'หัวเว่ย' ชู 4 ข้อความสำเร็จกับพันธมิตรทั่วโลก
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน
จากการถ่ายทอดสดงานสัมนาระดับโลก Industrial Digital Transformation Conference 2020 กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ประกาศกลยุทธ์การพัฒนาพาร์ทเนอร์ธุรกิจในชื่อว่า การสร้างผลกำไร, การสร้างความเรียบง่าย, การเพิ่มขีดความสามารถ, และอีโคซิสเต็มส์ โดยกลยุทธ์ดังกล่าวจะทำให้กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ไปด้วยกันทุกฝ่าย
ในงานอีเวนท์ดังกล่าว นายแฟรงค์ เชน ซูหลง รองประธานของส่วนพาร์ทเนอร์และพันธมิตร ได้ให้รายละเอียดว่า ในปี 2563 อีโคซิสเต็มส์พาร์ทเนอร์แบบใหม่ของกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะประกอบไปด้วยพาร์ทเนอร์ 7 รูปแบบ ได้แก่ พาร์ทเนอร์ด้านการขาย, พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชัน, พาร์ทเนอร์ด้านการบริการ, พาร์ทเนอร์ด้านการลงทุน การปฏิบัติการ และการเงิน, พันธมิตรด้านทักษะ, พาร์ทเนอร์ด้านสังคม, และพาร์ทเนอร์ในภาคอุตสาหกรรม โดยกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะพัฒนาต่อยอดอีโคซิสเต็มส์สำหรับพาร์ทเนอร์ทั้งเจ็ดรูปแบบดังกล่าว ด้วยวิธีให้การสนับสนุนเพิ่มเติมในด้านต่อไปนี้:
การสร้างผลกำไร
ในปี 2562 กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้ยกเลิกเกณฑ์การได้รับเงินคืนโดยอิงจากยอดขายซึ่งหมายความว่าพาร์ทเนอร์จะได้รับผลตอบแทนตามรายได้ที่พวกเขาสามารถทำได้จริง ในปี 2563 นี้ กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะยังคงใช้แนวทางส่งเสริมเพื่อกระตุ้นพาร์ทเนอร์ในช่องทางต่างๆ อีกทั้งจะขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่มีปัจจัยส่งเสริมการขายสำหรับพาร์ทเนอร์ ซึ่งจะรวมไปถึงซอฟต์แวร์แบบ standalone ด้วย นอกจากนี้ หัวเว่ยจะเพิ่มความหลากหลายของปัจจัยการส่งเสริมการขายแบบพิเศษให้มากขึ้น อย่างเช่น ด้านความสามารถในการลดราคา และด้านการทำโปรแกรมส่งเสริมการทำธุรกิจ (BIP) ซึ่งจะนำเสนอแก่พาร์ทเนอร์เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาทำยอดได้ตามเป้าหมายที่สูงขึ้นกว่าเดิม
การสร้างความเรียบง่าย
กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ยังคงทำให้นโยบายและกระบวนการดำเนินงานต่างๆ ง่ายขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนโยบายเกี่ยวกับพาร์ทเนอร์ในตอนนี้จะไม่เพียงจดจำได้ง่ายและเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม แต่ยังสามารถนำไปปรับใช้จริงได้สะดวกยิ่งขึ้น และช่วยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ให้ดีขึ้น โดยในปี 2563 กลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์หลายชิ้นที่ทำให้พาร์ทเนอร์ธุรกิจสามารถรับเงินคืนเพื่อเพิ่มความโปร่งใสในด้านนโยบาย และทำให้ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายมีความชัดเจนมากขึ้น กลยุทธ์นี้จะช่วยทำให้พาร์ทเนอร์สามารถนำกองทุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด (MDF) ไปปรับใช้หรือนำไปใช้ได้อย่างอิสระ เพื่อช่วยเร่งโครงการด้านการตลาดให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้พาร์ทเนอร์สามารถมองเห็นกระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของกลุ่มธุรกิจหัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ได้อย่างชัดเจน
การเพิ่มขีดความสามารถ
ในปีนี้ หัวเว่ย จะเปิดตัวใบรับรอง Huawei Certified Pre-sales Professional (HCCP) สำหรับสินค้าประเภท IP และ Storage เพื่อช่วยให้พาร์ทเนอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของสินค้าที่เกี่ยวข้องรวมไปถึงทักษะที่จำเป็น เพื่อจัดการการแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงเทคนิคกับลูกค้า, ออกแบบโซลูชันสำหรับการใช้งานในสถานการณ์ต่าๆ, และ จัดการทดสอบ POC ( Proof of Concept) ได้ นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย เอ็นเตอร์ไพรส์ ยังได้ยืดระยะเวลาของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด (MDF) และ กองทุนการตลาดร่วม (JMF) เพื่อสนับสนุนพาร์ทเนอร์ระดับโลก, พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชัน, และพาร์ทเนอร์ด้านผู้ให้บริการเครือข่ายในการพัฒนาทางธุรกิจ พาร์ทเนอร์เหล่านี้จะได้รับผลประโยชน์จากการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น
อีโคซิสเต็ม
หัวเว่ยได้จัดตั้งกองทุนสำหรับการส่งเสริมการพัฒนา Huawei ICT Academy (ADIF) สำหรับปี 2563 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาของ Huawei ICT Academy ด้วยการสนับสนุนด้านการฝึกอบรมและด้านการปฏิบัติการ รวมไปถึงกระตุ้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้ใบรับรองจากหัวเว่ย ในขณะเดียวกัน ADIF จะเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ Huawei ICT Academy กระชับความร่วมมือกับหน่วยงานด้านการศึกษา และพัฒนาทักษะทางเทคนิคให้กับบริษัทหัวเว่ยเองไปพร้อมกัน เนื่องจากทักษะและแบรนด์ของ Academy ดังกล่าวได้กลายเป็นจุดแข็งของบริษัทไปแล้ว และในอนาคต หัวเว่ยจะดึงดูดพาร์ทเนอร์ด้านอีโคซิสเต็มผ่านนโยบายที่เอื้อประโยชน์แก่พาร์ทเนอร์ ตั้งแต่การพัฒนาโซลูชันร่วมกัน กองทุนการตลาด และ กองทุนสนับสนุนพาร์ทเนอร์ระดับโลก (GPIF) เพื่อที่จะพัฒนาระดับความพึงพอใจในการส่งมอบบริการ รวมทั้งเพิ่มจำนวนพาร์ทเนอร์ที่สามารถเข้าถึงกองทุนส่งเสริมการพัฒนาด้านการตลาด (MDF) ได้
ในปลายปี 2562 หัวเว่ยได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ด้านการขายกว่า 22,000 ราย พาร์ทเนอร์ด้านโซลูชัน 1,200 ราย พาร์ทเนอร์ด้านการให้บริการ 4,200 ราย พาร์ทเนอร์พันธมิตรด้านทักษะ 1,000 ราย และ พาร์ทเนอร์ด้านการลงทุน การปฏิบัติการและการเงินอีก 80 ราย
ในยุคแห่งความอัจฉริยะเช่นนี้ กุญแจสำคัญที่จะสร้างอีโคซิสเต็มซึ่งทุกฝ่ายได้ประโยชน์อย่างเท่าเทียมคือการให้ทุกคนสามารถใช้จุดแข็งของตัวเองในการสร้างภาพรวมที่ดียิ่งกว่า หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นที่จะปรับใช้นโยบายด้านอีโคซิสเต็มเพื่อขยายพาร์ทเนอร์อีโคซิสเต็ม ช่วยเหลือพาร์ทเนอร์ในการบรรลุเป้าหมาย และให้การสนับสนุนพาร์ทเนอร์ให้ดียิ่งขึ้น ความพยายามในด้านต่างๆ จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนา การบ่มเพาะ การสนับสนุน การกระตุ้น และการยินยอมของพาร์ทเนอร์ โดยในที่สุดแล้ว กลยุทธ์เหล่านี้จะทำให้การจัดการพาร์ทเนอร์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสร้างอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้าง เต็มไปด้วยความร่วมมือ และให้ประโยชน์แก่ทุกฝ่าย เพื่อการเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นที่ทุกคนต่างต้องการใช้เป็นรายแรก