รีเซต

โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชของ CPF ได้รับรองจากอบก.

โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชของ CPF ได้รับรองจากอบก.
TNN ช่อง16
17 พฤษภาคม 2565 ( 16:30 )
254

โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการเข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) รวม 3 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบบำบัดไบโอแก๊ส (Biogas), โครงการ Solar rooftop และโครงการรักษ์ลำน้ำมูล สามารถลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ รวม 34,633.542 ตันคาร์บอนไดออกไซ์เทียบเท่านายภาณุวัตร เนียมเปรม รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ภายใต้กลยุทธ์และเป้าหมายความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action มุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ การมีส่วนร่วมบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการผลิต ที่ผ่านมา โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โคราชของซีพีเอฟ เข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ของ อบก. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และได้รับใบประกาศเกียรติคุณจาก อบก. สามารถลดและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ รวม 34,633.542 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า จาก 3 โครงการ ได้แก่ โครงการระบบบำบัดไบโอแก๊ส (Biogas), โครงการ Solar rooftop และโครงการรักษ์ลำน้ำมูลสำหรับโครงการระบบบำบัด Biogas เป็นการผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ทดแทนการใช้น้ำมันเตาใน Boiler ซึ่งสามารถลดต้นทุนด้านพลังงาน และได้รับการประเมินจากอบก.ว่า สามารถลดก๊าซเรือนกระจก 33,702 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่วนโครงการ Solar rooftop นำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า และได้รับการประเมินจาก อบก. ว่าสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 762.747 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ ยังได้เตรียมขยายผลแนวทางการพัฒนาโครงการในอนาคต ด้วยการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ บริเวณบ่อน้ำดิบของโรงงาน หรือ Solar Floating อีกด้วยนอกจากการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว โรงงานฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศในพื้นที่ป่า จึงทำโครงการรักษ์น้ำมูล ร่วมดูแลระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานแห่งที่ 15 หาดจอมทอง โดยมีเป้าหมาย ปี 2565 ปลูกต้นไม้เพื่อซ่อมแซมและเพิ่มเติม 1,500 ต้น และมีเป้าหมายระยะยาว (ปี 2558- 2573) เพิ่มพื้นที่ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานฯ บนพื้นที่ 100 ไร่ ซึ่งจากการติดตามและวัดต้นไม้บริเวณพื้นที่ปลูก ตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน รวม 20 ไร่ วัดจำนวนต้นไม้ 724 ต้น อาทิ ต้นสัก ต้นสะเดา ต้นพะยูง ต้องมะค่า ฯลฯ มีปริมาณก๊าซเรือนเรือนกระจกที่ลดและกักเก็บได้ 168.405 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ทั้งนี้  ซีพีเอฟ มุ่งมั่นขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจสู่เป้าหมายเป็นองค์กรปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero)  โดยมีการดำเนินการใน 2 ส่วน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization) ประกอบด้วย แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพิ่มโอกาสทางธุรกิจจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ และสร้างโรงงานและฟาร์มแห่งอนาคต และอีกส่วนหนึ่ง คือ การกักเก็บคาร์บอน (Carbon Removal) ได้แก่ การสนับสนุนการยุติการตัดไม้ทำลายป่า และ การฟื้นฟูและปลูกต้นไม้  นอกจากนี้  บริษัทฯ ยังได้สนับสนุนกลไกการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเข้าร่วมโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ของ อบก.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง