การย่อยอาหารการย่อยอาหารจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่1. การย่อยอาหารแบบเชิงกล ถ้าหากเป็นการย่อยอาหารแบบเชิงกลแสดงออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ - การเคี้ยว- กลัวหัวหดตัวของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหารที่ทำให้เกิดการบดอาหาร2.การย่อยเชิงเคมี คือการมีน้ำย่อยหรือเอนไซม์ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการย่อยอาหารนั้นเอง ระบบทางเดินอาหารมากันที่ระบบทางเดินอาหารที่จะเริ่มที่ปาก โดยที่ปากจะมีการย่อยทั้งเชิงกลและเชิงเคมี ถ้าหากเป็นเชิงกลให้เพื่อนลองนึกถึงที่ฟันที่เราใช้ในการเคี้ยวอาหารที่เราทานลงไป ส่วนการย่อยทางเคมีมาจากน้ำย่อยหรือต่อมน้ำลายที่ผลิตเอนไซม์อะไมเลส ซึ่งมีหน้าที่ที่เอาไว้ย่อยอาหารที่เป็นแป้งโดยเฉพาะ ส่วนอวัยวะอื่น ๆ เช่นลิ้น มีไว้เคี้ยวอาหารให้ให้ละเอียด และอย่างที่เพื่อน ๆ ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหน้าที่หลักของลิ้นคือมีไว้ลิ้มรสของอาหาร หลอดอาหารหลอดอาหารจะมีการย่อยเชิงกลเพียงอย่างเดียว เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อย่อยและส่งอาหารเข้าไปสู่กระเพาะอาหารนั้นเอง หลอดอาหารเป็นท่อยาวประมาณ 20 เมตร อยู่ด้านหลังของหลอดลมทำหน้าที่นำอาหารไปที่กระเพาะอาหาร ซึ่งอาหารที่อยู่ในหลอดอาหารจะเคลื่อนที่โดยการบีบตัวและขยายตัวของหลอดอาหาร ซึ่งการบิดตัวของกล้ามเนื้อทางเดินอาหาร เพอริสตัลซิส (Peristalsis) กระเพาะอาหารสำหรับกระเพาะอาหารเป็นการย่อยอาหารที่มีทั้งการย่อยเชิงกลและการย่อยเชิงเคมี ซึ่งการย่อยของเชิงกลและเชิงเคมีก็จะมีหน้าที่ที่ต่างกันออกไปได้แก่- การย่อยเชิงกล คือ การบีบตัวของกระเพาะอาหาร- การย่อยเชิงเคมี คือ ได้มาจากกรดเกลือหรือกรดไฮโดรคอริก และเอนไซม์เพปซิน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการย่อยอาหารแบบโปรตีน ดังนั้นถ้าพูดถึงกระเพาะอาหารให้เพื่อน ๆ นึกถึงการย่อยอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลัก ลำไส้เล็กลำไส้เล็กก็มีการย่อยเชิงกลและเชิงเคมีเช่นเดียวกัน การย่อยเชิงกลเกิดจากการหดตัวของลำไส้เล็ก การย่อยเชิงเคมีได้มาจากน้ำย่อยไม่ว่าจะน้ำย่อยจากลำไส้เล็ก และน้ำย่อยจากตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีน้ำดีที่ได้มาจากตับน้ำดีสามารถทำให้ไขมันแตกตัวส่งผลทำให้ลำไส้เล็กสามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น และที่สำคัญลำไส้เล็กไม่ได้มีหน้าที่แค่ย่อยอาหารอย่างเดียว แต่ลำไส้เล็กยังเป็นอวัยวะที่มีการดูดซึมสารอาหารมากที่สุดอีกด้วย สำหรับอาหารที่ย่อยไม่ได้แล้วอย่างเช่น สารอาหารจะถูกส่งไปที่ลำไส้ใหญ่โดยหน้าที่ของลำไส้ใหญ่ไม่ได้มีหน้าที่ไว้ย่อยอาหารนะคะ หลับขับกากอาหารออกมานั่นเอง รูปภาพหน้าปก : anaterate (pixabay)รูปภาพที่ 1 : Clker-Free-Vector-Images (pixabay)รูปภาพที่ 2 : OpenClipart-Vectors (pixabay)รูปภาพที่ 3 : naturalherbsclinic (pixabay)รูปภาพที่ 4 : Clker-Free-Vector-Images (pixabay)รูปภาพที่ 5 : Elionas2 (pixabay)เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !