การติดเชื้ออาจจะทำให้เส้นประสาท กล้ามเนื้อและหลอดเลือดถูกทำลาย อาจจะต้องตัดอวัยวะทิ้ง

การป้องกันโรค การดูแลแผล การดูแลแผลจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเนื้อเน่า เมื่อเกิดแผล รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดทันที ทำความสาดแผลทุกวัน และใช้อุปกรณ์ทำแผลที่สะอาด ระหว่างที่มีแผลควรหลีกเลี่ยงการใช้สระน้ำ และอ่างอาบน้ำร่วมกัน ล้างมือทุกครั้งก่อนแหละหลังสัมผัสแผลบริเวณที่ติดเชื้อได้ง่าย

โรคเนื้อเน่าเกิดกับส่วนใดๆ ของร่างกายก็ได้ แต่พบบ่อยที่แขน / ขา และลำตัว มักจะมีประวัติได้รับอุบัติเหตุในน้ำ

77ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดน่าน รายงาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง