เจอตะพาบสีทองอร่าม ต้วมเตี้ยมกลางท้องนาอินเดีย ที่แท้ผิวเผือก
เจอตะพาบสีทองอร่าม ต้วมเตี้ยมกลางท้องนาอินเดีย ที่แท้ผิวเผือก
เจอตะพาบสีทองอร่าม - ซีเอ็นเอ็น รายงานการค้นพบตะพาบหับหายาก ที่หมู่บ้านสุจันปุระ รัฐโอริสสา ภาคตะวันออกของอินเดีย นอกจากมีภาวะผิวเผือก (albino) แล้ว ยังมีสีเหลืองทองอร่ามตา
https://www.youtube.com/watch?v=PP75r4gGerg
นายพสุเทพ มหาพัตรา ชาวนาในพื้นที่ดังกล่าว พบตะพาบตัวนี้ขณะทำนาอยู่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ก.ค. และส่งมอบให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงนำไปปล่อยคืนสู่ป่าธรรมชาติแล้ว
สิทธารถะ ปาติ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าวว่าเป็นครั้งแรกที่เห็นตะพาบแบบนี้ และอธิบายว่าสาเหตุที่สีเหลืองทองอย่างนี้เป็นเพราะมันเป็นตะพาบเผือกตั้งแต่เกิดเพราะไทโรซีนซึ่งผลิตสีมีความผิดปกติหรืออาจจะเกิดการกลายพันธุ์ในลำดับยีนส์
ตะพาบชนิดนี้ รู้จักกันในชื่อวงศ์ตะพาบหับ หรือ flapshell turtle จะโตเต็มวัยเมื่ออายุได้ปีครึ่งถึง 2 ปี
นายปาติกล่าวว่าปกติ มักจะพบเต่าและปู แล้วนำพวกมันไปปล่อยในน้ำ แต่นี่เป็นครั้งแรกในรัฐโอริสสาและครั้งที่ 2 ในอินเดียที่พบตะพาบเผือก
โดยทั่วไปแล้ว อาจพบเห็นตะพาบได้ในปากีสถาน ศรีลังกา อินเดีย เนปาล บังกลาเทศและเมียนมา พวกมันกินไม่เลือก อาหารโปรด ได้แก่ กบ หอยทากและไม้น้ำ
เมื่อปี 2559 มีผู้พบตะพาบเผือกสีเขียวบนชายหาดแคสต์อะเวย์ รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย อาสาสมัครจากชายหาดคัมและนอร์ท ชอร์ ประหลาดใจมากที่เห็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่ดูแปลกตา และตั้งชื่อให้ว่า “ลิตเติล อัลบี”