ความแม่นยำในการยิงปืนนั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ทั้งปัจจัยด้านสมรรถนะของปืนและกระสุน ด้านทักษะของผู้ยิง และปัจจัยด้านสภาพอากาศ ซึ่งในสามปัจจัยนี้ทักษะของผู้ยิงมีความสำคัญที่สุด เพราะหากผู้ยิงมีทักษะที่ดีพอก็จะสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการยิงให้เหมาะสมตามสภาพอาวุธปืนและสภาพอากาศได้แม้ว่าการยิงปืนสั้นจะแบ่งได้สองลักษณะ คือ การยิงเป้าแบบปกติ ที่เป้าหมายและผู้ยิงจะไม่มีการเคลื่อนที่ออกจากจุดเดิม ส่วนลักษณะที่สองคือการยิงเป้าแบบต่อสู้ ที่มีการยิงฉับพลัน การเคลื่อนที่ยิง การเปลี่ยนที่ยิง ในลักษณะที่สองนี้ต้องอาศัยความรวดเร็วด้วยเนื่องจากมีการจับเวลา แต่ไม่ว่าจะเป็นการยิงปืนในลักษณะใดความแม่นยำคือเกณฑ์วัดผลสัมฤทธิ์ในการยิงปืนเสมอ สำหรับเทคนิคในการฝึกยิงปืนให้แม่นยำนั้น ในบทความนี้จะกล่าวถึงเทคนิคการยิงในส่วนของทักษะผู้ยิง ซึ่งมีเทคนิคดังนี้1. รู้จักความถนัดทางกายของตนก่อนภาพจากunsplash.comความถนัดทางกายเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ในการยิงปืนนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ยิงต้องรู้จักความถนัดของตนอันได้แก่ ความถนัดทางสายตาที่จะบ่งบอกว่าผู้ยิงปืนควรเล็งปืนด้วยตาข้างขวาหรือซ้าย หากเป็นการยิงเป้าแบบปกติสามารถหาความถนัดได้โดยใช้มือทั้งสองข้างแบออกประสานกันเหลือรูตรงกลางระหว่างมือเพียงเล็กน้อย โดยให้เรามองผ่านรูนั้นแล้วค่อยดึงมือเข้ามาถึงตา หากมือเบี่ยงมาที่ตาข้างใดก็ให้ใช้ตาข้างนั้นเล็งแต่วิธีนี้ไม่ควรใช้กับการยิงปืนประเภทต่อสู้ เพราะการยิงแบบต่อสู้นี้ควรฝึกเล็งโดยใช้ตาทั้งสองข้าง หากต้องการเล็งแบบประณีตค่อยใช้การหรี่ตาแทน ส่วนความถนัดในการจับปืนก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากจับปืนในมือข้างไม่ถนัดจะทำให้แรงรีคอยล์ของปืนสั่นแรงจนศูนย์ปืนหลุดจากตำแหน่งเป้าหมายเมื่อยิงซ้ำในนัดต่อไป โดยทั่วไปแล้วการหามือข้างถนัดทำได้ด้วยการทดสอบแรงกำมือ ทดสอบความไวในการกระดิกนิ้ว แต่สำหรับผู้เขียนจะใช้วิธีการกำหนดเอามือข้างเดียวกับตาข้างถนัดเป็นมือจับด้ามปืนเสมอ ซึ่งการจับปืนนี้ก็แล้วแต่เคล็ดลับของแต่ละคน2. จับปืนให้ถูกท่า วางขาให้ถูกจุดภาพจากpixabay.comการจับปืนนี้ควรเลือกจับตามถนัด เพราะแต่ละคนมีขนาดมือไม่เท่ากัน จึงมีตำแหน่งในการจับปืนที่ต่างกัน แต่โดยหลักการแล้วการจับปืนควร “จับแน่น สบายมือ ถือถนัด และไม่ขัดระบบ” กล่าวคือเมื่อยกปืนขึ้นในตำแหน่งพร้อมยิงมือต้องแน่น หากต้องเล็งเป้าหมายเป็นเวลานานก็ยังสบายมือไม่เกร็งเกินไป สำหรับการยิงต่อสู้ที่ต้องเคลื่อนไหวไปพร้อมกับอาวุธปืนจำเป็นต้องถือให้ถนัดไม่ร่วงหลุดมือ สามารถยกขึ้นสู่ตำแหน่งยิงได้ในฉับพลัน และการวางตำแหน่งมือในการจับปืนนั้นต้องไม่ขัดขวางระบบการทำงานของปืน ไม่วางนิ้วบนสไลด์หรือวางนิ้วทับนกสับส่วนการวางขาให้ถูกจุดนั้น ให้ลองยืนในท่าถนัดแล้วเอนตัวไปรอบในมุมประมาณ 60 องศา หากทำแล้วรู้สึกว่าทรงตัวได้ดีอยู่แสดงว่ายืนถูกต้อง สำหรับการยิงปืนสั้นต่อสู้ให้ทำแบบแรก แล้วลองก้าวขาเปลี่ยนท่าเป็น เดิน วิ่ง นิ่ง นอน ดู หากสามารถเปลี่ยนเป็นท่าเหล่านี้ได้โดยไม่รู้สึกผิดปกติแสดงว่ายืนถูกท่าแล้วภาพจากpixabay.comนอกจาก 2 เทคนิคดังกล่าวนี้ การหมั่นฝึกซ้อมยิงปืนบ่อย ๆ ก็จะทำให้เกิดทักษะความชำนาญมากยิ่งขึ้น จนทำให้สามารถยิงได้อย่างแม่นยำในที่สุด สิ่งสำคัญที่สุดของผู้ที่มีปืนไว้ในครอบครองคือสติ พึงระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อยิงกระสุนออกจะลำกล้องปืนไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ ยิงปืนไม่ใช่เรื่องยากเลยแต่ความรับผิดชอบหลังจากกระสุนพ้นลำกล้องไปแล้วต่างหากที่เป็นภาระความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้เขียนแล้วปืนเปรียบเสมือนเครื่องเตือนสติให้รอบครอบ ใจเย็น และครูสอนสมาธิให้ใจจดจ่อมุ่งมั่นได้เป็นอย่างดี