ลุ้นเงินเยียวยามาหลายวัน เปลี่ยนมาพักคุยเรื่องเบาสมองกันบ้าง เรารู้จักประกันสังคมมาตรา 33 , มาตรา 39 และมาตรา 40 แต่สถานะผู้ประกันตนไม่ได้มีแค่นี้ ยังมี มาตรา 38 ที่หลายคนอาจยังไม่ทราบถึงสิทธิของตัวเอง และพลาดใช้สิทธิอย่างน่าเสียดาย ที่สำคัญ! อาจยังไม่รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ในมาตรานี้ เราไปทำความรู้จักกับมาตรา 38 หรือเรียกกันว่า ม.38 ชื่อดูแปลกไม่เคยได้ยิน แต่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวว่ามันคืออะไรกันแน่ https://www.facebook.com/ssofanpage/photos/a.105303622881804/1123705441041612 มาตรา 38 ได้มาอย่างไร สรุปโดยย่อเลยว่ามาตรา 38 คือสถานะของผู้ประกันตนเมื่อลาออกจากมาตรา 33 หรือออกจากงาน “มีเวลา 6 เดือนเพื่อสมัครมาตรา 39” หรือเปลี่ยนไปทำมาตรา 40 ซึ่งในระยะเวลาสุญญากาศ 6 เดือน ยังไม่ได้ไปสมัครต่อในมาตราใดมาตราหนึ่ง ตัวเราจะถูกจัดอยู่ใน มาตรา 38 ไม่ได้พ้นจากความเป็นผู้ประกันตนอย่างที่เข้าใจ ทันทีที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างจากมาตรา 33 “จะถูกจับไปอยู่มาตรา 38 โดยอัตโนมัติ” และมีระยะเวลาสิ้นสุดเมื่อไปสมัครต่อมาตราอื่น หรือปล่อยให้พ้นกำหนด 6 เดือน มาตรา 38 ได้สิทธิอะไรบ้าง ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้เช่นเดียวกับตอนเราเป็นลูกจ้าง บางคนเข้าใจว่าเมื่อออกจากงาน ไม่ได้ส่งเงินประกันแล้วจะไม่สามารถเบิกอะไรได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด และเสียสิทธิควรได้อย่างน่าเสียดาย เช่นพวกค่าทำฟัน 900 บาท ปีนี้ยังไม่ได้ใช้ ออกจากงานมาภายใน 6 เดือนนี้ยังสามารถใช้ได้จนหมดครบตามสิทธิ เพราะฉะนั้นระหว่างนี้ไม่จำเป็นต้องออกเงินค่ารักษาพยาบาลเอง สามารถใช้ประกันสังคมต่อเนื่องจากมาตรา 33 เดิม จนกว่าเราจะไปสมัครมาตราอื่นครับ อ่านมาถึงตรงนี้มีคำถามคาใจใช่ไหมครับว่าทำไมต้อง 33 ทำไมต้อง 39 เลขพวกนี้มีที่มาอย่างไร ทำไมไม่เรียงจาก ม.01 , ม.02 , ม.03 … มีเหตุผลอะไรต้องมาเริ่มจาก ม.33 มีที่มาจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ดาวน์โหลดมาอ่านเล่นได้ที่นี่เลยครับ >>คลิก<< แต่ละข้ออธิบายรายละเอียดเรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ เช่น มาตรา 30 เขียนถึงวิธีส่งแบบสำรวจของนายจ้าง มาตรา 31 เขียนถึงการกรอกแบบสอบถามของนายจ้าง มาตรา 32 เขียนถึงข้อมูลในแบบสำรวจ (ข้อมูลลูกจ้าง) เป็นความลับ จนมาถึง มาตรา 33 ให้ลูกจ้างอายุ 15-60 ปี เข้าเป็นผู้ประกันตน จึงยึดเอาความตามมาตรานี้เรียกผู้ประกันตนแบบมีนายจ้างว่า “ผู้ประกันตนตามมาตรา 33” แต่นิยมเรียกกันโดยย่อว่า ม.33 จนเป็นอันทราบกันว่าหมายถึงประกันสังคมที่นายจ้างทำให้กับลูกจ้าง ส่วนมาตราสุดท้าย 104 เขียนว่าอะไรลองเข้าไปอ่านกันดูครับ รับรองว่าข้อมูลแบบฉบับเต็มนี่ได้ความรู้เรื่องประกันสังคมอย่างครบถ้วนเลย เพราะเป็นข้อมูลดิบไม่ถูกเปลี่ยนแปลงอะไร ถือว่าชัดเจนที่สุด แล้ววันหน้ากลับมาพบกับเรื่องราวน่าสนใจแบบนี้กันได้อีกครับ 🤗 .. บทความน่าสนใจ เช็กเลย! ลงทะเบียนบัตรคนจน รายได้ห้ามเกินเท่าไหร่ถึงได้สิทธิ เช็คสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ได้เงินแล้ว “ไม่จ่ายต่อ” ต้องทำอย่างไร? ลิงก์แบบฟอร์ม “ทบทวนสิทธิ” www.sso.go.th มาตรา40 ตรวจสอบสิทธิตกหล่น ไม่พลาดเงินเยียวยา 5 พัน ยื่นทบทวนสิทธิ ม.40 ผ่านโทรศัพท์ พร้อมเทคนิคโทร 1506 อย่างไรให้ติดง่าย ประกันสังคมมาตรา 40 เลือกจ่ายแบบไหนเหมาะกับเรา คุ้มไหม? สมัคร ม.40 เพื่อรับเงินเยียวยา 5,000 ตอบทุกข้อสงสัย ฉบับเข้าใจง่าย ภาพประกอบโดย ภาพปก Pixabay FiveFlowersForFamilyFirst : สมาร์ทโฟน , ภาพในสมาร์ทโฟน : สำนักงานประกันสังคม / ภาพที่ 1 : สำนักงานประกันสังคม / Pixabay ChrisFiedler : พื้นหลัง / ภาพที่ 2 - ภาพที่ 3 / ภาพที่ 3 : พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ / ภาพที่ 4 : สำนักงานประกันสังคม เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !