ในยุคสมัยนี้มีคนเจ็บปวดทางจิตใจมากขึ้นทุกวัน อาจเป็นเพราะเราเคยถูกทำร้ายทางกาย ทางวาจา ทางใจ แล้วไม่มีใครให้ความเห็นใจ ใครๆก็บอกว่ามันก็เป็นเรื่องปกติที่ใครเขาก็ทำกัน เราจึงต้องซ่อนความอ่อนแอ ความเจ็บปวดไว้ไม่ให้ใครเห็น และการจะซ่อนมันได้นั้น วิธีหนึ่งที่มักทำกันคือใช้ความก้าวร้าวรุนแรงเป็นพฤติกรรมบดบังไม่ให้ใครเห็นความเจ็บปวดของตนเอง แล้วนำความก้าวร้าวนั้นไปทำร้ายคนที่อ่อนแอกว่า แล้ววงจรอุบาทว์ก็อุบัติขึ้น วนเวียนแบบนี้สืบเนื่องไปนอกจากนี้ยังมีเรื่องของความทุกข์จากความกดดันในเรื่องหน้าที่การงาน การสร้างตัว การทำหน้าที่เป็นผู้นำที่ดีในครอบครัวให้ได้ แต่ก็ทำได้ไม่ดีพอ....เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทำให้จิตใจของเราไม่ปกติ เครียด และหาทางออกไม่ได้ดร.พงษ์รพี บูรณสมภพ เขียนหนังสือเล่มนี้เพื่อให้คำตอบของปัญหาชีวิตโดยยกเคสกรณีศึกษาที่เคยทำคลาสบำบัดจิตใจผู้คนจากประสบการณ์ยาวนานกว่า 12 ปี ซึ่งแนวคิดที่ได้ภายในหนังสือเล่มนี้นับว่าน่าสนใจมากทีเดียวครับเนื้อหาภายในเล่มจากคู่ทุกข์เป็นคู่คิดรอยกรีด ความเจ็บปวดของสมบัติที่มีชีวิตในวันที่ชีวิตแกว่างไปมาระหว่าง 2 โลกฉับพลันทันใด หลุมพรางของคน Gen Zการเดินทางไกลของปมด้อย สู่ความสัมพันธ์ที่มีความหมายต่อจิตใจวันแรกของคนอมทุกข์ที่ตื่นจากฝันร้ายMidlife Crisis เพราะเป็นผู้ใหญ่จึงเจ็บปวดบทเรียนแห่งการทำตัวให้เป็นประโยชน์มากเกินไปเมื่อความคล้ายทำร้ายเราคนตัวเล็ก คนตัวใหญ่ และพลังของการยอมชีวิตที่ถูกขโมยการตัดสินใจบาดแผลของความสัมพันธ์เพราะเราไม่เท่ากันแนวคิดที่ได้ภายในเล่มในมุมมองของผู้เขียนSocial Phobia คืออาการวิตกกังวล ไม่กล้าเข้าสังคม มักเกิดจากประเมินตัวเองในทางลบมากเกินไป เป็นเรื่องของความไม่ลงตัวบางอย่าง ถ้าเป็นอ่อนๆก็แก้ได้ด้วยการฝึกเมตตาตัวเอง (Self-Comparison) โดยใช้หลักสมาธิเข้าช่วย แค่ตระหนักรู้ว่าร่างกายตัวเองบอกอะไร จิตใจหวั่นไหวเรื่องอะไร เป็นใช้ได้พ่อแม่บางคนเคยถูกบังคับมาก่อน คนยุคเบบี้บูมเมอร์ก็มักถูกสอนว่าลูกเป็นสมบัติที่ตัวเองลงทุนมา ไม่ได้มองว่าลูกเป็นอีกบุคคลหนึ่ง นอกจากนี้ลูกยังเป็นความฝันเป็นภาพสะท้อนความผิดหวังของตนเอง เป็นการต่อยอดสิ่งที่ตัวเองยังทำไม่สำเร็จ จึงบังคับให้ลูกเป็นอย่างที่ต้องการ ถ้าทำอะไรผิดก็ว่ากล่าวดุด่า หรือบางกรณีอาจถึงขั้นลงไม้ลงมือ เด็กจึงมีปัญหาด้านภาษาและพูดช้า ไม่มั่นใจในตัวเอง เบื่อชีวิต หงอ ลูกต้องทนยอมต่อไป บางครอบครัวไม่ชอบให้ลูกทำตัวเป็นลูกแหง่ น้ำตาของลูกถูกปฏิเสธ เด็กจึงไม่ร้องไห้ แล้วหันไปทำร้ายตัวเองแทนความสำเร็จของคนยุคใหม่มักวัดจากเงินทอง ความร่ำรวยเป็นเป้าหมายใหญ่ของชีวิต ซึ่งต้องได้มาตั้งแต่อายุยังน้อย พ่อแม่จะได้สบาย และเราก็ออกไปใช้ชีวิตตามที่ต้องการได้ ทั้งยังให้ความสำคัญกับปลายทางมากกว่าวิธีการหรือกระบวนการเพื่อไปสู่ความสำเร็จคน Gen Z ที่เจอกับวิกฤติจะกลายเป็นคนคิดลบ มีความวิตกกังวลเรื่องอนาคต กดดันตัวเองให้รีบหาเงิน เพราะสิ่งที่เขาเรียนรู้คือ เงินพร้อมจะหายไป ธุรกิจสามารถล้มได้ เหตุการณ์คาดไม่ถึงเกิดได้ทุกเมื่อขอให้รับรู้และเข้าใจว่าเราจะไม่ได้ทุกอย่างฉับพลันทันที แต่ทุกอย่างต้องการเวลา ต้องตัดทอนความคาดหวังในการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แล้วให้ความสำคัญกับการอดทนปูรากฐานที่มั่นคงเพื่อรองรับอนาคตที่กำลังจะมาถึงวิกฤติวัยกลางคน หรือ Midlife Crisis เกิดขึ้นได้กับคนอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในวัยนี้บางคนมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ อาจมาจากตั้งความคาดหวังในชีวิตและหน้าที่การงานสูงเกินไป แต่ทำไม่ได้ ด้วยความกดดันจากสังคม ไม่พอใจหรือสับสนกับชีวิต ความผิดหวังเมื่อต้องสูญเสีย หรือบทบาทความสำคัญของตนเองลดน้อยลง บางคนทำผิดพลาดจึงเร่งรีบอยากจะแก้ไข แต่กลับทำให้ทุกอย่างแย่ไปกว่าเดิมรูปแบบของ Midlife Crisis ของหลายคนจะคล้ายๆกัน เช่น รู้สึกว่างเปล่ากับชีวิต กระตุ้นตัวเองไม่ขึ้น ไม่อยากทำอะไร หรือทำสิ่งที่ใหญ่เกินตัว เพราะไม่ยอมรับความเป็นจริง มักจะคิดว่า คนอื่นรักเขา เพราะภาพความเป็นคนเก่ง เป็นผู้นำ สวย หล่อ มีชื่อเสียง ฯลฯ ที่สร้างขึ้นมา ไม่ได้รักตัวตนของเขาจริงๆ ทางออกคือต้องยอมรับว่าเราตีความชีวิตผิด ควรมองสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ขาด เดินหน้าแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มแก้ไขจุดเล็กๆแล้วค่อยไปจัดการกับเรื่องใหญ่ ไม่ควรหนีปัญหา หรือพยายามปิดบัง เพื่อให้คนที่ยินดีรับฟังให้ความช่วยเหลือ แม้เราจะไม่ใช่คนยิ่งใหญ่หรือประสบความสำเร็จก็ตามจากที่เคยเข้าใจว่า การยอมทำให้ไร้อำนาจนั้นก็ไม่จริงโดยสิ้นเชิง การยอมเป็นอำนาจหรือพลังซึ่งทำให้ท่านได้ใจผู้คน ยิ่งโดยเฉพาะกับคนสำคัญซึ่งอยู่เคียงข้างและรักท่าน การยอมคือศิลปะ หากใช้อย่างสมเหตุสมผล ถูกเรื่อง ถูกเวลา และถูกคน ทำให้อีกคนหนึ่งมีความสุข ทำให้เขาตอบสนองเราดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้เหลิง จากที่เคยคิดว่าการข่มหรือการใช้อำนาจบังคับจะทำให้ได้ทุกอย่าง แต่การยอมกลับทำให้มีอำนาจในการต่อรองสูงกว่า ไม่ว่าเรื่องงานการเมืองหรือการบริหารคน ช่วยให้ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างดีขึ้น คนอื่นๆรับฟังมากขึ้นชีวิตที่มีปมด้อยไม่ใช่เหตุผลที่ทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นคนไม่ดี เขาแค่ได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวดทางอารมณ์ บางคนต้องการการบำบัดเพื่อไม่ต้องทำร้ายตนเองและผู้อื่น แค่เต็มใจยอมรับและลงมือเปลี่ยนแปลงจากภายในให้เป็นบวก แล้วเราจะพบเจอความสุขถ้าเราตื่นมาตอนเช้าแล้วไม่มีความภูมิใจในตนเอง ไม่ชอบตัวเอง ไม่มีพลังในการใช้ชีวิต รู้สึกว่างเปล่า ไม่มีสิ่งที่รอคอยหรือมองหา ไม่มีความท้าทาย ไม่รู้ว่าอะไรคือความสุขจริงๆ จัดเวลาไม่ลงตัว เบื่อ เย็นชากับคนรอบข้าง ฯลฯ นั่นแสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติ มีบางอย่างไม่ลงตัวเกิดขึ้น ลึกลงไปอาจมีความเจ็บปวดหรือบาดแผลอยู่ เพียงแต่เรายังไม่รู้หรือไม่กล้ายอมรับจึงไม่อาจหาทางออกได้พบนี่คือแนวคิดที่ได้บางส่วนเท่านั้น ยังมีแนวคิดทางจิตวิทยาที่แทรกอยู่ในกรณีศึกษาภายในเล่มให้ได้อ่านอย่างละเอียดอีกครั้ง นับว่าเป็นหนังสือจิตวิทยาเพื่อพัฒนาตนเองที่น่าสนใจยิ่ง และเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนคนหนึ่งย่อมไม่ได้เกิดกับคนเพียงคนเดียว อาจจะมีใครสักคนเป็นทุกข์เหมือนอย่างเรา และเราต้องการคำชี้แนะเพื่อจะได้เข้าใจทุกข์ของตนเองได้ลึกซึ้งกว่าที่เคย เพื่อที่จะได้หาทางออกของทุกข์เหล่านั้นได้ เครดิตภาพภาพปก โดย rawpixel.com จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย geargodz จาก freepik.com ภาพที่ 4 โดย jcomp จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ วิชาแรก วิชาชีวิตรีวิวหนังสือ ตอบปัญหาวิชาใจรีวิวหนังสือ การเจอเรื่องแย่ๆไม่ได้แปลว่าชีวิตจะไม่มีความสุขรีวิวหนังสือ เรื่องแบบนี้ คนเก่งๆเขารับมือกันแบบไหนTrueID In-Trend แหล่งสร้างคอนเทนต์หารายได้เสริมช่วงโควิด-19อัปเดตข่าวสาร และแหล่งเรียนรู้หลากหลายแบบไม่ตกเทรนด์ บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !