ทวารวดีเป็นอาณาจักรแรกเริ่มของพื้นที่ในเขตประเทศไทยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาณาจักรทวารวดีเกิดขึ้นมาได้เพราะได้รับอารยธรรมและแบบแผนทางศาสนา แนวคิด คติ ความเชื่อ มาจากถิ่นอื่นที่มีอารยธรรมที่สูงกว่าคืออินเดีย โดยกมีปัจจัยที่สำคัญคือการขยายตลาดทางการค้าทำให้มีความจำเป็นต้องเดินเรือไปค้าขายยังดินแดนอื่น แต่สิ่งที่มาพร้อมกับสินค้าคือ วัฒนธรรม เพราะในเรือสินค้านอกจากตัวของพ่อค้าที่มีเรื่องของประเพณีความเชื่อแนวคิดอยู่แล้ว ยังมีนักบวชในศาสนาพุทธและพราหมณ์ อีกทั้งตัวสินค้าที่มากับเรือก็มีรูปแบบและสัญลักษณ์ ต่าง ๆ ที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอินเดีย เมื่อสิ่งเหล่านี้ได้เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเขตแผ่นดินใหญ่ทำให้เป็นจุดเริ่มต้นหรือเป็นปัจจัยที่ทำให้ก่อเกิดอาณาจักรทวารวดี สิ่งที่อาณาจักรทวารวดีรับมาจากอินเดียที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดคือ ด้านภาษาและอักษรศาสตร์ ในด้านภาษาทวารวดีได้รับภาษาสันสกฤตและภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจะใช้กับศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ส่วนภาษาบาลีให้กับพระพุทธศาสนาในฝ่ายหินยานหรือที่เรารู้จักคือเถรวาทเป็นนิกายที่นิยมนับถือกันมากในอาณาจักร ส่วนอักษรศาสตร์นั้นอาณาจักรทวารวดีใช้อักษรปัลลวะเป็นอักษรของอินเดียใต้ราชวงศ์ปัลลวะ อักษรมีลักษณะตัวมนกลมหางยาวและต่อมาหลังพุทธศตวรรษที่ 13 ลักษณะของอักษรได้ถูกดัดแปลงตัดหางให้สั้นลงเรียกว่าอักษรหลังปัลลวะ ด้านศาสนา ศาสนาที่ทวารวดีได้รับมาจากอินเดีย คือ พระพุทธศาสนานิการหินยานหรือเถรวาท เป็นพระพุทธศานาที่ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในระดับชนชั้นผู้ปกครองตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป ประติมากรรมและสถาปัตยกรรมที่สำรวจและขุดค้นพบจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนานิกายหินยานโดยส่วนใหญ่ แต่พระพุทธศาสนานิกายมหายานไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนักในอาณาจัร ส่วนศาสนาพราหมณ์ฮินดู เป็นที่นับถือกันทั้งในชนชันผู้ปกครองและประชนชน มีการค้นพบประติมากรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนานี้ แต่โดยมากแล้วศาสนาพราหมณ์ฮินดูจะอิงอยู่กับชนชั้นปกครองโดยเฉพาะกษัตริย์เป็นหลักเพราะมีหลักความเชื่อในเรื่องเทวราชา ในด้านศิลปะกรรม อาณาจักรทวารวดีได้รับรูปแบบศิลปะกรรมมาจากอินเดียโดยมีพื้นฐานทางศาสนาเป็นพื้นฐานมี 1. พระพุทธศาสนาตัวอย่าง การสร้างสถูปหรือเจดีย์ซึ่งลักษณะของสถูปในสมัยทวารวดีนี้มีลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปเช่น ฐานสถูปกว้าง มีการย่อมุม ก่อด้วยอิฐ เป็นต้น พระพุทธรูปลักษณ์ของพระพุทธรูปในสมัยทวารวดีจะมีลักษณะโดยทั้วไปเช่น มีพระเนตรโปน ขมวดพระเกศาใหญ่ ลำตัวหนา เป็นต้น ด้านศาสนาพราหมณ์ฮินดู หลักฐานที่เห็นได้ชัดโดยส่วนมากจะเป็นประติมากรรมเช่น พระศิวะ จุดเด่นคือพระเกศาที่มัดรวบ พระนารายณ์ จุดเด่นคือสวมมงกุฎ พระพรหม ไม่เด่นชัดในยุคสมัยนี้ เป็นต้น ความเป็นทวารวดีไม่ได้เพียงแค่อยู่ขอบเขตของภาคกลางของประเทศไทยเท่านั้น อาณาจักรนี้ยังได้เผยแพร่ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ อย่างเช่นเมืองโคราช แต่อิทธิพลที่แผ่เข้ามานั้นไม่พบหลักฐานเลยว่าทวารวดีไม่ได้ใช้กองทัพเพื่อการขยายดินแดน พบแต่เพียงหลักฐานทางศิลปะกรรมที่เข้ามาในเขนเมืองโคราช โดยพบหลักฐานที่เป็นเส้นทางอารยธรรมที่วัดถ่ำโพธิสัตว์จังหวัดสระบุรี มีหลักฐานเป็นศิลปะกรรมนูนต่ำรูปพระพุทธเจ้าและมีเทพในศาสนาพราหมณ์ฮินดู อย่างพระศิวะ พระนารายณ์ พระพรหม และนางอัปสร เข้ามาฟังธรรม ต่อมาในเขตโคราชค้นพบหลักฐานที่อำเภอปากช่องวัดจันทึก พระพุทธรูปตรงส่วนฐานมีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤตช่วงพุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์ของอาณาจักรทวารวดีมีรับสั่งให้พระธิดาสร้างพระพุทธรูปนี้ไว้ ในเขตอำเภอสูงเนินมีหลักฐานอยู่ที่วัดพระนอนคือ พระนอนที่สกัดจากหินทรายสร้างในสมัยทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พื้นที่รอบ ๆ พระนอนยังมีฐานสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีอยู่นั้นหมายความว่าพื้นที่ประดิษฐานพระนอนนั้นเคยเป็นวิหารมาก่อน หลักฐานที่วัดไม้เสี้ยวในอำเภอปักธงชัย วัดนี้คนพบใบเสมาสมัยทวารวดี ลักษณะของใบเสมาสมัยทวารวดีนี้เป็นใบเสมาขนาดใหญ่ทำจากหินทราย ที่สำคัญใบเสมาที่พบในวัดนี้มีลวดลายสลักนูนต่าเป็นรูปคล้ายกงจักร การค้นพบจารึกสมัยทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษ์ที่ 13 บ้านพันดุง อำเภอขามทะเลสอ ในจารึกกล่าวถึง การบูชาพระศิวะ การสร้างเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ การถวายของ ผู้คน และนักบวช ที่จะมาดูแลศาสนสถานแห่งนี้ กล่าวถึงการปฏิบัติตนของพราหมณ์ และบอกปีที่สร้าง สิ่งที่กล่าวานี้เป็นเพียงแค่การยกตัวอย่างเท่านั้น อย่างในตัวเมืองโคราชเองวัดเก่าที่สร้างในสมัยอยุธยาบางวัดก็มีพระพุทธรูปเก่าในสมัยอาณาจักรทวารวดีประดิษฐานอยู่ก็มี อาณาจักรทวารวดีไม่ได้สิ้นสุดแค่เมืองโคราชเพียงเท่านี้ พอพ้นจากเมืองโคราชไปแล้วในจังหวัดอื่น ๆ ก็ยังมีการกระจายตัวของหลักฐานอยู่อีกมากอย่างเช่นที่จังหวัดอุดรธานี วัดโพธิ์ ในเขตตัวเมืองภายในพระอุโบสถมีใบเสมาสมัยทวารวดีอยู่หลายใบ และยังมีภาสลักนูนต่ำเป็นสัญลักษณ์อีกด้วย ที่อื่น ๆ ในเขตอีสานก็มีอีกมาก ลองศึกษาดูนะครับผม ภาพถ่ายโดย พงศธร อิ่มอุดม ผู้เขียนบทความ