ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่สายเข้าวัดตัวจริงนะคะ แค่รู้สึกว่าอยากจะลองทำบุญ ปฏิบัติธรรม ฟังเทศน์ฟังธรรม หรือเอาตัวเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สงบๆสบายใจ เข้าไปให้มากขึ้นจากการเข้าวัดไปจุดธูปขอพรที่เคยทำมาตลอดนะคะ สถานที่ที่วันนี้จะมาแนะนำคือสวนโมกข์กรุงเทพ อยู่ใกล้ๆกับสวนรถไฟที่จัดงานวิ่งบ่อยๆแถวจตุจักรค่ะ สามารถจอดรถได้ที่สวนรถไฟแล้วเดินมา เสียค่าบริการ ๒๐ บาท/วัน ที่นี่จะใช้หลักคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นหลักในการเผยแพร่ศาสนาพุทธ โดยเน้นในเรื่องของการก่อให้เกิดปัญญา มีสติรู้เท่าทัน บริเวณในสวนโมกข์จะมีลักษณะร่มรื่น สงบ อากาศถ่ายเทได้ดี มีลมพัดโปร่งสบาย มีน้ำกว้างๆให้ทอดสายตา เสียงนกเคล้า มีปลาให้มอง มีต้นไม้ร่มรื่น เป็นสถานที่ที่แค่เข้ามานั่งเล่นก็สบายใจแล้วโดยรวมของสวนโมกข์จะพยายามทำให้ธรรมะเข้าถึงวัยรุ่นได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่ตกแต่งให้ดูมีความฮิปๆ หรือ co-working space ให้เข้ามาอ่านหนังสือ ทำงานได้อย่างสงบ ห้องน้ำสะอาดและเพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ก็จะมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดเวิร์คชอป งานดนตรีสบายๆ และที่มีเป็นประจำทุกเดือนก็คือ ตักบาตรเดือนเกิดงานตักบาตรเดือนเกิด จะมีทุกวันอาทิตย์แรกของแต่ละเดือน สามารถเข้ามาร่วมงานได้เลย ไม่ต้องลงทะเบียน และไม่ต้องเกิดในเดือนนั้นก็ได้ สามารถเตรียมอาหารคาวหวานไปร่วมตักบาตรได้เลย หรือถ้าเตรียมไม่ทันด้านหน้ามีปิ่นโตขายอยู่ จะซื้อตรงนั้นมาร่วมบุญก็ได้ค่ะ แต่มีจำนวนไม่มากนักนะคะ ถ้าสนใจปิ่นโตแนะนำให้มาไม่เกิน ๘ โมงเช้าค่ะ สำหรับใครที่สนใจอยากเป็นเจ้าภาพสามารถติดต่อทางสวนโมกข์ล่วงหน้าได้เลย ฝ่ายกิจกรรม สวนโมกข์กรุงเทพ โทร. ๐๒ ๙๓๖ ๒๘๐๐ ต่อ ๗๑๑๒ ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. ทุกวัน อีเมล : info@bia.or.thชาวเราจะมาถึงที่งานประมาณ ๘ โมงนิดๆ เตรียมจัดวางอาหารและของหวานต่างๆให้เรียบร้อย พระภิกษุจำนวน ๙ รูปจะมาถึงที่หน้างานประมาณ ๙ โมงเช้า จากนั้นก็มีการฟังเทศน์เล็กน้อยจากพระภิกษุสงฆ์เพื่อปรับจิตใจให้สงบ โดยพระจะได้รับการนิมนต์สลับวัดกันไปในแต่ละเดือนนะคะ ต่อไปจะเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติตนโดยสังเขป เพื่อให้เพื่อนๆเตรียมตัวได้อย่างสะดวกนะคะเมื่อมาถึงที่งานให้ถอดรองเท้าไว้ในบริเวณที่จัดไว้ให้ ใส่รองเท้าธรรมดามาก็ดีนะคะ คนมางานกันเยอะ บางทีอาจจะมีการใส่สลับไปแล้วจะเสียอารมณ์กันเปล่าๆเนอะนำอาหารที่เตรียมมาไปจัดไว้ที่โต๊ะที่งานเตรียมไว้ให้ โดยโต๊ะจะมีแบ่งเป็นอาหารธรรมดาและอาหารมังสวิรัติไว้ เราก็จัดวางให้ถูกโต๊ะ ถ้าเห็นว่ามีอาหารชนิดเดียวกันอยู่แล้ว เราสามารถเทรวมเข้าไปด้วยได้เลยนะคะ ส่วนอาหารแห้งหรือน้ำดื่มก็จะมีโซนให้ไปวางอีกโซนนึงค่ะ อย่าลืมเก็บข้าวสวยไว้กับตัวประมาณ ๙-๑๐ ช้อนโต๊ะ เพื่อเอาไว้ใส่บาตรพระกันด้วยนะคะหยิบหนังสือสวดมนต์สีเหลืองอ่อนที่วางไว้ในกล่องใหญ่ๆข้างหน้าทางเข้ามาสำหรับใช้สวดมนต์ในงาน โดยผู้นำจะบอกเราเองค่ะว่าต่อไปจะใช้บทสวดหน้าไหน หายห่วงค่ะว่าจะตามคนอื่นไม่ทัน เมื่อเสร็จสิ้นงานแล้วอย่าลืมเอาหนังสือสวดมนต์ไปคืนที่เดิมด้วยนะคะ (ดูแลหนังสือกันด้วยนะคะ จะได้ใช้ไปได้นานๆ)เตรียมหาโลเคชั่นที่เหมาะสมของแต่ละคน ในงานจะปูเสือยาวเตรียมไว้ให้อยู่แล้ว สามารถเข้าไปนั่งได้เลยค่ะ แต่ถ้ามีผู้สูงอายุหรือไม่สะดวกนั่งพื้น ที่งานก็มีเก้าอี้พลาสติกบริการอยู่นะคะ แต่สงวนสิทธิ์ไว้ให้คนที่จำเป็นดีกว่าเนอะ วัยรุ่นอย่างเราเข่ายังดี นั่งพื้นก็ได้ค่ะ สบายๆ ไม่จำเป็นต้องนั่งพับเพียบตลอดก็ได้นะคะ เอาตามสะดวกก็ได้ แต่ก็ต้องสำรวมนะคะภายในงานจัดในร่มนะคะ แต่อากาศก็ธรรมชาติๆ บางวันก็มีร้อนบ้างเย็นบ้าง แนะนำให้ใส่เสื้อผ้าสบายๆ ลุกนั่งสะดวก สาวๆเน้นเสื้อยาวหน่อย คอไม่ลึกก็ดีนะคะ จะได้กราบพระสบายๆไม่ต้องระวังอะไรมากเนอะเมื่อเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็ปฏิบัติตามผู้นำเลยค่ะ เค้าจะคอยบอกทีละขั้นตอนว่าจะสวดมนต์บทไหน กราบพระยังไงบ้างสำหรับช่วงใส่บาตร กรุ๊ปแรกจะเป็นเจ้าภาพตักบาตรเดือนเกิดและผู้ที่มีความจำเป็น เช่น ผู้สูงอายุ หลังจากนั้นชาวเราที่เหลือก็จะต่อคิวยาวไป ถ้าไม่ได้รีบอะไรนั่งสวดมนต์รอไปก่อนก็ได้นะคะ ค่อยๆทยอยไปก็ได้ค่ะเมื่อตักบาตรข้าวสวยเสร็จแล้วก็จะถวายภัตตาหารเพลต่อ โดยผู้นำจะขออาสาสมัครผู้ชายประมาณ 9-10 คน เพื่อประเคนอาหารโดยประเคนทั้งโต๊ะ และช่วยอุ้มบาตรพระตามแต่ละรูประหว่างที่พระสงฆ์พิจารณาอาหารระหว่างพระฉันอาหาร ชาวเราก็จะสวดมนต์ทำวัตรเช้าเมื่อพระฉันเสร็จ สวดมนต์รับพร แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศล กราบลาพระสงฆ์จากนั้นชาวเราก็นั่งกินข้าวก้นบาตรกันต่อ กินเยอะแค่ไหนก็ตามสะดวกเลยนะคะ ตักกันเองเป็นบุฟเฟ่ต์เลย 555 เราชอบหยิบนมกล่องกลับมาฝากพ่อแม่ที่บ้านด้วย ไว้กินเป็นมงคลๆ ใครใช้ภาชนะของที่งานอย่าลืมล้างให้สะอาดแล้วส่งคืนด้วยนะคะ แต่ถ้าเอาสะดวกก็เตรียมกล่องข้าวไปเองแล้วกลับมาล้างที่บ้านก็ได้ค่ะนอกจากกิจกรรมตักบาตรเดือนเกิดแล้ว ทางสวนโมกข์ยังมีกิจกรรมอื่นๆอีกมายมาย เพื่อนๆสามารถติดตามข่าวสารได้ที่Facebook : www.facebook.com/activitiessuanmokkhbkk/Website : http://www.bia.or.th/