VLOOKUP เป็นคำสั่งใน Excel ที่ใช้กับกันอย่างหลากหลาย นอกจาก Excel แล้วใน Google Sheets ก็ยังมีคำสั่งนี้ด้วย แต่บางครั้งคำสั่งนี้บางครั้งก็ทำงานได้ไม่ถูกต้องหรือไม่ทำงานเลย อาจจะเกิดจากปัญหาบางประการกับข้อมูลของเรา ไปดูกันว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ VLOOKUP ไม่ทำงานหรือทำงานไม่ถูกต้อง ข้อผิดพลาดทั่วๆ ไปของ VLOOKUPโดยปกติ VLOOKUP จะคืนข้อผิดพลาดที่เราพบบ่อยๆ อาทิเช่น #NA, #VALUE, #REF หรือคืนค่าที่ผิดจากที่เราต้องการ ไปดูกันว่าจะแก้ไขกันได้อย่างไร ข้อผิดพลาดแบบ #NAเมื่อคำสั่ง VLOOKUP ไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้ ก็จะส่งค่า #NA หรือที่มาจากคำว่า "Not available" คืนกลับมา แต่บางครั้งจริงๆ แล้วเราอาจจะมีข้อมูลอยู่แต่ทำไม VLOOKUP ถึงหาไม่เจอ ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากสาเหตุดังนี้มีช่องว่างอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังข้อมูล นี่คือเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ VLOOKUP ส่งคืนค่า #NA กลับมา โดยถ้าข้อมูลเรามีจำนวนมากๆ ก็มีความยากในการตรวจสอบว่ามีข้อมูลใดบ้างที่มีช่องว่างอยู่ด้านหน้าหรือด้านหลังของข้อมูลวิธีแก้ไข เพื่อที่จะให้ช่องว่างที่เกิดจากข้อมูลที่ผิดพลาดหายไป เราสามารถใช้คำสั่ง TRIM เพื่อลบช่องว่างด้านหน้าและด้านหลังของข้อความได้ โดยเราจะแก้ไขคำสั่ง VLOOKUP จาก =VLOOKUP(G2, A2:C51, 3, FALSE) เป็น =VLOOKUP(TRIM(G2), A2:C51, 3, FALSE) โดยใช้คำสั่ง TRIM ลบช่องว่างส่วนเกินออกพิมพ์ข้อมูลผิดพลาด นี่อีกเหตุผลคือการพิมพ์ค่าที่ต้องการหาใน VLOOKUP ผิดไปจากที่ต้องการ ก็จะทำให้ VLOOKUP คืนค่า #NA กลับมาเช่นเดียวกัน วิธีนี้แก้ไขไม่ยาก เพียงแค่ตรวจสอบค่าที่ใช้ในการ VLOOKUP ให้ถูกต้องข้อมูลตัวเลขที่ใช้ค้นหาถูกกำหนดรูปแบบเป็นข้อความ ถ้าข้อมูลตัวเลขของเราถูกกำหนดรูปแบบเป็นข้อความไว้ เวลาค้นหาโดยใช้ VLOOKUP ไปเปรียบเทียบกับข้อมูลที่เป็นตัวเลข ก็จะทำให้หาไม่เจอและคืนค่า #NA กลับมาเช่นเดียวกันวิธีแก้ไข ก็ต้องทำการเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้เป็นตัวเลขเลือกช่วงข้อมูลที่จะใช้ VLOOKUP โดยเลือกคอลัมน์แรกที่ไม่ใช่คอลัมน์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบค่า คอลัมน์แรกที่จะถูกเลือกเป็นช่วงใน VLOOKUP นั้นจะต้องเป็นคอลัมน์ที่ใช้เปรียบเทียบกับค่าที่เรามี ถ้าเลือกคอลัมน์ไว้ผิด VLOOKUP ก็ไม่สามารถหาค่าให้เราได้ ก็จะคืนค่ากลับมาเป็น #NA ส่วนวิธีการแก้ไขนั้นก็เพียงแต่เลือกช่วงคอลัมน์ให้ถูกต้องเลือกใช้ Match Type ใน คำสั่ง VLOOKUP ผิดประเภท ในกรณีที่เราใช้ Match Type ของ VLOOKUP เป็น TRUE คือใช้การตรวจสอบโดยประมาณ (ไม่ได้กำหนดให้ข้อมูลต้องตรงกันเท่านั้น) คำสั่ง VLOOKUP จะคืนค่า #NA ถ้าข้อมูลที่เราใช้ค้นหานั้นมีค่าน้อยกว่าค่าที่น้อยในคอลัมน์แรกที่เราใช้เป็นเงื่อนไขของ VLOOKUPข้อผิดพลาดแบบ #VALUEโดยปกติถ้าเราใช้ข้อมูลผิดประเภทหรือรูปแบบในคำสั่งหรือสูตรใน Excel เราก็จะได้ข้อผิดพลาด #VALUE และในการใช้งาน VLOOKUP นั้นจะมี 3 เหตุผลที่ทำให้เราได้ค่า #VALUE จาก VLOOKUPระบุ index_number น้อยกว่า 1 ถ้าเราระบุค่า index_number หรือคอลัมน์ที่ต้องการคืนค่าจาก VLOOKUP น้อยกว่า 1 จะทำให้ VLOOKUP คืนค่า #VALUE กลับคืนมาให้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบให้ดีก่อนการใช้งานนะครับระบุชื่อไฟล์หรือที่อยู่ของไฟล์ในคำสั่ง VLOOKUP ไม่ถูกต้อง ในกรณีที่เราใช้ VLOOKUP ไปาหาข้อมูลจากไฟล์อื่นๆ ถ้าเราระบุชื่อไฟล์หรือที่อยู่ของไฟล์ผิดพลาด คำสั่ง VLOOKUP ก็จะหาไฟล์ที่ต้องการไม่พบ ก็จะมีผลทำให้เราได้ผลจาก VLOOKUP เป็น #VALUE เช่นเดียวกัน=VLOOKUP(lookup_value, '[workbook name]sheet name'!table_array, col_index_num, FALSE)ข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบกับ VLOOKUP ยาวเกิน 255 ตัวอักษร ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ VLOOKUP คืนค่ากลับมาเป็น #VALUE เนื่องจากว่า VLOOKUP นั้นสามารถรับค่าเพื่อใช้ในการตรวจสอบได้มากที่สุดเพียง 255 เท่านั้นวิธีการแก้ไข ต้องลดจำนวนตัวอักษรลงให้เหลือไม่เกิน 255 ตัวอักษรหรือใช้คำสั่ง INDEX และ MATCH แทนการใช้ VLOOKUPข้อผิดพลาดแบบ #REFจะเกิดขึ้นเนื่องจากเราระบุ index_number หรือตำแหน่งของคอลัมน์ที่ต้องการให้คืนค่ามากกว่าจำนวนคอลัมน์ที่เราได้เลือกเอาไว้ VLOOKUP ก็จะส่งคืนค่า #REF กลับคืนมา วิธีการแก้ไขก็เพียงแค่ตรวจสอบตำแหน่งของคอลัมน์ที่ต้องการและระบุตัวเลขใน index_number ให้ถูกต้องข้อผิดพลาดที่ทำให้ VLOOKUP คืนค่าไม่ถูกต้องถ้าหากเราไม่ระบุประเภทการจับคู่ที่ range_lookup ของคำสั่ง VLOOKUP และโดยค่าเริ่มต้นนั้นจะเป็น TRUE คือ VLOOKUP จะเปรียบเทียบค่าของเราและข้อมูลที่คอลัมน์แรกของ VLOOKUP เป็นแบบประมาณการ (Approximate math) ถ้าหากไม่พบค่าที่ตรงกันและข้อมูลในคอลัมน์แรกก็ไม่ได้เรียงลำดับจากน้อยไปมากอย่างถูกต้อง VLOOKUP ก็จะส่งกลับผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องวิธีการแก้ไข เราต้องระบุประเภทการจับคู่ที่ range_lookup ของ VLOOKUP ว่าเป็น TRUE หรือ FALSE เสมอ และในกรณีของประเภทการจับคู่แบบประมาณการ (TRUE) เราต้องจัดเรียงข้อมูลในคอลัมน์แรกที่จะใช้กับคำสั่ง VLOOKUP เสมอ (โดยจากภาพจะเห็นว่าเราใช้ประเภทการจับคู่ range_lookup เป็น TRUE และทดลองใส่ค่าที่ไม่ถูกต้องลงไป VLOOKUP จะหาค่าที่ใกล้เคียงและส่งคืนมา ซึ่งบางครั้งเราต้องการตรวจสอบแบบข้อมูลต้องตรงกันเท่านั้น) น่าจะพอตรวจสอบกันได้ ถ้าพบเจอข้อผิดพลาดของ VLOOKUP เกิดขึ้นระหว่างการทำงานนะครับภาพโดยนักเขียนหมีขั้วโลก ทอดกรอบ〔´(エ)`〕เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !