ในการทำงานที่เราเคยรู้จักจะเห็นว่าวัฒนธรรมแนวคิดของคนญี่ปุ่นที่เน้นในเรื่องของความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างเข้มงวด เคารพผู้หลักผู้ใหญ่เป็นหลัก แทบจะตรงกันข้ามกับเยอรมันที่ไม่ได้เคร่งครัดมากขนาดนั้น ลาพักร้อนก็มีสิทธิ์ทำได้มากกว่า จำกัดการทำงานล่วงเวลาในแต่ละวัน เสร็จงานก่อนก็กลับบ้านไปหาครอบครัวได้ก่อน แต่เยอรมันกลับมี Productivity สูงกว่าคนญี่ปุ่น นี่แสดงให้เห็นว่าความยืดหยุ่นที่คนเยอรมันมีเป็นสิ่งสำคัญ ความยืดหยุ่นในที่นี้คือความพอดี ไม่ถึงขั้นสมบูรณ์แบบ มีการตัดเรื่องหยุมหยิมออกไปบ้าง ทำให้เยอรมันสร้างผลงานได้มากกว่า ทั้งที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า ซุมิตะ คัน ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เจตนาเชิดชูเยอรมันถึงขนาดนั้น แค่ต้องการนำประสบการณ์ที่ได้เจอที่เยอรมันมาปรับใช้กับคนญี่ปุ่น โดยเน้นเรื่อง Productivity เป็น 5 เรื่อง ได้แก่1.แนวคิดพื้นฐาน2.วิธีสื่อสาร3.วิธีบริหารเวลา4.การทำงานเป็นทีม5.การใช้ชีวิต ผลงานการแปลโดย ทินภาส พาหะนิชย์ ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ได้เรียนรู้ว่า Productivity คือการวัดประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งอาจหมายถึง เงิน งาน หรือผลลัพธ์อื่นๆก็ได้ ดังนั้น คนที่มี Productivity สูง ก็หมายความว่าเขาคนนั้นสามารถสร้างผลงานได้เท่ากับ 2-3 คน เป็นต้น ได้เรียนรู้ว่าความแตกต่างถึงแนวคิดเรื่องการปฏิบัติต่อพลเมืองแตกต่างกัน เยอรมันมองว่าพลเมืองคือแรงงาน จึงมีความสำคัญเรื่องสิทธิแรงงาน กำหนดชั่วโมงทำงานใน 1 วันอย่างเข้มงวด สร้างประเทศที่เป็นมิตรกับแรงงาน ส่วนคนญี่ปุ่นมองว่าพลเมืองคือผู้บริโภค จึงให้ความสำคัญเรื่องสิทธิผู้บริโภค จึงมีแนวคิดว่าลูกค้าคือพระเจ้า ทำงานเต็มที่เพื่อลูกค้าเป็นหลัก ได้เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นมีมุมมองว่าแรงงานเป็นสิ่งที่น่าเคารพและความขยันถือเป็นคุณธรรมอันดีงาม คนญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญกับการทำงานหนักมาก ถึงขนาดมีสุภาษิตกล่าวว่า คนไม่ทำงานไม่สมควรได้กินข้าว ได้เรียนรู้ว่าถ้าเราไปบอกให้ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นว่าตนเองทำงานหนักไป เราจะโดนสวนกลับมาว่า งั้นก็ลาออกไปสิ ไม่ต้องทนทำงานก็ได้ บริษัทนี้ต้องการคนขยัน แต่ถ้าเป็นคนเยอรมันรู้สึกว่าตนเองทำงาน พวกเขาจะไปหางานใหม่ทันที ไม่ทนฝืนทำงานอยู่ที่เดิม คนเยอรมันโดยพื้นฐานเป็นคนขยัน ทำงานที่ได้รับมอบหมายจนเสร็จ แต่จะไม่ฝืนกำลังไปมากกว่านั้น ได้เรียนรู้ว่าคนเยอรมันให้ความสำคัญกับการใช้เวลากับครอบครัว มากกว่าความสำเร็จของงาน ดังนั้น มีเวลามีงานด่วนเข้ามา พวกเขาจะไม่ทำงานล่วงเวลา สุดท้ายงานที่คนอื่นบอกว่าต้องทำทันทีก็ไม่ได้ด่วนขนาดนั้น แต่ถ้าเป็นงานที่ชี้เป็นชี้ตายก็อีกเรื่องหนึ่ง ส่วนคนญี่ปุ่นถ้าไม่ยอมทำงานล่วงเวลาก็อาจจะโดนสกัดการเลื่อนตำแหน่ง จึงต้องยอมทำงานล่วงเวลาโดยเห็นแก่ครอบครัวเรื่องฐานะ ทำให้คนญี่ปุ่นเลือกงานก่อนครอบครัว ได้เรียนรู้ว่าคนเยอรมันมีแนวคิดที่ฝังลึกว่าคนอื่นก็คือคนอื่น ฉันก็คือฉัน พวกเขาจึงภาคภูมิใจกับชีวิตของตัวเอง แม้จะเป็นเด็กเสิร์ฟกาแฟ แต่ก็หยิ่งในศักดิ์ศรี ถึงได้รับบริการที่แย่ก็ไม่ปริปากบ่น เพราะคิดว่าได้ให้บริการสมกับเงินที่จ่ายมา ถ้าอยากได้บริการที่ดีกว่านี้ก็ควรไปร้านที่หรูขึ้น คนเยอรมันมีมารยาทในแบบที่ยืดหยุ่น ไม่ได้บังคับกันมากมาย แต่คนญี่ปุ่นกลับถูกบังคับให้มีมารยาทจนอึดอัดมากเลยทีเดียว ได้เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นเชื่อว่าถ้าทำตัวเด่นจะเป็นภัย แต่คนเยอรมันคิดว่าถ้าไม่ทำตัวเด่นก็จะไม่มีใครเห็นค่า ได้เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นมักตะขิดตะขวงใจกับคำว่าผู้ชายเลี้ยงลูก แต่คนเยอรมันมองว่าผู้ชายเลี้ยงลูกเป็นเรื่องธรรมดา พวกเขาไปรับส่งลูก สอนการบ้านลูกในช่วงที่ภรรยาออกไปทำงานก็เป็นเรื่องปกติ ได้เรียนรู้ว่าบริษัทในเยอรมัน แม้พนักงานจะกลับบ้านเร็วหรือ Work from home ก็ไม่มีใครคิดว่าโกง เพราะว่าตราบที่เขาทำงานเก่ง บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด ไม่ว่าจะทำงานแบบไหนก็เป็นเรื่องของเขา อีกทั้งสำหรับคนเยอรมันจะมองว่าการเปลี่ยนงานเพื่อตำแหน่งที่สูงกว่าก็เป็นเรื่องปกติ แทนที่จะตั้งเป้าอยู่กับการเลื่อนตำแหน่งภายในบริษัทที่ตนกำลังทำอยู่ ได้เรียนรู้ว่าโรงเรียนในเยอรมันจะสอนการเรียนในตอนเช้า ตอนบ่ายเด็กสามารถทำสิ่งที่ชอบอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเล่นกีฬาหรืออ่านหนังสือที่ตนชอบ ระบบการศึกษาแบบนี้จะช่วยปลูกฝังให้เด็กคิดเอง ทำเองเป็น เรียกได้ว่า เข้มงวดในเรื่องที่ควรเข้มงวด แต่ก็รู้จักยืดหยุ่น ได้เรียนรู้ว่าถ้าคนเยอรมันไม่รู้ ก็บอกว่าไม่รู้ และถามตรงๆทันที ส่วนคนญี่ปุ่นจะลังเลว่าการถามจะเป็นการรบกวนเขามั้ย คนอื่นจะมองว่าเราทำงานไม่เป็นหรือเปล่า แท้ที่จริงแล้วแค่ถามกลับว่าด่วนที่สุดคือเมื่อไหร่ พรุ่งนี้ได้มั้ย เป็น 2-3 วันจะได้หรือเปล่า เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเดาใจกันเองอีก นอกจากนี้พนักงานในบริษัทเยอรมันทำงานผิดพลาด หัวหน้าก็จะไม่ตำหนิหรือหาคนทำผิด ไม่มีคำถามทำนองว่าทำไม่ถึงทำไม่ได้ ? แต่เป็นต้องทำอย่างไรถึงจะทำได้ ? ขณะที่คนญี่ปุ่นต้องพยายามหาเหตุผลที่ทำผิดพลาด ทำไม่ได้มารองรับก่อนจะหาวิธีรับมือแก้ปัญหา ทั้งนี้หากเกิดเรื่องผิดพลาดแล้วมีคนรายงานให้ทราบ ต้องขอบคุณเขาด้วย ไม่อย่างนั้นจะไม่มีใครกล้ารายงานเรื่องที่ไม่ดี งานที่หลุดออกไปก็จะทำให้ลูกค้าเสียความเชื่อมั่น ได้เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นที่ทำงานได้นานหลายชั่วโมง ยุ่งมาก จะมีภาพลักษณ์ที่น่านับถือ หากยอมสละเวลาส่วนตัวทำงานล่วงเวลาถือเป็นพฤติกรรมที่น่ายกย่อง ตรงข้ามกับคนยุโรปมองว่าคนประเภทนี้ไร้ความสามารถถึงต้องทำงานล่วงเวลาแบบนี้ ได้เรียนรู้ว่าคนญี่ปุ่นยอมสละเวลาส่วนตัวเพื่อหาความรู้เพิ่ม เพราะอยากเพิ่ม Productivity ในการทำงาน แต่คนเยอรมันรู้จักแบ่งเวลาทำงานให้เต็มที่ พักก็ต้องพักได้เต็มที่ วิธีนี้ถึงช่วยเพิ่ม Productivity ได้อย่างแท้จริง ทั้งญี่ปุ่นและเยอรมันต่างก็เป็นฝ่ายที่แพ้จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งต้องพยายามอย่างสุดความสามารถจนฟื้นฟูเศรษฐกิจได้สำเร็จ ถึงกระนั้นญี่ปุ่นก็เริ่มแตกต่างจากเยอรมันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซูมิตะ คัน คงไม่อยากให้ญี่ปุ่นหลงทางไปมากกว่านี้จึงแนะแนวการบริหารจัดการเช่นนี้ขึ้น แต่ทั้งนี้ครีเอเตอร์ก็เข้าใจว่าเราต้องสมดุลทั้งเรื่องของการทำงานและการพักผ่อนให้ได้อย่างสมดุล การฝืนหรือหักโหมอย่างสุดโต่งจะไม่เป็นผลดีในระยะยาว แม้ช่วงแรกจะดูเหมือนว่า Productivity จะสูงขึ้นจริงก็ตามครีเอเตอร์มองว่ามีความสำคัญสำหรับคนทำงานด้านบริหาร เครดิตภาพภาพปก โดย ArthurHidden จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย freepik จาก freepik.com ภาพที่ 4 โดย freepik จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ How to Make Work not Suck เมื่อเส้นทางการทำงานโรยไปด้วยเปลือกทุเรียนรีวิวหนังสือ ทำงานยังไงให้คุณมีมูลค่าสูงสุดในองค์กร รีวิวหนังสือ ความลับของที่ทำงาน ตอน ฉันต้องอยู่ได้และอยู่รอดรีวิวหนังสือ คนเก่งเขาก็ทำงานให้ง่ายแบบนี้แหละรีวิวหนังสือ เปลี่ยนแปลงได้ก่อน มีโอกาสมากกว่า เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !