มาดูวิธี ยื่นภาษี ตรวจสอบสถานะการยื่นภาษี และวิธีเช็คเงินคืน ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากรกัน ว่าจะมีขั้นตอนเป็นอย่างไร เริ่มตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นด้านภาษี ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง และมีการติดตามผลการยื่นแบบอย่างไร ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ไปดูกันเลย ความรู้เบื้องต้น ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา? บุคคลธรรมดา ผู้ที่มีเงินได้อย่างๆ เราๆ นั้นเอง ที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด หากมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ แล้วทำไมต้องยื่นภาษีด้วยละ ? หากเรามีเงินได้น้อยกว่าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี ก็ยังสามารถทำการยื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีที่เราอาจะถูกหักจากผู้จ่ายเงินเราไว้เพื่อจะได้เงินคืนไงละ แล้วใครหักภาษีเราไว้ได้บ้าง ? ผู้ที่หักภาษี ณ ที่จ่ายเราไว้ จะเป็นได้ทั้งนายจ้าง แพลตฟอร์ม (เช่น True ID Creators เป็นต้น) หรือธนาคารที่จ่ายดอกเบี้ยต่างๆ ให้กับเรานั้นเอง ถ้ามีเงินได้ถึงเกณฑ์ ต้องเสียภาษีไหม ? หากเรามีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องยื่นภาษี ต้องดูรายได้ลบกับค่าลดหย่อนภาษี ผ่านการคำนวณภาษี ออกมาก่อน อาจะเป็นทั้งไม่ต้องเสียภาษี ได้ภาษีที่หัก ไว้เกินคืน หรือ เสียภาษีเพิ่มเติมได้ สามารถทดสอบคำนวณภาษีก่อนได้ผ่าน App. ของกรมฯ RD Smart Tax ขั้นตอนในการเสียภาษี ในการยื่นภาษีนั้นมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ขั้นตอนเตรียมเอกสารหลักฐาน แบ่งเอกสารหลักฐานเป็น 2 ส่วน คือ 1. เอกสารหลักฐานรายได้ เช่น ใบทวิ 50 (สำหรับมนุษย์เงินเดือน) หรือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (จากผู้จ่ายเงินได้) เป็นต้น 2. เอกสารหลักฐานลดหย่อน เช่น เบี้ยประกัน การซื้อกองทุน ใบอนุโมธนาบัตรต่างๆ เป็นต้น เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้วไปยื่นภาษีกันเลย 2. ยื่นแบบภาษี 1. เข้าสู่ระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร ผ่านทาง Digital ID รูปแบบต่างๆ (ด้านขวา) หรือเข้าระบบด้วย ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน (ด้านซ้าย) หากใช้งานครั้งแรก เลือก สมัครสมาชิก 2. เลือกเบอร์มือถือ เพื่อรับรหัสผ่านครั้งเดียว (OTP : One Time Password) ในการเข้าใช้งานระบบ และเลือก "ขอรหัส OTP" 3. กรอก รหัส OTP และ เลือก "ยืนยัน OTP" 4. เมื่อเข้าสู่ระบบสำเร็จจะพบกับหน้า "ภาษีของฉัน" สามารถเลือกแบบภาษีที่ต้องการยื่นได้ เลือก ภ.ง.ด. 90/91 ซึ่ง ภ.ง.ด. 90 คือ ผู้มีเงินได้หลายประเภท และ ภ.ง.ด. 91 สำหรับผู้มีเงินได้เป็นเงินเดือนอย่างเดียว เลือก ภ.ง.ด. 94 : กรณียื่นภาษีกลางปี หากมีเงินได้จากแหล่งต่างๆ ที่เป็นเงินได้ประเภท 40 (5) ถึง 40 (8) เช่น เงินได้จากค่าเช่า วิชาชีพอิสระ รับเหมาก่อสร้าง หรือเงินได้อื่นๆ ที่ครึ่งปีแรกมากกว่า 60,000 บาท หรือ เลือก ภ.ง.ด. 95 : กรณีที่เป็นคนต่างด้าวผู้มีเงินได้จากการาจ้างแรงงานในไทย 5. หลักจากเลือกแบบภาษที่ต้องการยื่น จะพบกับหน้าเลือกใช้ข้อมูลเงินได้ ที่กรมสรรพากรมี หรือ กรอกเอง สำหรับเรา เลือก "ใช้ข้อมูลที่กรมสรรพากรได้รับ" เพื่อที่จะได้ดูว่ามีข้อมูลใดบ้างที่มีอยู่ในระบบแล้ว ข้อมูลดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ หากไม่ถูกต้อง หากอยากกรอกข้อมูลเองทั้งหมด สามารถเลือก "กรอกข้อมูลด้วยตัวเอง" ได้เลย 6. ตรวจสอบข้อมูลผู้มีเงินได้ กรอกข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี) เลือก "สถานะ" ก่อนเลือก ถัดไป 7. กรอกข้อมูลเงินได้ โดยเลือกที่ "ระบุข้อมูล" แต่ละประเภทเงินได้ที่มี ซึ่งเงินได้จะแบ่งออกได้เป็น 8 ประเภท 40(1) ถึง 40(8) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากคู่มือ *** วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 90 *** *** วิธีการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 91 *** 8. กรอกรายการ ลดหย่อน ที่มี เลือก "ระบุข้อมูล" 9. ดูยอดสรุปการคำนวณภาษี 10. ตรวจสอบแบบภาพอีกครั้ง ว่าข้อมูลถูกต้อง และยืนยัน ยื่นข้อมูลภาษี ผลการยื่นภาษี กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ ยื่นภาษีสำเร็จ เลือกที่ สามจุด เลือก ดาวโหลด ภาพแบบ และภาพใบเสร็จ เก็บไว้เป็นหลักฐานได้เลย 2. กรณีชำระภาษีไปหน้า ชำระภาษี (1) จะมีรายการ (2) ขึ้นมาให้เลือกชำระผ่านช่องทางต่างๆ ผ่านธนาคาร ชำระผ่าน QR Code (3) ก็ทำได้ง่ายๆ เลย สำหรับคนที่ต้องเสียภาษีมากกว่า 3,000 บาทขึ้นไป ผ่อนจ่ายได้ 3 งวดด้วยนะ ข้อควรระวัง คือ อย่าลืมจ่ายให้ตรงงวด 3. กรณีขอคือภาษีกันบ้าง สามารถเข้าอัปโหลดเอกสารเพื่อนำส่ง หรือมาตรวจสอบสถานะการขอคืนได้เลย มีขั้นตอน ดังนี้ สามารถนำส่งหลักฐานทางภาษีได้หลักจากยื่นแบบสำเร็จ หรือ ที่หน้า หลัก E-Filing เลือก "ตรวจสอบขอคืน/นำส่งเอกสาร" จะมีหน้าขึ้นมาให้สามารถอัปโหลดไฟล์หลักฐานต่างเข้าไปในระบบ ตรวจสอบสถานะการขอคืนได้เลย จะสามารถดูสถานะการยื่นแบบของระบบได้ ซึ่งหากมีการสื่อสารเพิ่มเติมจากทางเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรผ่านระบบ ระบบก็จะมีการแจ้งต่างๆ ผ่านทางข้อความในมือถือ (ไม่มีการแนบลิงก์ใดๆ ทั้งสิ้น) อีกทางด้วย ซึ่งเราจะต้องเข้ามาดูเนื้อหาในระบบนี้เอง และดำเนินการต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่เค้าแจ้งมาตามเงื่อนไข วางแผนภาษี เป็นอย่างไรกันคะ บ้างแม้การยื่นภาษีนั้นจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไปหากเราทำความเข้าใจในส่วนเงินได้ที่เรามี และมีการจัดการลดหย่อนวางแผนภาษีกันไว้ก่อน พร้อมทั้งเตรียมตัวเก็บหลักฐานเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งรายได้ และการลดหย่อน เพียงทำนี้ การยื่นภาษี และติดตามสถานะภาษีที่ยื่นก็ไม่ใช่เรื่องยาก และน่ากลัวอย่างที่คิดไว้อีกทีต่อไปแล้วค่ะ ภาพ จากระบบ E-Filing กรมสรรพากร และบทความโดยผู้เขียน #ยื่นภาษี #คำนวณภาษี #RD #D-MyTax #DigitalMyTax #OnePortal #กรมสรรพากร #ภาษี #ภาษีบุคคล #วิธียื่นภาษี #แอปยื่นภาษี #ภาษี #คืนภาษี #เช็คเงินคืน #HomContentCreator ติดตามผลงานอื่นๆ ของ HOM ได้ที่ บทความ คลิปสั้น ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน แล้วพบกันในบทความถัดไป ^.^ เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !