"แบงก์-นอนแบงก์" ทุ่มมาตรการอุ้มลูกหนี้ จากพิษโควิด-19
หลังจากที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 30,000 ราย ยอดหนี้ 234,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 และเป็น 156,000 ราย ยอดหนี้ทะลักกว่า 310,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563
นอกจากนี้ ธปท. ร่วมกับ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และผู้ให้บริการทางการเงินอื่นผ่านสมาคมและชมรมต่าง ๆ รวม 9 แห่ง เห็นตรงกันว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ขยายวงกว้างไปยังประชาชนและธุรกิจในทุกภาคส่วน จึงต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามภาวะที่ยากลำบากนี้ได้ จึงตกลงร่วมกันที่จะกำหนดมาตรการขั้นต่ำเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจ SMEs ซึ่งยังไม่เป็นหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน หรือ NPL มีผลตั้งแต่งวดการชำระหนี้ วันที่ 1 เมษายน 2563 หรือ พูดง่ายๆ ช่วยลูกหนี้ดี รับสิทธิ์ขั้นต่ำเหล่านี้ โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแจ้งกับธนาคาร
6 มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ดี ที่ออกมาจากธปท. เริ่มด้วย บัตรเครดิต และสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน ให้ลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ จากเดิม 10% เหลือ 5% ในปี 2563-2564 และเพิ่มเป็น 8% ในปี 2565 และ กลับสู่ภาวะปกติ ที่10% ในปี 2566 เป็นต้นไป และให้ลูกหนี้สามารถแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวได้
2 สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ผ่อนชำระเป็นงวด และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เลื่อนการชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน /// ผู้ให้บริการอื่น เลือกดำเนินการระหว่างเลื่อนชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ ลดค่างวดอย่างน้อย 30% ของค่างวดเดิม เป็นเวลา 6 เดือน
3 สินเชื่อเช่าซื้อ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมอเตอร์ไซค์ วงเงินไม่เกิน 35,000 บาท และรถทุกประเภท วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท ให้ดำเนินการพักต้น ดอกเบื้ย 3 เดือน หรือ พักเฉพาะเงินต้น 6 เดือน
เช่นเดียวกับ ข้อ 4 เช่าซื้อ หรือ ลิสซิ่ง มูลหนี้คงเหลือไม่เกิน 3 ล้านบาท ให้ดำเนินการพักต้น ดอกเบื้ย 3 เดือน หรือ พักเฉพาะเงินต้น 6 เดือน และข้อที่ 6 สินเชื่อธุรกิจ SMEs ไมโครไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท ให้พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดบอกเบื้ยตามความเหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย
นี่คือมาตรการขั้นต่ำที่ให้แบงก์ และนอนแบงก์ ดำเนินการ และสามารถเพิ่มมาตรการช่วยเหลือได้ ตามความเหมาะสมของสถาบันนั้นๆ เนื่องจาก แต่ละแห่งมีโครงสร้างลูกหนี้ ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามสถาบันการเงิน และไม่ใช้สถาบันการเงิน ต่างเพิ่มมาตรการช่วยเหลือลูกค้าของตนเองมากขึ้น
สำหรับแบงก์และนอนแบงก์ ที่ดูแลลูกค้าเพิ่มเติม สำหรับบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ ผู้รับผลกระทบโดยตรง ในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง จากรัฐบาลประกาศปิดกิจการ และเงินเดือนไม่เกิน 3 หมื่นบาท ลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เหลือ 12% โดยต้องแจ้งความประสงค์มายังธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารไทยพาณิชย์ พักชำระสินเชื่อบัตรเครดิตไทยพาณิชย์ และสินเชื่อหมุนเวียน Speedy Cash พักต้นและดอก สูงสุด 6 เดือน ข้อนี้ต้องแจ้งเจตจำนงค์ไปยังธนาคาร
ผู้ถือบัตรเครดิตกสิกรไทย พักชำระเงินต้น จ่ายแต่ดอกเบี้ย ถึงเดือนธันวาคม 2563 สำหรับ บัตรเครดิต และบัตรเงินด่วนเอ็กซเพรส แคช ส่วนสินเชื่อเงินด่วนเอ็กซเพรส โลน พักชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 3 รอบบัญชี ต้องติดต่อธนาคารเช่นกัน
สำหรับลูกค้าบัตรเครดิต กรุงศรี คอนซูเมอร์ เให้ความช่วยเหลือพิเศษเพิ่มเติมสำหรับกลุ่มลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรง อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม การบิน และธุรกิจบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง เป็นต้น รวมถึงลูกค้าผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อม รับการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ เป็นรายกรณี โดยต้องแจ้งความประสงค์ไปยังธนาคารเพื่อพิจารณา
บริษัท บัตรกรุงไทย หรือ เคทีซี เว้นข้อกำหนดขั้นต่ำไม่เกิน 500 บาท ออกไป
ลูกค้าบัตรเครดิตซิตี้ (Citi) ให้เปลี่ยนยอดหนี้คงค้างเป็นยอดผ่อนชำระรายเดือนสูงสุด 48 เดือน พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษ, ยกเว้นการชำระเงินตามยอดขั้นต่ำที่เรียกเก็บให้ลูกค้าสูงสุด 2 ครั้ง ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2563
ส่วนสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนใหญ่ยังคงดำเนินมาตรการขั้นต่ำตาม ธปท. คือ เลื่อนชำระเงินต้น และดอกเบี้ย 3 เดือน หรือ ลดค่างวด 30% เป็นเวลา 6 เดือน
สินเชื่อเช่าซื้อแต่ละแห่ง ที่สิทธิทางการเงินแก่ลูกค้าเพิ่ม จะเป็นกลุุ่มที่มีลูกค้าเช่าซื้อจำนวนมาก เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ กรุงศรีออโต้ และธนาคารธนชาต พักชำระค่างวดสูงสุด 6 เดือน โดยกรุงศรออโต้ ที่มีสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์มาก ให้พักชำระกลุ่มนี้ด้วย 5 เดือน
ขณะที่สินเชื่อบ้าน จากมาตรการของธปท. ให้ธนาคารพักชำระเงินต้น 3 เดือน สำหรับ สินเชื่ออสังหาฯ ไม่เกิน 3 ล้านบาท หลายธนาคารให้เกินจากที่ ธปท.ระบุ เริ่มต้นที่ ธนาคารกสิกรไทย พักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน หรือ ลดยอดผ่อนต่องวด 50% สูงสุด 12 เดือน
ธนาคารไทยพาณิชย์ พักชำระเงินต้น 4 เดือน , ธนาคารกรุงไทย พักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน ,ธนาคารกรุงศรีอยุธยา พักชำระเงินต้นสูงสุด 12 เดือน หรือ ลดค่างวดสูงสุด 12 เดือน หรือ พักชำระค่างวด สูงสุด 6 เดือน , ธนาคารยูโอบี ลดค่างวดสูงสุด 12 เดือน และ ธอส. พักชำระเงินต้น 1 ปี หรือ ขยายระยะเวลาผ่อนชำระเพิ่ม, และพิจารณาลดดอกเบี้ย
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNThailand
Youtube Official : TNNThailand