เมื่อพูดถึงเว็บไซต์ฐานข้อมูลระดับนานาชาตินั้นก็มีอยู่หลายฐานข้อมูลด้วยกันแต่ถ้าถามเหล่าคนที่ทำงานวิจัยแล้วนั้นร้อยทั้งร้อยจะต้องรู้จักกับฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science อย่างแน่นอนโดยเฉพาะ Scopus เพราะนี่คือฐานข้อมูลงานวิจัยเชิงวิชาการที่เรียกได้ว่าใหญ่ที่สุดและครอบคลุมที่สุดในโลกแล้ว.แล้วจริงๆแล้วนั้น Scopus คืออะไรกันแน่และเราจะทำหรือหาข้อมูลอะไรใน Scopus ได้บ้าง? บทความนี้ผู้เขียนจะพาไปทำความรู้จักกับฐานข้อมูลระดับโลกนี้ให้มากขึ้นกันโดยเฉพาะผู้อ่านที่ทำงานวิจัยจะต้องไม่พลาดบทความนี้!1.) เริ่มแรกนั้นให้เราเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ฐานข้อมูล Scopus ก่อนโดยคลิกที่ลิงก์นี้ ฐานข้อมูล Scopus หรือใช้ลิงก์นี้ https://www.scopus.com/sources เมื่อเข้าไปแล้วก็จะได้หน้าเว็บไซต์ฐานข้อมูลดังรูปด้านล่างโดยฐานข้อมูล Scopus เป็นฐานข้อมูลที่ทุกคนเข้าได้ฟรีซึ่งนี่เป็นจุดเด่นที่เหนือกว่าทาง Web of Science ที่ต้องเสียเงินเพื่อ subscription แต่ Scopus ก็มีหลายฟีเจอร์ที่ถ้าจะใช้ก็ต้องเสียเงินเพื่อ subscription เหมือนกันนะซึ่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยทั่วโลกรวมถึงในไทยก็มักจะ subscribe ฐานข้อมูล Scopus และ Web of Science เพื่อให้นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าถึงฐานข้อมูล 2 ฐานนี้ได้ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักที่สำคัญของการเข้าถึงแหล่งข้อมูลงานวิจัยและวารสารระดับโลกต่างๆ.2.) เมื่อเลื่อนลงมาเราก็จะเห็นรายชื่อวารสารเยอะแยะมากมายและแต่ละวารสารทาง Scopus ก็จะให้ข้อมูลที่น่าสนใจมากมายซึ่งตัวของ journal metrics ที่สำคัญของฐานข้อมูล Scopus ที่เราจะต้องดูนั่นก็คือค่า CiteScore และค่า SCImago Journal & Country Rank (SJR) ซึ่งนี่เป็น 2 journal metrics ที่เป็นที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมาก.ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งวารสารมีค่า CiteScore และค่า SJR สูงก็มักจะเป็นวารสารที่มีคุณภาพและจำนวนการ citation สูงแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นตรงจุดนี้ก็คือขึ้นอยู่กับกลุ่มหรือสาขาเฉพาะของวารสารด้วยบางสาขานั้นถึง CiteScore และค่า SJR จะไม่สูงมากแต่ก็ถือว่าเป็น top journal ของสาขานั้นๆก็ได้นะ.3.) ต่อมาอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราสามารถเข้าไปดูได้ฟรีนั่นก็คือ rankings ของวารสารต่างๆในสาขาวิชา (Subject area) ที่เราสนใจว่าในสาขาวิชาที่เราสนใจนั้นมีวารสารอะไรบ้างและวารสารไหนมีค่า CiteScore และค่า SJR สูงที่สุด และแต่ละวารสารมีค่า CiteScore และค่า SJR เท่าไหร่กันบ้างซึ่งตรงจุดนี้ก็จะสามารถทำให้เราเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ได้ตรงกับที่เราต้องการมากขึ้นนะ.โดยในหน้าแรกก็ให้เราคลิกเลือกไปที่ Subject area ก่อนดังรูปด้านล่างซึ่งทาง Scopus ก็จะมีการ list สาขาวิชาต่างๆไว้มากมายดังรูปด้านล่างซึ่งเราก็สามารถเลือกให้ตรงตามสาขาวิชาที่เราต้องการได้เลย.หรือเราก็สามารถทำการพิมพ์หรือเลือกสาขาวิชาที่เราสนใจเข้าไปได้เลย เช่น ผู้เขียนสนใจทางสาขาวิชา Radiology, Nuclear medicine and Imaging ก็ทำการพิมพ์ลงไปและกดเลือกไปที่หัวข้อนี้และกด Apply ได้เลยดังรูปด้านล่าง.เราก็จะได้มาว่าในสาขาวิชา Radiology, Nuclear medicine and Imaging มีวารสารที่ indexed อยู่ในฐานข้อมูล Scopus กว่า 490 วารสารโดยทาง Scopus ก็จะเรียงจากวารสารที่มีค่า CiteScore มากที่สุดในที่นี้ก็คือวารสาร Radiology ที่มีค่า CiteScore อยู่ที่ 34.2 จากนั้นก็ไล่ค่า CiteScore ลงมาเรื่อยๆดังรูปด้านล่างถ้าผู้อ่านต้องการดูค่า SJR ก็แค่เลื่อนไปทางด้านขวาก็จะเห็นคอลัมน์ SJR ซึ่งวารสาร Radiology มีค่า SJR อยู่ที่ 4.073 ดังรูปด้านล่าง.4.) อีกจุดหนึ่งที่สำคัญคือเราสามารถใช้เมนู Filter เพื่อกรองเฉพาะวารสารที่อยู่ใน Quartile ที่เราสนใจได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการกรองให้เหลือแค่วารสารที่อยู่ใน Quartile ที่ 1 เพราะเราจะตีพิมพ์ผลงานวิจัยของเราในวารสารที่อยู่ใน Quartile ที่ 1 เท่านั้น เราก็ไปกดที่เมนู 1st quartile ที่ริมด้านซ้ายของหน้าเว็บไซต์และกด Apply ได้เลยเราก็จะได้หน้าเว็บไซต์ที่มีการกรองเฉพาะ 1st quartile มาแล้วที่จะเหลือเพียง 94 วารสารเท่านั้นจาก 490 วารสาร.วารสารในสาขาวิชาต่างๆนั้นสามารถที่จะแบ่งออกเป็น 4 Quartile นั่นก็คือ Quartile 1 (top 25% วารสารในกลุ่มนั้นๆ), Quartile 2 (top 25-50% วารสารในกลุ่มนั้นๆ), Quartile 3 ( 50-75% วารสารในกลุ่มนั้นๆ) และ Quartile 4 (top 75-100% วารสารในกลุ่มนั้นๆ) ซึ่งแน่นอนว่าวารสารในกลุ่ม Quartile 1 ก็ย่อมต้องตีพิมพ์ยากกว่าวารสารใน Quartile ที่ต่ำกว่าอยู่แล้วซึ่งเราก็สามารถดูได้ว่างานวิจัยของเรานั้นเหมาะที่จะตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ใน Quartile ไหนได้เลย.5.) นอกจากเราสามารถเข้าไปดู rankings ของวารสารต่างๆในสาขาวิชา (Subject area) ที่เราสนใจแล้วนั้นเรายังหาวารสารได้โดยการพิมพ์ชื่อวารสารเข้าไปเลย เช่น ผู้เขียนสนใจวารสาร Siriraj Medical Journal ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ก็สามารถพิมพ์ชื่อวารสารเข้าไปที่หน้าแรกได้เลย จากนั้นก็กด Find Sourcesหลังจากกด Find Sources เราก็จะได้ข้อมูลของวารสารมาว่าวารสาร Siriraj Medical Journal มีค่า CiteScore อยู่ที่ 0.7 และค่า SJR อยู่ที่ 0.192 ดังรูปด้านล่างเมื่อเรากดไปที่ชื่อวารสาร Siriraj Medical Journal เราก็จะได้หน้า Source details ของวารสารมาที่มีข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจของวารสารดังรูปด้านล่างเมื่อเลื่อนลงมาเราก็จะเห็นวิธีการคำนวณค่า CiteScore ว่าทำไมวารสาร Siriraj Medical Journal มีค่า CiteScore อยู่ที่ 0.7เมื่อกดไปที่เมนู CiteScore rank & trend เราก็จะพบว่าใน Category: General Medicine วารสารก็อยู่ในอันดับที่ 594 จากทั้งหมด 830 วารสารและก็มีการไล่อันดับมาให้ทั้งหมด และมีการโชว์กราฟ CiteScore trend ให้เราดูด้วยนะ.ต่อมาที่เมนู Scopus content coverage ก็จะมีบอกจำนวนงานวิจัยที่ทางวารสารตีพิมพ์ในแต่ละปีและยังสามารถดู Citation overview ได้ด้วยนะ.สรุปเว็บไซต์ Scopus เป็นเว็บไซต์ฐานข้อมูลงานวิจัยและวารสารวิชาการระดับโลกที่เรียกได้ว่าคนที่ทำงานเกี่ยวกับงานวิจัยจะต้องรู้จักหรือเคยใช้มาก่อนอย่างแน่นอนโดย Scopus ก็มีข้อมูลต่างๆที่น่าสนใจและนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้มากมายและปัจจุบันนั้นมหาวิทยาลัยต่างๆในไทยก็มักจะทำการ subscription ฐานข้อมูล Scopus อยู่แล้วเพื่อให้นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเข้าถึงฐานข้อมูลนี้ได้ดังนั้นไม่ว่าใครที่ทำงานเกี่ยวกับงานวิจัยหรือคนที่สนใจก็สามารถเข้ามาดูหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยหรือวารสารวิชาการต่างๆในเว็บไซตฺ์นี้ได้ไม่ยากเลย.ผู้เขียนยังได้เขียนบทความสอนการใช้โปรแกรมช่วยในการทำงานต่างๆที่น่าสนใจไว้อีกหลายบทความด้วยกันผู้อ่านสามารถเลือกอ่านได้ตามบทความที่สนใจได้เลยและผู้อ่านสามารถติดตามผู้เขียนได้ที่ช่อง Arteryสอนใช้ Scispace ช่วยทบทวนวรรณกรรมและสรุปงานวิจัยสอนใช้ Canva ทำโปสเตอร์แบบง่ายๆสอนใช้ Canva ตัดต่อวิดีโอแบบง่ายๆสอนใช้ ChatGPT ในการช่วยเขียนงานวิจัยทุกขั้นตอนสอนใช้ Google Forms สร้างและปรับแต่งแบบฟอร์มแบบง่ายๆสอนใช้งาน Google Drive พร้อมวิธีแชร์ไฟล์และโฟลเดอร์ให้ทุกคนที่มีลิงก์เข้าถึงได้ฝึกภาษาอังกฤษจากหนังและซีรีส์ฝึกภาษาอังกฤษจากแอนิเมชั่นวิทยาศาสตร์เครดิตภาพรูปภาพทั้งหมดแคปโดยครีเอเตอร์ Artery จาก Scopusบทความอื่นๆที่น่าสนใจของผู้เขียนใครรู้สึกเบื่อและท้อกับการอ่านบทความวิจัยยกมือขึ้น! แนะนำเว็บไซต์ Scispace ที่ช่วยอ่านและสรุปบทความวิจัยที่มาพร้อมกับ Co-pilot AI สุดล้ำที่ทำให้การอ่านบทความวิจัยจะไม่ยุ่งยากและน่าเบื่ออีกต่อไปแนะนำ+สอนการทำโปสเตอร์แบบง่ายๆ, รวดเร็วและสวยงามแถมฟรีด้วยโปรแกรม Canva ชนิดที่ใครก็ทำได้ภายในไม่กี่นาที!รีวิว+สอนการตัดต่อวิดีโอแบบง่ายๆ, รวดเร็วและสวยงามแถมฟรีด้วยโปรแกรม Canva ชนิดที่ใครก็ทำได้ภายในไม่กี่นาที!วิเคราะห์ชื่อหนัง The Hunger Games: The Ballad of Songbirds & Snakes ทำไมลูซี่ เกรย์เปรียบดั่ง Songbirds และสโนว์เปรียบดั่ง Snakesรีวิว 5 ผลงานการคุมทีมที่ดีที่สุดที่ของ The special one โชเซ่ มูรินโญ่ หนึ่งในยอดกุนซือที่สร้างสีสันให้กับโลกฟุตบอลมากที่สุด; ปอร์โต้, เซลซี, อินเตอร์ มิลานและเรอัล มาดริดเปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !