เวลาคุณผู้อ่านโดนตั้งคำถามด้วยน้ำเสียงที่เกรี้ยวกราด รู้สึกอย่างไรบ้างคะ หรือเวลาที่กำลังถูกถามเรื่องราวส่วนตัวจากบุคคลที่ไม่ใช่คนในครอบครัวแน่นอนว่าย่อมไม่มีใครชอบใจ การหงุดหงิด หรือความรู้สึกถูกกดดันย่อมเกิดขึ้น เมื่อไม่สามารถหลีกเลี่ยงในสถานการณ์เหล่านั้นได้ ในมุมกลับหากเราเป็นผู้กระทำเองสิ่งเหล่านั้นเอง โดยที่ผู้ถูกกระทำคือเด็ก ๆ เด็กน่าสงสารนะคะ เพราะเด็กไม่สามารถโต้ตอบได้ ด้วยบรรทัดฐานของสังคมไทย เด็กจะถูกสอนมาว่าห้ามเถียงผู้ใหญ่ หลาย ๆ ครั้งเราจะพบว่าเด็กอยู่ในภาวะของการเก็บกด ซึ่งอาจจะสะท้อนออกมาให้เห็นด้วยการกัดเล็บเครดิตภาพโดย : https://health.kapook.com/view200937.htmlการสื่อสารสำคัญที่ช่วยให้พ่อแม่เข้าใจได้รับรู้การใช้อินเตอร์เน็ตของลูก คือ การตั้งคำถาม ซึ่งพื้นฐานที่สำคัญในการพูดคุย คือ การมีสัมพันธภาพที่ดี ให้เด็กได้รับรู้ถึงความหวังดี เจตนาดีของพ่อแม่ ไม่ซ้ำเติมเมื่อเด็กทำผิดพลาด ให้ความรักเพื่อให้เด็กรู้สึกมีตัวตนในครอบครัว เพื่อให้เด็กจะได้ไม่ต้องไปแสวงหาความรัก การถูกยอมรับจากเพื่อนหรือจากคนภายนอกเครดิตภาพโดยผู้เขียนคู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล ตอน "คำถามเจาะใจ ..เข้าใจลูก..เข้าใจความเสี่ยง" ได้แบ่งข้อมูลเป็น 4 ข้อ ในการตั้งคำถามกับลูกดังนี้คำถามเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป คำถามเกี่ยวกับ Cyberbullying การกลั่นแกล้งรังแกทางออน์ไลน์คำถามเกี่ยวกับพฤติกรรม Sexting (ส่งหรือรับรูปและข้อความแบบ "ติดเรต")คำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยในการเข้าสังคมออน์ไลน์เครดิตภาพโดยผู้เขียนตัวอย่างการตั้งถามเกี่ยวกับเทคนิคการใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เช่นลูกชอบเข้าเว็บไซต์อะไรมากที่สุด ? แล้วเข้าไปทำอะไร ? ตอนนี้เพื่อน ๆ กำลังนิยมเข้าเว็บไซต์อะไรบ้าง ? เคยมีคนแปลกหน้าขอพูดคุยกับลูกทางโซเชียลมีเดียบ้างไหม ? คุยเรื่องอะไรกัน ? มีเรื่องที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจบ้างหรือไม่ หรือมีการขอให้ทำในสิ่งที่ลูกไม่แน่ใจว่าจะเหมาะสมบ้างหรือเปล่า ? เขาบอกให้ลูกทำอะไร ? แล้วลุกตอบว่าอย่างไร ? เคยมีใครส่งข้อความมาป่วนหรือกวนใจลูกบ้างไหม ? แล้วลูกทำอย่างไร ? ลูกมีวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตหรือสื่อสังคมออน์ไลน์ต่าง ๆ ให้ปลอดภัยได้อย่างไร ? ลูกคิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่า ในโลกออน์ไลน์ทุกคนมีสิทธิ์นำข้อมูลไปบิดเบือนหรือแต่งเติมใหม่เพื่อให้คนอื่น ๆ เชื่อว่านั่นคือเรื่องจริง ? ลูกเคยพบเห็นกรณีเหล่านั้นบ้างไหม ? เคยมีใครนำข้อมูล / เรื่องของลูกไปบิดเบือนหรือแต่งเติม แล้วทำให้คนอื่น ๆ เชื่อว่าเป็นจริงบ้างไหม ? สิ่งเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อลูกอย่างไร ? เครดิตภาพโดยผู้เขียนตัวอย่างคำถามเกี่ยวกับ Cyberbullying การกลั่นแกล้งรังแกทางออน์ไลน์ เช่นลูกรู้จักคำว่า Cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งกันบนโลกออน์ไลน์บ้างไหม ? เข้าใจว่ามันคืออะไร ? เคยพบเห็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งรูปแบบนี้บ้างไหม ? รู้สึกอย่างไร ? ลูกเคยต้องลบข้อความ รูป หรือความคิดเห็นที่คนอื่นเขียนถึงลูกในทางที่ไม่ดีบนหน้าเพจของลูกบ้างหรือไม่ ? เคยมีคนที่กวนใจหรือทำให้ลูกเสียใจด้วยถ้อยคำไม่ดีบนหน้าเพจของลูก หรือบนเว็บไซต์อื่น ๆ บ้างหรือไม่ ? ลูกทำอย่างไร (เช่น โต้ตอบ ลบทิ้ง บล็อก) เพราะอะไรถึงเลือกทำเช่นนั้น ? เกิดอะไรขึ้นตามมา ? แล้วลูกรู้สึกอย่างไรต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ? เครดิตภาพโดยผู้เขียนคู่มือพ่อแม่ยุคดิจิทัล ตอน "คำถามเจาะใจ ..เข้าใจลูก..เข้าใจความเสี่ยง" ได้ให้ข้อสรุปว่า จากคำตอบของลูก พ่อแม่ควรวิเคราะห์ว่า พฤติกรรมในการออน์ไลน์ของลูกมีความปลอดภัยในระดับใด พ่อแม่อาจสอนหรือสร้างควาเมข้าใจกับลูก ควรเตรียมความพร้อมให้กับเด็กตั้งแต่เริ่มเข้าสู้โลกไซเบอร์ ให้รู้จักกฎ กติกา มารยาทและศิลธรรม รู้เท่าทันสื่อออน์ไลน์ ผู้เขียนมองว่าเอกสารชุดนี้เป็นประโยชน์อย่างมากเลยค่ะ หากคุณผู้อ่านสนใจที่จะอ่านรายละเอียดทั้งหมด สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิ้งเพจข้างของบทความค่ะเครดิตภาพโดย : https://moe360.blog/2020/04/07/ครม-รับทราบการเลื่อนเปิ/ด้วยสถานการณ์โควิด -19 ที่มีผลกระทบแม้กระทั่งวงการศึกษา ทำให้ต้อง เลื่อนวันเปิดเรียนออกไป เป็นวันที่ 1 กรกฎคม 2563 ทุกโรงเรียนเริ่มปรับกลยุทธ์ในการเรียนโดยหันมาใช้นวัตกรรมในรูปแบบออน์ไลน์ เด็กจะมีเวลาได้อยู่กับโลกออน์ไลน์มากขึ้น งานนี้อยู่ที่ผู้ปกครองแล้วละคะ ว่าได้สร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกมากน้อยแค่ไหน สิ่งที่ผู้เขียนแอบกังวลคือ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กบางกลุ่ม คือ ในเรื่องของภาวะสมาธิสั้น แต่ถ้าหากผู้ปกครองดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตของลูกอย่างใกล้ชิด ปัญหาต่าง ๆ ก็คงไม่เกิด "อย่าลืมสร้างวินัยในการใช้อินเทอร์เน็ตให้กับลูกนะคะ"https://web.facebook.com/TIRAHOME69