สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจและอยากจะเป็นสถาปนิก คงต้องมาเติม.....กันเองหลังเข้าเรียนแล้วแหละ สถาปนิกคงจะเป็นอาชีพในฝันสำหรับเด็กที่เรียนสายวิทย์-คณิต ที่ชอบศิลปะ แต่ใครจะไปรู้ว่าอาชีพที่หลายคนบอกว่าเท่ คูล แต่อันที่จริงแล้วจะโรยไปด้วยหนามแหลมคม กว่าจะเรียนจบ สถาปัตย์ นั้นแสนยากเย็นคำถามที่พบบ่อยสำหรับน้อง ๆ ที่อยากเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรม1. วาดรูปไม่เป็นเรียนได้ไหมเรียนได้ ถ้าน้องสอบเข้าได้น้องก็เรียนได้อย่างแน่นอน แต่ก็ต้องมีทักษะพื้นฐานมาบ้างแต่ถ้าวาดรูปไม่ได้เลยอันนี้ก็คงจะต้องปรับตัวกันอย่างหนักและหมั่นฝึกฝนให้พอวาดได้บ้าง แต่ก็คงไม่ต้องถึงขั้นต้องวาดรูปสวยมาก ๆ ถึงจะเรียนได้ เพราะว่าเอาเข้าจริงสถาปนิกส่วนใหญ่ก็ไม่ได้วาดสวยขั้นเทพกันเหมือนเด็กศิลปกรรม แต่แค่มีทักษะวาดรูปแนวคิดของตัวเองให้คนอื่นเข้าใจแค่นี้ก็โอเคแล้วขอขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com/photos/qvBYnMuNJ9A2. เวลาเรียนใช้เงินเยอะไหม คำตอบ คือ มาก เพราะการเรียนสถาปัตย์นั้นสิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทำงาน ดังนั้นการเรียนจึงไม่ใช่การอ่านหนังสือและก็ไปสอบเหมือนคณะอื่น ๆ สักเท่าไหร่ แต่จะใช้เป็นการทำโปรเจคมากกว่าและแต่ละโปรเจคนั้นใช้เงินมากมายมหาศาล และกว่าจะเรียนจบ 5 ปีทั้งค่าเทอมค่าทำโปรเจค เรียกได้ว่าบานปลายจนผู้ปกครองกุมขมับ ดังนั้นถ้าใครต้องการเรียนคณะนี้นอกจากใจรัก การเงินทางบ้านคงต้องอยู่ในสภาพคล่อง3. จบมาแล้วเงินเดือนเท่าไรขอขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com/photos/qwQorlPFPbIได้ปกติเทียบเท่าเด็กจบใหม่ทั่วไป แต่ว่าก็ขึ้นอยู่กับบริษัทและประสบการณ์ บวกกับความสามารถของเราด้วย ดังนั้นความสามารถ ประสบการณ์ถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับนักศึกษาคณะนี้มากกว่าเกรดหลายเท่าคุณสมบัติที่สถาปนิกต้องมีมีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ เสมอและมีความคิดสร้างสรรค์มีความสามารถในการประยุกต์ศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันมีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อหน้าที่สามารถออกแบบสะท้อนแนวคิด และสามารถออกแบบอาคารที่มีประโยชน์ต่อสังคมมีความรอบคอบและพิถีพิถันในการทำงานมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีวาทศิลป์ในการพูด สามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างเข้าใจขอขอบคุณภาพจาก https://unsplash.com/photos/HtBlQdxfG9kความรับผิดชอบมีความสำคัญต่อบทบาทความเป็นสถาปนิกอย่างสูงเนื่องจากอาชีพสถาปนิกนั้นจะต้องออกแบบอาคาร นอกจากจะใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบแล้ว ความรับผิดชอบต่อการทำงานและต่อผู้คนจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อคนที่จะมาประกอบอาชีพสถาปนิก เพราะว่าสถาปนิกนั้นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสูง เช่น การสร้างอาคารในแต่ละครั้งจำเป็นต้องศึกษากฏหมายและข้อปฏิบัติของสังคมอย่างละเอียด ต้องดูโครงสร้างและความปลอดภัยในการก่อสร้าง ต้องรับผิดชอบและควบคุมงานจนกว่าจะแล้วเสร็จ ฯลฯ ดังนั้นอาชีพสถาปนิดจำเป็นต้องมีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูงมากมีหลากหลายคนมากที่เรียนจบสถาปนิกแต่ไม่ได้ประกอบอาชีพนี้แบบตรงตัว และคาดว่าน่าจะมีเพียง 10-20% ที่ประกอบอาชีพนี้ไปตลอด เพราะการเรียนสถาปัตย์นั้นไม่ได้สอนแค่เพียงในด้านสถาปัตยกรรมเพียงอย่างเดียว แต่ยังสอนให้วาดรูปได้ มีความรู้ด้านองค์ประกอบทางศิลปะ มีความคิดสร้างสรรค์ จึงทำให้เมื่อเรียนจบสถาปัตย์มาแล้วสามารถที่จะเลือกทำงานได้หลายหลายสาขา และในปัจจุบันนักคิดมีบทบาทต่อสังคมอย่างมาก