วัคซีน (Vaccine) คืออะไร หลายคนคงเคยได้ยิน คำว่า วัคซีน จนเริ่มชินหูมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แบบนี้ และทุกวันนี้ทุกฝ่ายก็พยายามเชิญชวนให้ประชาชนฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด ช่วยให้การแพร่ระบาดลดลง ให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ปกติโดยเร็ว แต่การที่เราจะนำอะไรเข้าสู่ร่างกายนั้น เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและรู้จักสิ่งนั้นมากพอ รู้ว่ามันคืออะไร ผลิตมาจากอะไร ผลิตอย่างไร มีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง เพราะชีวิตเรามีเพียงแค่ชีวิตเดียว ฉะนั้นเราจึงต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจฉีดวัคซีน สาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ มาจากเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกาย เช่น ไวรัสหรือแบคทีเรีย เข้าไปในร่างกายของเรา เมื่อมีเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย หากร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากพอที่จะกำจัดเชื้อโรคนั้น หรือคุมเชื้อโรคนั้นอยู่ ร่างกายของเราก็จะไม่ได้รับผลกระทบอะไรหรือมีผลได้น้อย แต่ถ้าหากภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถควบคุมเชื้อโรคนั้นได้ ก็จะแสดงอาการเจ็บป่วยออกมาให้เห็น เชื้อบางชนิดไม่ร้ายแรงแต่บางชนิดอาจรุนแรงจนสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ภูมิคุ้มกัน เรียกอีกอย่างว่า แอนติบอดี้ วัคซีน เรียกอีกอย่างว่า แอนติเจน วัคซีน เป็นการนำเอาเชื้อโรคหรือส่วนประกอบของเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่งที่เราต้องการจะทำวัคซีน นำมาทำให้อ่อนกำลังลงจนเชื้อนั้นไม่สามารถที่จะก่อโรคได้ แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายมีการสร้างแอนติบอดี้ หรือ ภูมิคุ้มกันได้ โดยวัคซีนแต่ละชนิดจะมีความจำเพาะต่อเชื้อนั้น ๆ ไม่สามารถป้องกันได้ทุกเชื้อนะคะ เช่น เมื่อร่างกายได้รับการฉีดวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อ A เมื่อได้รับแอนติเจนเชื้อ A แล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ต่อเชื้อ A เก็บไว้ในร่างกาย และเมื่อใดที่มีเชื้อ A เข้าสู่ร่างกายอีก ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ก็ตาม ร่างกายก็จะสามารถส่งแอนติบอดี้ของเชื้อ A ออกมาทำลายแอนติเจนของเชื้อ A จึงทำให้เชื้อโรค A ไม่สามารถทำให้เราเจ็บป่วยได้ หรืออาจพบอาการได้บ้างเล็กน้อยแต่จะไม่มีอาการหนัก คุณคงเคยได้ยินคำสองคำนี้ คือ วัคซีนเชื้อเป็นและวัคซีนเชื้อตาย ซึ่งวัคซีนทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันดังนี้ วัคซีนเชื้อตาย เป็นการผลิตวัคซีนโดยการนำเอาเชื้อมาเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวน จากนั้นทำให้เชื้อนั้นตายโดยการใช้ความร้อน หรือสารเคมี แล้วฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อไปกระตุ้นให้เกิดแอนติบอดี้ในร่างกาย หลังจากที่ได้รับวัคซีนประเภทนี้ มักจะเกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด หลังจากฉีดแล้วประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรืออาจมีอาการไข้ร่วมด้วย โดยวัคซีนประเภทนี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้น้อยกว่าชนิดเชื้อเป็น ส่วนใหญ่จึงจะต้องฉีดหลายเข็ม เพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำงานเต็มที่ วัคซีนเชื้อเป็น เป็นการผลิตวัคซีนโดยการนำเอาเชื้อมาเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวน แล้วทำให้เชื้ออ่อนกำลังลงจนไม่สามารถที่จะก่อให้เกิดโรคได้ แต่ยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้ หลังจากที่ได้รับวัคซีนร่างกายมักจะไม่แสดงปฏิกิริยาทันที mRNA Vaccine เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยการนำชิ้นส่วนของไวรัสมาทำการตัดแต่งสารพันธุกรรมโดยไม่ทำให้ก่อโรค mRNA ที่ผ่านการตัดแต่งแล้วจะถูกฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีการสร้าง โปรตีนหรือชิ้นส่วนของโปรตีน ซึ่งชิ้นส่วนโปรตีนนี้จะมีความคล้ายกับชิ้นส่วนของเชื้อโควิด19 จากนั้นร่างกายก็จะมีการสร้างแอนติบอดี้ต่อโปรตีนชนิดนี้ ทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อกำจัดเชื้อโควิด 19 ได้ โดยวัคซีนประเภทนี้มีการทดลองในลิงแล้วมีผลเป็นที่น่าพอใจ และต้นทุนการผลิตไม่สูงมากนัก เชื้อไวรัสเจ้าปัญหานี้ จะยังคงอยู่กับเราไปอีกนาน ขึ้นอยู่กับว่าเราเองจะสามารถปรับตัวให้อยู่กับมันได้หรือไม่ ใครปรับตัวได้เร็วก็ย่อมมีโอกาสรอดมาก แต่ถ้าใครช้าหรืออ่อนแอ ก็ต้องพ่ายแพ้ไปเป็นธรรมดา วัคซีนเป็นแค่อีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญแต่ไม่ใช่ทั้งหมด ไม่มีวัคซีนที่รับประกันในการป้องกันได้ 100 % เพราะฉะนั้น ปรับเปลี่ยนที่ตนเองร่วมด้วยถึงจะได้ผลดี ดูแลตัวเองให้มากขึ้น ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สวมใส่หน้ากาก เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการไปในพื้นที่คนแออัด สู้ไปด้วยกันค่ะ ขอบคุณรูปภาพจาก ภาพปก spencerbdavis / pixabay ภาพที่ 1 torstensimon / pixabay ภาพที่ 2 blendertimer / pixabay ภาพที่ 3 whitesession / pixabay ภาพที่ 4 jfcfilms / pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !