รีเซต

กรมชลฯบริหารจัดการน้ำเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ส่งน้ำให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้เต็มศักยภาพ

กรมชลฯบริหารจัดการน้ำเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ส่งน้ำให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้เต็มศักยภาพ
มติชน
25 พฤศจิกายน 2565 ( 14:39 )
69
กรมชลฯบริหารจัดการน้ำเขื่อนราษีไศลและเขื่อนหัวนา ส่งน้ำให้เกษตรกรเพาะปลูกพืชฤดูแล้งได้เต็มศักยภาพ

กรมชลประทาน จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมวางแผนบริหารจัดการน้ำเขื่อนราษีไศล และเขื่อนหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมส่งน้ำให้เกษตรกรได้เพาะปลูกตามแผนการเพาะปลูกตลอดช่วงฤดูแล้งนี้อย่างเพียงพอและทั่วถึง ตามนโยบายของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้สิ้นสุดฤดูน้ำหลากและก้าวเข้าสู่ฤดูแล้งตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ปริมาณน้ำท่วมขังเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติในหลายพื้นที่ กรมชลประทาน ได้เข้าสำรวจพื้นที่ อาคารชลประทาน รวมไปถึงระบบส่งน้ำต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากฤดูน้ำหลากที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพในช่วงฤดูแล้งนี้ โดยที่เขื่อนราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ กรมชลประทาน ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือแนวทางในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกร ได้มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ ทั้งนี้ จะรักษาระดับเก็บกักน้ำของเขื่อนราษีไศลไว้ที่ ระดับ +119.00 เมตร(รทก.) พร้อมกับกำหนดช่วงเวลาในการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำของเขื่อนราษีไศล ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ เพื่อเก็บกักน้ำไว้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ตลอดจนตรวจสอบ ซ่อมแซม บำรุงรักษาอาคารชลประทาน พนังกั้นน้ำต่างๆ ให้กลับมาใช้งานและส่งน้ำให้เกษตรกรได้ทำการเพาะปลูกได้ตามปกติ สำหรับพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ นั้น กรมชลประทาน ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น เร่งดำเนินการสูบน้ำออกจากพื้นที่อย่างต่อเนื่องไปจนกว่าสถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกร สามารถกลับเข้าสู่ที่พักอาศัยและเริ่มทำการเกษตรได้ในเร็ววัน

 

ในส่วนของเขื่อนหัวนา ที่ตั้งอยู่ในทางตอนล่างถัดจากเขื่อนราษีไศล ปัจจุบันปริมาณน้ำยังอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก กรมชลประทานได้วางแผนบริหารจัดการน้ำ เพื่อให้การใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งนี้ เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุด

 

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ปฏิบัติตามแนวทาง 10 มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2565/66 ที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบ พร้อมกับวางแผนจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2565/66 ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนตามลำดับความสำคัญของกิจกรรมการใช้น้ำ จัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ และเฝ้าระวังจุดเสี่ยงขาดแคลนน้ำ ที่สำคัญได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานเกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำและแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ให้เกษตรกรและประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เพื่อให้ทุกพื้นที่มีน้ำเพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง