หากใครมีธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษี แน่นอนว่าความรู้เรื่องภาษีเป็นสิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องให้ความสนใจ เพื่อดำเนินการเสียภาษีให้ถูกต้อง ก่อนที่ทางสรรพากรอาจมาตรวจสอบพบเจอเอาได้พร้อมเบี้ยปรับตามข้อกำหนด ยอมรับครับว่าเรื่องของภาษีนั้นมันไม่ง่าย เพราะเต็มไปด้วยตัวบทกฎหมาย ภาษาทางราชการที่อ่านแล้วต้องแปลไทยเป็นไทยอีกรอบหนึ่ง การตีความ การทำความเข้าใจให้ถูกต้องจึงมีรายละเอียดอยู่พอสมควร ซึ่งในฐานะเจ้าของกิจการ เราไม่อาจมั่นใจได้ว่านักบัญชีของเราจะจัดการเรื่องนี้ได้ถูกต้อง เราต้องมีความรู้ในเรื่องพวกนี้ไว้บ้าง เพื่อจะได้ไม่ให้ใครมาทำให้เราไขว้เขวเอาได้ครับ หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดย ถนอม เกตุเอม (TAXBugnoms) ผู้ที่ให้ความรู้ด้านภาษีชื่อดัง และเคยทำงานด้านภาษีมานานกว่า 10 ปี เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อให้เป็นความรู้ในการยึดถือปฏิบัติ โดยผู้อ่านจะเรียนรู้ผ่านทฤษฎีที่ถูกต้องควบคู่ไปกับการปฏิบัติที่เราได้ลงมือทำ หลังจากนั้นเราค่อยประยุกต์ให้เข้ากับรูปแบบธุรกิจของเรา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางด้านภาษีกรมสรรพากรทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ภาษีจากฐานรายได้และฐานการบริโภคภายในประเทศตามกฎหมายที่เรียกว่าประมวลรัษฎากร ซึ่งมีอยู่ 6 ประเภท คือ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ 5.ภาษีมรดก/ภาษีการรับให้ 6.อากรแสตมป์กรมศุลกากรจัดเก็บภาษีในส่วนของการส่งสินค้า การนำเข้า เรียกว่าภาษีศุลกากรกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการต่างๆที่รัฐเห็นว่าต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ ส่วนใหญ่มักเป็นสินค้าที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง แนวคิดที่ได้ภายในเล่มวิธีคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล คำนวณจาก กำไรสุทธิ × อัตราภาษี โดยปกติแล้วอัตราภาษีจะอยู่ที่ 20% แต่ถ้าเป็นธุรกิจ SMEs (ทุนจดทะเบียนที่ชำระไม่เกิน 4 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท) จะได้รับสิทธิลดอัตราภาษีอีกด้วย กำไร(ขาดทุน) = รายได้ - ค่าใช้จ่าย ซึ่งกำไรหรือขาดทุนนั้นมันมาจากรายได้ทางบัญชี แต่ยังมีกำไร (ขาดทุน)ทางภาษีอีกด้วย หมายความว่าการที่ธุรกิจของเรามีการขาดทุนทางบัญชี ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของเราจะไม่เสียภาษีนะครับ เพราะกำไรสุทธิทางภาษี ไม่ใช่ กำไรสุทธิทางบัญชี กำไร(ขาดทุน)สุทธิทางภาษี คือกำไรขาดทุนที่ใช้ในการคำนวณภาษี มาจากรายได้ทางภาษี หักด้วย ค่าใช้จ่ายทางภาษี ซึ่งจะออกมาเป็นตัวเลขกำไรหรือขาดทุนนั่นเอง กำไร(ขาดทุน)สุทธิทางภาษี มีความแตกต่างกัน 4 รูปแบบ1.รายได้ที่ถือเป็นรายได้ทางภาษี คือรายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้ แต่ต้องถือเป็นรายได้ทางภาษี2.รายได้ที่ได้รับการยกเว้น คือรายได้ที่ทางบัญชีถือเป็นรายได้ แต่ไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษี3.รายจ่ายต้องห้าม คือรายจ่ายที่ทางบัญชีถือเป็นรายจ่าย แต่ไม่ถือเป็นรายจ่ายทางหลักภาษี4.รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น คือรายจ่ายที่ทางภาษีกำหนดให้หักเป็นรายจ่ายได้มากกว่าหลักการบัญชีเขียนเป็นสมการให้ดูง่ายๆได้เป็นกำไร(ขาดทุน)ทางภาษี = กำไร(ขาดทุน) ทางบัญชี + รายได้ที่ให้ถือเป็นรายได้ + รายจ่ายต้องห้าม – รายได้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น - รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น สิ่งที่ทำให้ธุรกิจมีปัญหาเรื่องภาษี เพราะเจ้าของธุรกิจไม่รู้ว่าการปรับปรุงกำไร(ขาดทุน)ทางบัญชี เป็น กำไร(ขาดทุน)ทางภาษีนั้น มีขั้นตอนเช่นนี้เลยทำให้ตัวเลขที่ทางบัญชีพยายามทำให้ขาดทุนนั้นไร้ประโยชน์ ไม่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี และโดนบวกกลับในการคำนวณกำไรสุทธิอยู่ดี ธุรกิจที่เราทำควรจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อไหร่ ?1.ธุรกิจเราได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ถ้าได้รับสิทธิยกเว้น แปลว่าเราก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม2.ธุรกิจมีรายได้เกินกว่า 1.80 ล้านบาทหรือไม่ถ้ารายได้ถึงเกณฑ์แล้ว ต้องรีบขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน และเริ่มเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายได้ส่วนที่เกิน 1.80 ล้านบาทเป็นต้นไปถ้าเข้าเงื่อนไขทั้งสองนี้ มันคือสิ่งที่กฎหมายบังคับให้เราต้องทำแล้ว ถ้าไม่ทำถือว่าผิดกฎหมาย อีกทางเลือกหนึ่ง ถ้าหากเราเห็นว่าธุรกิจของเรามีรายได้เกิน 1.80 ล้านบาทแน่ๆ การเลือกจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่แรกก็เป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะบางกิจการอาจจะต้องการใช้สิทธิขอคืนในส่วนของภาษีซื้อในช่วงเริ่มดำเนินกิจการได้ ช่วยให้ต้นทุนของธุรกิจเราลดลงด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ใช่ต้นทุนของกิจการ โดยต้องแยกกันก่อนว่าภาษีซื้อไม่ใช่ต้นทุน และภาษีขายไม่ใช่รายได้ วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปจะเรียกว่าวิธีภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ หรือภาษีขายลบด้วยภาษีซื้อ ถ้าหากเดือนไหนภาษีขายมีมากกว่าภาษีซื้อ ส่วนต่างนี้จะถูกส่งให้กรมสรรพากร การตั้งราคาขายสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจึงควรตั้งราคาที่ไม่รวมภาษีไว้ก่อน แล้วค่อยคำนวณภาษีเข้าไปเพิ่มนั่นเอง ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นระบบที่ทำให้สรรพากรรู้ข้อมูลยอดซื้อและยอดขายของเราในทุกๆเดือน พร้อมแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่หากเราไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สรรพากรก็รู้ยอดซื้อยอดขายได้จากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีรายได้อยู่ดี ภาษีซื้อต้องห้ามคือ ภาษีซื้อที่ธุรกิจเราไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ พูดอีกอย่างให้เข้าใจง่ายคือ ภาษีซื้อที่จ่ายฟรีไป ขอคืนไม่ได้ รวมถึงรายการดังต่อไปนี้1.ไม่มีกำกับภาษีหลักฐาน2.ใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่กฎหมายกำหนด3.ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ4.ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการจ่ายค่ารับรอง5.ภาษีซื้อที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออก (เช่น ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)6.ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 42วิธีป้องกันปัญหาดังกล่าว คือ หลักฐานต้องครบถูกต้องและเกี่ยวข้องกับกิจการของเรา เพียงเท่านี้ก็ช่วยภาษีซื้อไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ภาษีครึ่งปี เป็นการยื่นแบบแสดงรายการคำนวณภาษีสำหรับกำไรในครึ่งรอบบัญชี (6 เดือนแรก) ความต่างระหว่างบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล คือ บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.94 ภายในสิ้นเดือน ก.ย ส่วนนิติบุคคลต้องยื่นภาษีเงินได้ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับจาก 6 เดือนแรกของรอบบัญชี เช่น ถ้ารอบบัญชีของรอบ คือ 1 ม.ค-31 ธ.ค ก็ต้องยื่น ภ.ง.ด.51 ภายใน ส.ค ภาษีประจำปี เป็นการยื่นภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นตลอด 12 เดือน โดยสามารถนำภาษีที่เสียในช่วงครึ่งปีมาหักออกได้ (เรียกว่าเครดิตภาษี) บุคคลธรรมดาต้องยื่น ภ.ง.ด.90 เพื่อแสดงการคำนวณภาษีของทั้งปี ภายในสิ้นเดือน มี.ค ถัดไป นิติบุคคลต้องยื่นภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี เช่น รอบบัญชี 1 ม.ค-31 ธ.ค จะต้องยื่นภายใน 30 พ.ค ของปีถัดไป (หากเดือน ก.พ ปีไหนมี 29 วันก็จะเป็นวันที่ 29 พ.ค) อีกทั้งต้องยื่นพร้อมกับงบการเงินที่จัดทำโดยนักบัญชีที่ได้รับรองว่าถูกต้องจากผู้สอบบัญชีแล้ว นี่คือบางส่วนของเนื้อหาภายในเล่ม รายละเอียดยังมีอีกมากให้เราได้ศึกษาเรื่องภาษีของธุรกิจ พร้อมทั้งกรณีศึกษาที่ยกตัวอย่างมาให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะบ่อยครั้งเราในฐานะเจ้าของกิจการก็ได้รับคำแนะนำทางภาษีผิดๆ หรือไม่เหมาะสมกับบริบทภายในประเทศ ซึ่งถ้าพลาดพลั้งละเมิดกฎถูกตรวจสอบย้อนหลังแล้วพบพิรุธหรือทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องแล้วละก็...ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็ยากที่จะคาดคิดผู้เขียนยังไม่มีกิจการเป็นของตัวเองแต่ก็อยากศึกษาว่าภาษีในโลกของคนทำธุรกิจมันซับซ้อนแค่ไหน ต้องระวังอะไรบ้าง ที่อ่านก็เพราะอยากรู้ และพอได้รู้...ก็ต้องยอมรับว่าเรื่องภาษีนั้นมันไม่ง่ายเลย ค่อยๆศึกษาไปเรื่อยๆก็คิดว่าเดี๋ยวก็คงเข้าใจได้ดีขึ้น ถ้าหากผู้เขียนอย่างผมมีกิจการเป็นของตนเองก็จะได้เข้าใจเรื่องของภาษีธุรกิจมากขึ้นกว่าที่เคย เครดิตภาพภาพปก โดย user19770072 จาก freepik.comภาพที่ 1 2 3 โดยผู้เขียนภาพที่ 4 โดย snowing จาก freepik.comภาพที่ 5 โดย katemangostar จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจ(รีวิว) หนังสือ MONEY 101 เริ่มต้นนับหนึ่งสู่ชีวิตการเงินอุดมสุขรีวิวหนังสือ กองทุนรวม 101รีวิวหนังสือ THE RICHEST MAN IN BABYLON เศรษฐีชี้ทางรวยรีวิวหนังสือ The Visual MBAรีวิวหนังสือ วิชาธุรกิจที่ชีวิตจริงเป็นคนสอน 2 เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !