รีเซต

Zoom ประกาศขอแก้ไขแอพพ์ให้ดีขึ้น หลังพบปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

Zoom ประกาศขอแก้ไขแอพพ์ให้ดีขึ้น หลังพบปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
มติชน
2 เมษายน 2563 ( 19:40 )
161
Zoom ประกาศขอแก้ไขแอพพ์ให้ดีขึ้น หลังพบปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

Zoom ประกาศขอแก้ไขแอพพ์ให้ดีขึ้น หลังพบปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แอพพลิเคชั่น “ซูม” (Zoom) แอพพลิเคชั่นสำหรับการประชุมผ่านออนไลน์ มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นต่อวันเป็นจำนวนกว่า 200 ล้านครั้ง ในเดือนมีนามคนี้ จากเดือนก่อนหน้านี้มีผู้ใช้วันละ 10 ล้านครั้ง ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่ทำให้ผู้คนต้องรักษาระยะห่างระหว่างกันเอาไว้ ทำให้การประชุมต่างๆต้องใช้สื่อออนไลน์เป็นหลัก ในขณะที่ผู้ใช้เริ่มมีความเป็นห่วงกังวลเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัว และ “ซูมบอมบิง”

โดยเมื่อวันที่ 1 เมษายน นายเอริก หยวน ซีอีโอของซูม เปิดเผยว่า จำนวนผู้ใช้ซูมมีเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีสถาบันการศึกษากว่า 90,000 แห่ง ใน 20 ประเทศ ใช้บริการซูมในสอนผ่านออนไลน์

อย่างไรก็ตาม จำนวนการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในแอพพ์ซูม มีขึ้นไปพร้อมๆกับความห่วงกังวลเรื่องการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน

โดยนายหยวนกล่าวว่า ทางซูมเองตระหนักดีขึ้นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องความคาดหวังเกี่ยวกับเรื่องความเป็นส่วนตัวและเรื่องความปลอดภัย ซึ่งในเรื่องนี้ ตนขอโทษอย่างสุดซึ้งต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) ของสหรัฐ สาขาบอสตัน ได้ออกประกาศเตือนว่า อย่าใช้เว็บไซต์สาธารณะในการประชุมหรือแบ่งปันลิงค์ต่างๆ หลังได้รับรายงานว่า มีการบุกรุกเข้าไปในการประชุมของสถาบันการศึกษา ที่เรียกว่า “ซูมบอมบิง”

โดยล่าสุด บริษัท สเปซเอ็กซ์ ผู้ให้บริการขนส่งทางอวกาศของอีลอน มัสก์ ได้สั่งห้ามพนักงานใช้ซูม เนื่องจากเกรงเรื่องความเป็นส่วนตัวและเรื่องความปลอดภัย

นายหยวนกล่าวว่า ได้รับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้วว่า และในอีก 90 วันข้างหน้า บริษัทให้คำมั่นว่าจะทำให้บริการของซูมดีขึ้น และจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ขณะที่ไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริษัทเทคโนโลยีที่มีบริการประชุมทางไกล ระบุว่า “ทีมส์” บริการประชุมทางไกลของไมโครซอฟท์ มีผู้ใช้งานมากถึง 1.56 ล้านราย เมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา ส่วน สแล็ก มีผู้ใช้ไม่ถึง 500,000 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง