หลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้ได้สำเร็จแล้วในช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 จากนั้นอักษร เขมรและอักษรมอญได้ได้ค่อย ๆ ถูกลดความสำคัญลงไปอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุที่ว่าอักษรไทยที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราชท่านได้ออกแบบอักษรไทยให้มีความสอดคล้องกับเสียงฐานกรณ์ที่คนไทยใช้ได้อย่างลงตัว ทำให้อักษรที่มีพื้นฐานมาจากอักษรมอญโบราณอย่าง อักษรล้านนา อักษรเขมรโบราณ และอักษรขอมไทย เป็นเพียงแต่อักษรที่ถูกจนจารเรื่องราวเกี่ยวกับตำนาน และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา อย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบัน รูปสันฐานอักษรไทยน้อย ในภาคอีสานของประเทศไทยก็เช่นกัน อักษรเดิมที่ใช้กันอยู่เรียกว่าอักษรอีสานมีลักษณะตัวกลมมนต์ อักษรอีสานนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอักษรล้านนาหรืออักษรธรรมล้านนา โดยพระเจ้าชัยเชษฐาธิราชได้เป็นผู้นำเข้ามาเมื่อครั้งเสด็จขึ้นไปปกครองเมืองล้านนาและกลับมาปกครองล้านช้างอีกครั้ง นอกจากนี้ยังมีอักษรไทยน้อยที่ใช้อยู่ในเขตภาคอีสานและลาว อักษรชนิดนี้เป็นอักษรที่ได้รับอิทธิพลจากอักษรสุโขทัยที่คล้ายกับอักษรที่ใช้กันอยู่ในสมัยของพระยาลิไท ตัวเลขอักษรไทยน้อย อักษรไทยน้อยมีตัวอักษร 29 ตัว มีพยัญชนะพิเศษ 8 ตัว มีสระ 23 ตัว และมีตัวเลขตั้งแต่ 1-0 หรือจะใช้เลขโหราแบบอักษรธรรมอีสานก็ได้ ลักษณะการเขียนหรืออักขระวิธีจะมีความคล้ายกับการเขียนในปัจจุบัน การเขียนจะเขียนบนเส้นบรรทัด พยัญชนะควบกล้ำที่ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและพยัญชนะต้นจะใช้เป็นตัวเขียนตัวเต็มอยู่ในเส้นบรรทัดเดียวกัน แต่ก็มีบ้างที่ใช้พยัญชนะตัวธรรมครึ่งตัวมาควบกล้ำ ส่วนการวางรูปสระจะวางไว้รอบบรรทัด การเปรียบเทียบการเขียนอักษร อักษรไทยน้อยไม่ได้มีใช้เพียงแค่ในเขตภาคอีสานและเปรเทศลาวเท้านั้นยังพบว่ารูปแบบของอักษรไทยน้อยนี้ยังพบได้ในเขตสิบสองปันนาในเขตประเทศจีนในปัจจุบัน ในส่วนของอักษรลาวนี้อักษรไทยน้อยได้เป็นต้นแบบของอักษรลาว และการเขียนอักษรลาวนี้จะมีสองแบบคือแบบเก่าที่มีลักษณะการเขียนที่มีอักขระวิธีของอักษรธรรมมาผสม และการเขียนแบบใหม่เป็นการเขียนที่เป็นแบบตรงตัวงายต่อการสื่อสาร การเขียนควบสระในอักษร ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ ถ่ายจากหนังสือเรียนภาษาและอักษรอีสาน มหาวิทยาลัยรามคำแหง