หนังสือที่อ่าน : [พลเมืองกำลังไทย] ไม่ว่าในสังคมเราจะมี [บทบาทหน้าที่] อะไร แต่ในเรื่องของชาติเรามีสถานะเป็น [พลเมือง] ตั้งแต่แรกเกิด และสถานะนี้จะคงอยู่กับเราตลอดไป[พลเมือง] แปลว่า [พละกำลังเมือง] ความหมายง่าย ๆ คือเราต้องทำให้ [เมืองน่าอยู่] แต่ในความหมายง่าย ๆ ก็เต็มไปด้วยนิยามหลากหลายที่แสดงถึงความเป็นพลเมืองสถาบันพระปกเกล้าเขียนไว้ในคำนำว่า “...มุ่งหวังที่จะสร้างความเป็นประชาธิปไตยด้วยการปลูกฝังค่านิยม และสร้างความเป็นพลเมืองให้เกิดขึ้น...” จึงได้ “...ริเริ่มโครงการรณรงค์สืบสานความเป็นพลเมืองด้วยงานวรรณศิลป์ขึ้น...” จนกลายเป็นการประกวดวรรณกรรมยอดเยี่ยมสถาบันพระปกเกล้าครั้งที่ 1 ปี 2561ภายในเล่มมีเรื่องสั้นรวม 22 เรื่อง 2 เรื่องแรกเป็นเรื่องสั้นเกียรติยศจากศิลปินแห่งชาติ คือ [อัศศิริ ธรรมโชติ] และ [ชมัยภร แสงกระจ่าง] ส่วนอีก 20 เรื่อง คือ [เรื่องสั้นยอดเยี่ยม] ที่ผ่านการคัดเลือกและตัดสินจากเรื่องสั้นที่ส่งเข้าร่วมประกวดกว่า 200 เรื่อง (เขียนไว้ในคำนำ)แน่นอนว่าเรื่องสั้นทุกเรื่องเขียนขึ้นจากแนวคิดเดียวกันตามหัวข้อประกวดคือ [พลเมืองกำลังไทย] แต่เพราะการตีความที่ต่างกันทำให้ทั้ง 20 เรื่องสั้นมีเนื้อหาที่แตกต่างกันตามบทบาทของตัวละครที่มีตั้งแต่ [คนพิการ นักวิทยาศาสตร์ คนในชุมชน เพื่อนบ้าน ตำรวจ เด็ก พ่อ หญิงสาวผู้มีปมด้อย หนุ่มขี้โรค คนปัญญาอ่อน คนรับสารส่งสาร ชาวเขา เจ้าของโรงงาน จิตอาสาที่เป็นชาวต่างชาติ คนขายไอศกรีม] นี่คือความหลากหลายที่นักเขียนแต่ละคนสร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของความเป็นพลเมืองไทยคงไม่มีใครที่ไม่รู้ว่าการเป็น [พลเมืองไทย] ต้องทำอย่างไรและต้องไม่ทำอย่างไร แต่การได้อ่านรวมเรื่องสั้นเล่มนี้ทำให้ได้เห็นภาพของพลเมืองที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยนึกถึง และอาจถึงขั้นไม่มีอยู่ในจินตนาการทั้งที่เมื่ออ่านจบก็ไม่ได้ซับซ้อนเกินกว่าจะคิดเองได้ แต่ก็แปลกที่บางแง่มุมกลับคิดเองไม่ได้จนกระทั่งได้อ่านทุกเรื่องมีความเฉพาะตัวทั้งเนื้อหาและตัวละครที่น่าสนใจ แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งด้วยความที่ตัวละครไม่ใช่ [ชาวเมือง] จึงน่าสนใจตั้งแต่ชื่อเรื่องคือ [คนปลูกชากับนางพญาเสือโคร่ง] (หน้า 142) ที่เล่าถึง [ชาวเขาหนุ่ม] ครอบครัวคนปลูกชาบนดอยที่มีต้นนางพญาเสือโคร่งแม้จะได้รับสถานะความเป็นพลเมืองไทยเต็มตัวมาสองรุ่นแล้ว แต่ผู้เป็นพ่อยังรู้สึกเหมือนคนบนดอยไม่ได้รับการสนใจ ช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาเท่าที่ควร รวมทั้งข้องใจว่ากลุ่มประชาคมอาเซียนจะช่วยให้ดอยของตัวเองเจริญได้อย่างไร พ่อผู้พยายามดูแลนางพญาเสือโคร่งให้อยู่คู่ดอย เพื่อตอบแทนแผ่นดินไทยที่บรรพบุรุษได้เข้ามาอยู่อาศัย ขณะที่ชาวเขาหนุ่มผู้เป็นลูกตั้งใจจะพัฒนาไร่ชาให้เป็นที่จดจำของนักท่องเที่ยวให้ได้มากกว่าเดิม เพื่อการค้าขายที่ดีขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเพื่อชื่อเสียงประเทศ เมื่อถึงวันที่นักท่องเที่ยวจากทั้งกลุ่มประชาคมอาเซียนมาเยือนอ่านเรื่องนี้แล้วสิ่งที่อยากทำเสียเดี๋ยวนี้คือเดินทางไปดอยแม่สลอง จิบชาใต้นางพญาเสือโคร่ง เพื่อขอบคุณ [พลเมืองไทยบนดอย] ที่ช่วยรักษาสองสิ่งนี้ให้เราชื่นชมด้วยความรื่นรมย์ได้ต่อไปคงไม่มีใครที่ไม่รู้ว่าการเป็น [พลเมืองไทย] ต้องทำอย่างไรและต้องไม่ทำอย่างไร แต่การได้อ่านรวมเรื่องสั้นเล่มนี้ทำให้ได้เห็นภาพของพลเมืองที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยนึกถึง และอาจถึงขั้นไม่มีอยู่ในจินตนาการทั้งที่เมื่ออ่านจบก็ไม่ได้ซับซ้อนเกินกว่าจะคิดเองได้ แต่ก็แปลกที่บางแง่มุมกลับคิดเองไม่ได้จนกระทั่งได้อ่านรวมเรื่องสั้นเล่มนี้จัดพิมพ์โดยสถาบันพระปกเกล้าจำนวน 5000 เล่ม เพื่อแจกให้กับผู้ที่สนใจอยากรู้จักความหมายของคำว่า [พลเมืองกำลังไทย] ในรูปแบบของเรื่องสั้นให้กว้างขึ้นและลึกขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ “...ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ผลงานด้านการรณรงค์สืบสานพลเมือง...” ที่เขียนในตอนท้ายของคำนำใครสนใจอยากเรียนรู้ [บทบาท] ต่าง ๆ ของ [พลเมือง] ลองติดต่อไปตามที่อยู่ในรูปสุดท้ายได้เลย [ทุกรูปโดย f i l e b y N o r]บทความอื่นของ f i l e b y N o r