รีเซต

จมใต้ทะเลลึกนานแสนนาน! กู้ปืนใหญ่ 600 ปี รอพิสูจน์ใช่ก่อเกิดยุคบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยา

จมใต้ทะเลลึกนานแสนนาน! กู้ปืนใหญ่ 600 ปี รอพิสูจน์ใช่ก่อเกิดยุคบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยา
ข่าวสด
7 สิงหาคม 2563 ( 19:31 )
310
จมใต้ทะเลลึกนานแสนนาน! กู้ปืนใหญ่ 600 ปี รอพิสูจน์ใช่ก่อเกิดยุคบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยา

 

จมใต้ทะเลลึกนานแสนนาน! กู้ปืนใหญ่ 600 ปี รอพิสูจน์ใช่ก่อเกิดยุคบางระจัน สมัยกรุงศรีอยุธยา

วันที่ 7 ส.ค. กองโบราณคดีใต้น้ำกรมศิลปกร จ.จันทบุรี นำเรือโบราณคดีใต้น้ำ ชื่อ แววมยุรา ซึ่งเป็นเรือสำรวจและขุดตรวจแหล่งโบราณคดีใต้น้ำ สำหรับปฏิบัติภารกิจในท้องทะเล ออกเก็บกู้ปืนใหญ่โบราณ หลังจาก นายชินณวุฒิ วิลยาลัย ผอ.กองโบราณคดีใต้น้ำ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านที่มีอาชีพดำน้ำว่า พบปืนใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 300 ก.ก. จมอยู่บริเวณร่องน้ำที่ใช้เดินเรือ บริเวณปากแม่น้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ที่มีน้ำลึก 5 เมตร ขณะที่น้ำทะเลลงต่ำสุด

 

โดยวันนี้ นายชินณวุฒิ และเจ้าหน้าที่กองโบราณคดีใต้น้ำ พร้อมอดีตเจ้าหน้าที่กองโบราณคดีที่เกษียณอายุราชการไปแล้วคือ นายกามนิต ดิเรกศิลป์ มาช่วยวางแผนทำการกู้ปืนใหญ่ โดยการใช้ถังน้ำขนาด 200 ลิตร 2 ใบเป็นทุ่นในการเก็บกู้ ด้วยการปล่อยให้น้ำเข้าไปในถังจนเต็มและน้ำไปผูกยึดเพื่อใช้โยงปืนใหญ่ที่จมอยู่ใต้น้ำด้วยเชือก แล้วอัดอากาศเข้าไปในถังเพื่อไล่น้ำออก ด้วยเทคนิคแบบนี้สามารถทำให้การกู้ปืนใหญ่ที่มีน้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัมขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย

 

แต่ภารกิจก่อนจะเก็บกู้ขึ้นมาได้ ทีมงานของกองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร ต้องผจญกับความแรงของกระแสน้ำที่เชี่ยว สมอเรือที่ทอดลงไปหนักหน้าดินไม่สามารถเกาะติดได้ แต่ด้วยความพยายามหลายครั้งทั้งเรือและนักประดาน้ำ ก็สามารถก็ปืนใหญ่สมัยโบราณ ที่มีขึ้นมาได้สำเร็จ

 

 

นายชินณวุฒิ กล่าวว่า สำหรับปืนใหญ่ที่กู้ขึ้นมาได้ ทางกองโบราณคดีใต้น้ำยังไม่สามารถทำการตรวจสอบรายละเอียดได้ เนื่องจากมีสนิมและตัวเพรียงเกาะหนาแน่น ต้องนำไปทำการแช่ในน้ำยาโซเดียม คาร์บอเน็ต พร้อมกับใช้ประจุไฟฟ้าโดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อทำให้สนิมและตัวเพรียงที่เกาะหลุดออกมา หลังจากผ่านกระบวนการกัดกร่อนสนิม จึงจะสามารถตรวจสอบได้อย่างละเอียดถึงลักษณะของปืนใหญ่และลวดลายประจำตัวปืน ซึ่งจะสามารถบอกได้ว่าปืนใหญ่ที่กู้ขึ้นมาได้จากอ่าวทะเลจันทบุรีนั้น เป็นปืนสำหรับประจำเรือ หรือ ป้อมปืน

 

จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าตัวปืนใหญ่มีขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 120 ซ.ม. โคนกว้าง 30 ซ.ม. และส่วนปลายประบอกกว้าง 15 ซ.ม. โดยลักษณะปืนใหญ่เบื้องต้น ตรงกับลักษณะรอยต่อ สมัยกรุงศรีอยุธยา กับ กรุงรัตนโกสินทร์ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า เป็นปืนใหญ่ที่ทำในประเทศไทยที่ก่อเกิดมาตั้งแต่ยุค บางระจัน หรือ เป็นของฝรั่งเศส หรือ ญี่ปุ่น หรือ อาจเป็นในยุคสมัยรัชกาลที่ 3 หรือ รัชกาลที่ 5

ข่าวที่เกี่ยวข้อง