ในปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและระบบเครือข่าย ได้พัฒนาความเร็วสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีที่ทำให้การรับส่งข้อมูลทำได้รวดเร็วขึ้นก็คือ การรับส่งข้อมูลผ่านสายใยแก้วนำแสง และด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้สายใยแก้วนำแสงมีราคาที่ถูกลงอย่างมาก จากที่เคยมีใช้งานกันเฉพาะภายในองค์กรใหญ่ ๆ ที่ใช้เชื่อมต่อกันระหว่างอาคาร และเชื่อมต่อระหว่างองค์กรที่อยู่ไกล ๆ กัน ก็พัฒนามาเป็นเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตภายในบ้าน โดยเข้ามาแทนที่สายทองแดง และมีความเร็วที่สูงขึ้นหลายเท่าตัวภาพโดย Domeในบทความนี้จึงอยากจะมาพูดถึงการส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงแบบคร่าว ๆ เพื่อที่เราจะได้รู้จักสายใยแก้วนำแสงกันว่า สายใยแก้วนำแสงนั้นมีการทำงานอย่างไรกันบ้างซึ่งหลักการทำงานของสายใยแก้วนั้น เป็นการแปลงสัญญาณไฟฟ้าที่เป็นสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ออกมาเป็นสัญญาณแสงด้วย LED หรือ Laser Diode ส่งไปตามสาย และเครื่องรับจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงออกมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบดิจิตอลส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกทีซึ่งการรับ – ส่งสัญญาณผ่านใยแก้วนำแสงนั้นจะมีแบนด์วิดธ์การรับส่งที่สูงกว่าสายสัญญาณที่เป็นสายทองแดงสูงมาก ๆโดยที่ประเภทของสายใยแก้วนำแสงนั้น จะถูกแบ่งออกตามรูปแบบการส่งสัญญาณ ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักด้วยกัน คือ แบบ Single Mode และ Multi – Mode1.สายประเภท Single Modeเป็นสายที่มี Core ขนาดเล็ก 9/125 µm และมีการส่งสัญญาณเป็นลำแสงเดียว ทำให้มีการส่งสัญญาณที่มีความแม่นยำสูง การลดทอนสัญญาณต่ำ เหมาะกับการนำมาใช้ในการเชื่อมต่อในระยะไกลระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง เป็นต้นภาพโดย Dome2. สายประเภท Multi - Mode ส่วนใหญ่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50/125 µm และ 62.5/125 µm ซึ่งในสายแบบ Multi-Mode นั้นก็แบ่งออกตามรูปแบบการส่งสัญญาณเป็นโหมดย่อยได้ 2 โหมด คือ2.1 Step Indexภาพโดย Dome2.2 Grade Indexภาพโดย Domeโดยแยกตามมุมการหักเหของลำแสงภายในสาย ซึ่งในการส่งสัญญาณแบบ Multi – Mode นั้น ลำแสงจะกระจัดกระจาย ทำให้การลดทอนภายในสายมีสูง จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในการรับส่งข้อมูลในระยะใกล้ ๆ เช่น เชื่อมต่อระหว่างชั้น หรือระหว่างอาคารภายในองค์กรเดียวกัน เป็นต้นซึ่งสำหรับบทความนี้คิดว่า น่าจะช่วยให้เราได้รู้จักกับสายใยแก้วนำแสงที่จะเข้ามามีบทบาท ในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ตั้งแต่การใช้งานอินเตอร์เน็ตภายในบ้าน เช่น Fiber To The Home (FTTH) หรือการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในองค์กร เพื่อการเลือกใช้งานสายใยแก้วนำแสง ที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราครับ และสำหรับบทความนี้ ต้องขอลาเพื่อน ๆ ไปเพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้าครับ สวัสดีครับ...ภาพหน้าโดย Michael Schwarzenberger จาก Pixabay