ประเทศไทยเรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของ LGBTQ และมักถูกมองว่าเป็นประเทศที่เปิดกว้างให้กับกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน...แต่ในความเป็นจริง โลกยังมีอีกหลายประเทศที่การรักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และรุนแรงไปจนถึงขั้นประหารชีวิต นิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ จึงเป็นเครื่องสะท้อนการไตร่ถามถึงสถานการณ์ความหลากหลายทางเพศว่า ในความจริงแล้ว โลกพร้อมหรือยังที่จะเปิดรับตัวตนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ “ถ้าเราผลักดันความหลากหลายทางเพศสำเร็จ ข่าว LGBT จะหายไป จนแทบหาอ่านไม่ได้ นักข่าวก็ไม่จำเป็นต้องมาสัมภาษณ์ คนหลากหลายทางเพศก็ไม่จำเป็นต้องออกมาต่อสู้ เพราะทุกคนเท่าเทียมกันหมด ทุกคนเป็นคนเหมือนกัน” หนึ่งในถ้อยคำการให้สัมภาษณ์ของคุณกิตตินันท์ ธรมธัช นายกสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย สะท้อนภาพความจริงในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี และทำให้นิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ ไตร่ถาม: ความหลากหลายในอุษาคเนย์ (SPECTROSYNTHESIS II Exposure of Tolerance: LGBTQ in Southeast Asia) ได้ทำหน้าที่บอกเล่าถึงความแตกต่างทางเพศสภาพของแต่ละคนในแต่ละช่วงวัยถึงเรื่องราวของความขัดแย้ง ประสบการณ์ที่ LGBTQ ต้องเผชิญ ผ่านการนำเสนอจากศิลปิน 58 ท่านจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงจีนและอินเดีย สนทนาสัปตสนธิ มาจากภาษาบาหลี-สันสกฤต โดยคำว่า 'สัปต' ที่หมายความว่า เจ็ด และคำว่า 'สนธิ' ที่หมายความว่า เชื่อม ซึ่งคำว่า เจ็ด ในที่นี้เป็นการสื่อถึงสัญลักษณ์สายรุ้งที่มีเจ็ดสี อันเป็นเครื่องหมายแทนความหลากหลายทางเพศของกลุ่ม LGBTQ และเป็นที่มาของชื่อนิทรรศการแห่งนี้ในภาษาไทย นิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ ต้องการสื่อให้เห็นถึงชีวิตของ LGBTQ การก้าวผ่านอคติของสังคม และเปิดประตูสู่การยอมรับของครอบครัวที่แตกต่างกันตามความเชื่อของในแต่ละประเทศ หรือความพร้อมในการเปิดรับ ขนบธรรมเนียมประเพณี รวมไปถึงวัฒนธรรมที่มีมาแต่อดีต สะท้อนออกมาผ่านศิลปะที่ออกแบบโดยศิลปินมากหน้าหลายตา โดยในบทความนี้จะหยิบยกเพียงบางตัวอย่างที่สื่อถึงนิทรรศการมานำเสนอ อย่างไรก็ตาม นิทรรศการนี้นำเสนอผลงานศิลปะ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง และการใช้สัญลักษณ์ทางเพศ ทางสังคม และการเมือง โปรดใช้วิจารณญาณในการเข้าชม และในการแนะนำต่อเด็กและเยาวชน Potrait of Man in Habit หนึ่งในผลงานที่ทำให้คนไทยฉุกคิดและถกเถียงกันต่ออันได้ปรากฎแก่สายตาของประชาชนผ่านสื่อต่างๆ หลังจากงานเปิดตัวนิทรรศการได้แก่ผลงานภาพถ่ายของไมเคิล เชาวนาศัย (Michael Shaowanasai) ศิลปินชาวไทยวัย 55 ปีที่ถ่ายถอดภาพถ่ายของตนเองที่แต่งกายเลียนแบบพระภิกษุแต่งหน้าทาปาก ในมือกุมผ้าที่เข้าใจได้ว่าเป็นผ้ารับประเคนมีลวดลายน่ารัก โดยมีชื่อผลงานว่า Potrait of Man in Habit #1 (2546) ไมเคิลได้ให้คำอธิบายถึงผลงานชิ้นนี้เอาไว้ว่า “ในฐานะที่ผมเป็นทั้งพุทธศาสนิกชน และชายรักร่วมเพศโดยกำเนิด ผมเชื่อว่าเรามีสิทธิที่จะตั้งคำถาม และควรต้องตั้งคำถามต่อคำถามที่เราถูกสั่งให้ตอบ เพราะสิทธินี้เองที่ทำให้เราแตกต่างออกไปจากสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ” ภาพที่สะท้อนออกมาอาจแทงใจพุทธศาสนิกชนหลายคน ทั้งนี้หลังจากการเผยแพร่ครั้งแรกได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในด้านลบจากกลุ่มพระภิกษุและกลุ่มอนุรักษ์นิยม และมีการเรียกร้องให้ถอดภาพชิ้นนี้ออกไปจนถึงต้องการให้ทำลายภาพดังกล่าวทิ้ง อย่างไรก็ตาม ไมเคิล ได้แต่เพียงม้วนภาพผลงานของตนเองเก็บไว้ และผลิตภาพใหม่ขึ้นมา เป็นภาพของชายสวมเสื้อคลุมสีเหลืองอมส้มที่พึ่งลาสึกใหม่ๆ โดยตั้งชื่อว่า Potrait of Man in Habit #2 (2546) เพื่อสื่อถึงความหมายเดิมที่ต้องการจะสื่อออกไปด้วยภาพถ่ายที่คล้ายคลึงกัน 5 ช่วงเวลาของการเปิดเผยตนเองโดย ซีหยาตี้ ผลงานชุดนี้เป็นของศิลปินชาวจีนวัย 56 ปี 'ซีหยาตี้' ได้ถ่ายทอดเรื่องราวในช่วงต่างๆ ของชีวิตตนเองผ่าน 5 ภาพวาด โดยเริ่มจาก Door (Sewing Theme) (2560) ที่สื่อถึงช่วงเวลาอันเจ็บปวดจากการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนเกิดเป็นความคิดที่เขาอยากจะทำลายอวัยวะเพศของตนเองเพื่อหนีจากความทรมาน ถัดมาเป็นภาพที่มีชื่อว่า Door (Inside Outside) (2560) และ Door (Action Indoors) (2558) เป็นภาพที่สะท้อนถึงการเก็บซ่อนตัวตนที่แท้จริง เนื่องจากถูกบีบบังคับให้แต่งงานกับเพศตรงข้าม โดยซีหยาตี้ต้องใช้ชีวิตของการเป็นรักร่วมเพศแบบหลบซ่อน Train (2560) และ Joy (2558) สื่อถึงการค้นพบอัตลักษณ์ของตนเอง และเกิดการยอมรับที่ชื่นชอบในความสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และถือเป็นการปลดปล่อยตัวตนที่แท้จริงของศิลปิน จากผลงานของซีหยาตี้นี้ ได้สอดคล้องกับงานศึกษาของภาคภูมิ เดชะอนันต์วงศ์ (2555) เรื่อง การยอมรับตนเองด้านความโน้มเอียงทางเพศของชายรักชายที่ได้วิเคราะห์ประสบการณ์การยอมรับความเป็นเกย์เอาไว้ ผ่าน 6 กระบวนการได้แก่การเริ่มสัมผัสรสนิยมทางเพศแบบเกย์ของตนเอง ในขั้นตอนนี้จะเริ่มสับสน เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงความเป็นเกย์ และพยายามปฏิเสธว่าตนเองไม่ใช่เกย์ ดังภาพ Sewing Theme ที่ซีหยาตี้ ทนทุกข์ทรมานกับเพศสภาพของตนการก้าวไปสู่ความชัดเจนในการเป็นเกย์ของตนเอง เป็นขั้นตอนที่ต้องเผชิญกับความเกี่ยวข้องของการเป็นเกย์ ดังภาพ Inside Outside และ Action Indoors ที่ทำให้ซีหยาตี้ต้องแต่งงานและชัดเจนว่าตนไม่ได้ชอบผู้หญิง ไม่สามารถใช้ชีวิตเฉกเช่นสามี ภรรยาร่วมกับผู้หญิงได้การยอมรับอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง เมื่อผ่านประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเกย์มากขึ้นก็จะเกิดการยอมรับ และเข้าใจในตนเอง ดังภาพ Train ที่ซีหยาตี้ได้ยอมรับเพศสภาพของตนเอง เดินทางสู่โลกของชายรักชายการเปิดเผยอัตลักษณ์ทางเพศแบบเกย์ เมื่อยอมรับตนเองก็เริ่มต้องการให้ครอบครัว สังคม เพื่อน ยอมรับในความเป็นเกย์ของตนเอง และเริ่มเปิดเผยให้รับรู้ การใช้ชีวิตของเกย์ ในมุมมองของซีหยาตี้สะท้อนการใช้ชีวิตผ่านภาพ Joy เพราะเมื่อสังคมรอบข้างยอมรับ ซีหยาตี้ก็สามารถใช้ชีวิตในแบบของเกย์ได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องทนปิดบังหรือใช้ชีวิตในเงามืดอีกต่อไปการเกิดบูรณาภาพของบุคลิกภาพ คือปัจจุบันของซีหยาตี้ที่กลายเป็นศิลปินที่สามารถถ่ายทอดศิลปะออกมาสะท้อนความเป็นตัวตน เนื่องจากเกย์ที่ใช้ชีวิตแบบเปิดเผยจะ รู้สึกสบายใจที่ได้เป็นตัวของตัวเอง ค้นพบความต้องการที่แท้จริง มีความสุข มีความทระนงในความเป็นเกย์ และไม่พยายามเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวจริงของตัวเอง Welcome To My World, ‘Tee’ อีกหนึ่งผลงานที่ถือที่แสดงถึงการเปิดเผยเรื่องราวประสบการณ์ส่วนตัวได้แก่ผลงานที่มีชื่อว่า Welcome To My World, ‘Tee’ (2562) เป็นผลงานของอริญชย์ รุ่งแจ้ง ศิลปินชาวไทยวัย 44 ปี กับวิดีโอของหญิงข้ามเพศที่เขารู้จักในนามว่า “ตี๋” ศิลปะในรูปแบบวิดีโอที่ถูกถ่ายทอดบนจอขนาดใหญ่จำนวน 5 จอในห้องที่มืดสนิท เป็นเรื่องราวที่คุณอริญชย์ต้องการถ่ายทอดถึงการผันชีวิตของตนเองเข้าสู่เส้นทางของศิลปินผู้เป็นมิตรแท้ และต่อสู้เพื่อสิทธิอันเท่าเทียมในการแสดงอัตลักษณ์ของตนในกลุ่ม LGBTQ โดยได้รับผลกระทบทางจิตใจจากการฆ่าตัวตายของ “ตี๋” บุคคลอันเป็นที่เคารพในวัยเยาว์ของศิลปิน ภาพเคลื่อนไหวของ 'กะเทย' ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นศิลปะเรือนร่าง นำเสนอเรื่องราวอุดมคติ เพศ และสรีระร่างกาย แสดงให้เห็นถึงช่องว่างทางสังคมที่แบ่งแยกบุคคลตามเพศที่ปรากฎ แม้ว่าใบหน้าและเรือนร่างจะเป็นผู้หญิง แต่อวัยวะเพศที่ปรากฎกลับเป็นชายก็สื่อถึงความหมายหลายๆ อย่างให้กับผู้เข้าชม Horizon กิตติ นารอด ศิลปินชาวไทยวัย 43 ผู้สร้างผลงานภาพที่มักจะแสดงออกถึงการมองโลกในแง่บวก แต่ผลงานชิ้นนี้เป็นเครื่องตอกย้ำให้เราได้เข้าใจคุณค่าของความสุขเล็กๆ ถือเป็นภาพสุดท้ายของบทความนี้ดังที่ กิตติ กล่าวว่า “ผลงานของเขาเป็นเหมือนจุดนัดพบของผู้คนที่หลากหลาย โดยทุกคนมีความเท่าเทียมกันทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณ” อันเป็นการบรรลุเป้าประสงค์ของนิทรรศการที่ต้องการจะสื่อถึงความเสมอภาค ความเท่าเทียมของคนหลากหลายทางเพศทุกวัยที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้เส้นขอบฟ้าเดียวกัน ดังชื่อภาพ “Horizon” (2562) เมื่อพูดถึงความหลากหลายทางเพศ หลายคนจะเข้าใจว่าคือกลุ่มคนที่มีรสนิยมชอบเพศเดียวกัน เช่น เกย์ ไบเซ็กชวล เลสเบี้ยน เป็นต้น แต่ในความจริงแล้วเพศชายและเพศหญิงก็ถือว่าอยู่ในความหลากหลายทางเพศเช่นกัน เพราะทุกคนคือมนุษย์ คือคนที่มีเพศที่แตกต่างกันจึงเรียกได้ว่าเพศชายและหญิงก็เป็นหนึ่งในเพศที่หลากหลาย หรืออยู่ในความหลากหลายทางเพศ นิทรรศการ สนทนาสัปตสนธิ ๒ เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเดินทางหมุนเวียน โดยมูลนิธิซันไพรด์ (Sunpride Foundation) จัดขึ้นครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย (Museum of Contemporary Art) กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เมื่อปี 2560 และจัดที่ประเทศไทยเป็นแห่งที่ 2 ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงความเท่าเทียมทางเพศ ชวนให้รับรู้เรื่องราวจากหลากหลายมุมมองผ่านศิลปะที่สะท้อนออกมาในรูปแบบต่างๆ ของศิลปินทั้งหมด 58 ท่าน ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมได้ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ชั้น 7 และ 8 ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562 ไปจนถึง 1 มีนาคม 2563 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bacc.or.th หรือ http://sunpride.hkติดตามผลงานจาก ปรภ ไม่ใช่ รปภ ได้ที่Porraphat.comblockdit TrueID