แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะไม่ได้นำวิชาดนตรีหรือวิชาทางศิลปะมาใช้เป็นคะแนนในการยื่นสมัครสอบเข้าในมหาวิทยาลัยต่างๆในสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ตาม แต่วิชาดนตรีก็เป็นศาสตร์หนึ่งที่ยังกำหนดจัดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนั้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี สถานศึกษา สามารถสนับสนุนและผลักดันให้การจัดการเรียนการสอนในวิชาดนตรีของประเทศให้มีมาตรฐานเทียบเท่าสากลได้ ผู้เขียนขอเสนอ 10 เรื่อง ที่สถานศึกษาและครูดนตรีสามารถพัฒนาการเรียนการสอนในประเทศได้ดังนี้ครับ1. พัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาดนตรีในห้องเรียน 1.1 รายวิชาพื้นฐานดนตรี – พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเพื่อเน้นผู้เรียนได้มีทักษะทางด้านดนตรีอย่างสมดุลและรอบรู้ 1.2 รายวิชาดนตรีเพิ่มเติม – เป็นรายวิชาที่ฝ่ายวิชาการได้จัดขึ้นให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งครูสามารถจัดการการเรียนการสอนเพิ่มเติมจากรายวิชาพื้นฐานได้ เช่น วิชาขับร้อง วิชาขับร้องประสานเสียง และวิชาปฏิบัติเครื่องดนตรีตามความถนัด เป็นต้น 1.3 รายวิชากิจกรรมชุมนุม – ครูสามารถสอนได้โดยตรงในกิจกรรมชุมนุมนี้หลายกิจกรรม เช่น1.) กิจกรรมชุมนุมวงโยธวาทิต 2.) กิจกรรมชุมนุมขับร้องประสานเสียง 3.) กิจกรรมชุมนุมวงดนตรี การจัดกิจกรรมต่างๆ ครูสามารถสอนเกี่ยวกับ การทำงานของคณะกรรมการนักเรียนฝ่ายดนตรีได้ นักเรียนที่ต้องเป็นผู้มีส่วมร่วมกับการจัดการแสดงกิจกรรมต่างๆ ครูสามารถสอนแนะนำทั้งในหัวข้อการจัดกิจกรรมดนตรี การคิดต้นทุนและการทำงานให้เสร็จสมบูรณ์2. การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ครูสามารถนำศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนและการดูแลกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีผู้ที่จะเป็นผู้ร่วมทำงานด้วยอยู่อย่างมาก เช่น กิจกรรมชุมนุมดนตรี โครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จัดกิจกรรมศุกร์สดชื่น เกี่ยวกับกิจกรรมแสดงดนตรี สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุกๆ วันศุกร์ ไม่ว่าจะเป็นขับร้องเพลง หรือ การแสดงดนตรีเป็นกลุ่ม เช่น วงดนตรีสากล วงขับร้องประสานเสียง จุดประสงค์เพื่อให้นักเรียนได้กล้าแสดงออกบนเวทีและต่อผู้ชมเป็นจำนวนมากเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้กับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี3. ทำวิจัยในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างจริงจัง ครูควรหาข้อสรุปผลการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา เพื่อนำการสรุปผลการวิจัย มาหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาดนตรีในห้องเรียนต่อไป เพื่อให้ครูได้มีการพัฒนาคุณภาพ วิธีการจัดการเรียนสอนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนนั้นได้มีคุณภาพ และศักยภาพในด้านดนตรีมากขึ้นตามมาอีกด้วย4. เปิดแผนการเรียนการสอน สายศิลป์-ดนตรี ในโครงการ English Program ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะพัฒนานักเรียนที่สนใจในด้านดนตรีให้มีศักยภาพและคุณภาพมากขึ้นในโรงเรียนได้ ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความสามารถทั้งทางดนตรีและทางภาษาควบคู่กัน และยังสามารถศึกษาต่อทางด้านดนตรีในระดับอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไปได้ ด้วยการเรียนการสอนจะคล้ายกับการเรียนของสายวิชาอื่นๆ แต่ส่วนของรายวิชาดนตรีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางโรงเรียนจะทำการเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นอาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เรียน การเปิดแผนการเรียนการสอน สายศิลป์-ดนตรีนั้นจะมีการจัดซื้อและจัดทำห้องดนตรีต่างๆไว้สำหรับการเรียนการสอนให้รองรับกับผู้เรียนเพื่อผลักดันให้มีความทันสมัยและมีมาตราฐานสากลยิ่งขึ้นต่อไป5. จัดให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางทางด้านดนตรีในเขตพื้นที่ เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชน ที่สนใจในการเล่นดนตรีทั้งดนตรีไทยและสากล และเปิดโอกาสให้กับผู้ไม่มีโอกาสได้เรียนดนตรีเนื่องจากขาดงบประมาณในการจ่ายสำหรับค่าเรียนดนตรี ซึ่งจะจัดตั้งให้เป็นศูนย์ดนตรีที่ให้ความรู้เช่นวงโยธวาทิต วงแตรวง วงสตริงคอมโบ วงดนตรีลูกทุ่ง วงขับร้องประสานเสียง และการขับร้องเพลงประเภทต่างๆ โดยเชิญคณะครูอาจารย์ที่มีความรู้ทางด้านดนตรีและสอนดนตรีในเขตพื้นที่มาร่วมประชุมการจัดตั้งศูนย์ดนตรีเพื่อเยาวชนในเขตพื้นที่นั้นๆ และเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีมาให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆกับผู้บริหาร และคณะกรรมการ อีกทั้งเชิญวิทยากรมาเป็นผู้ให้ความรู้แก่เยาวชนอีกด้วย โดยใช้งบประมาณของท้องถิ่นในเขตพื้นที่ร่วมกับสถาบันการศึกษาที่แข็งแรงในการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ดนตรีเพื่อเยาวชนในเขตพื้นที่นั้นๆ6. จัดทำโครงการดนตรีต่างๆของโรงเรียน โครงการเข้าค่ายพัฒนาศักยภาพวงโยธวาทิตและวงดนตรีสากล การกำหนดแนวทางในการจัดการศึกษา โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด ฉะนั้นครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้เกิดความรู้อย่างหลากหลาย ดังนั้นการเรียนรู้วิทยาการที่มีความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจะส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ7. นำทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาดนตรี แนวคิดในการพัฒนานักเรียนในวิชาดนตรี ทั้งพัฒนาทางด้านสมอง ด้านสติปัญญา ด้านความฉลาดให้กับผู้เรียน โดยให้ครูดนตรีและครูวิชาอื่นๆ นำทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligences) มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาดนตรี เพื่อให้นักเรียนได้มีการทดสอบ ประเมินความสามารถการพัฒนาของนักเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 ด้าน คือ 1. ด้านมิติ ( visual-spatial) 2. ด้านภาษาศาสตร์ (linguistic) 3. ด้านตรรกะ (logical-mathematical) 4.ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย (bodily-kinesthetic) 5.ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ( interpersonal) 6.ความฉลาดภายในตน (intrapersonal) 7.ด้านดนตรี (musical) 8.ด้านธรรมชาติ (naturalist) และ 9.ความฉลาดในการหยั่งรู้ระดับสติปัญญาขั้นสูง (Existential Spiritual Intelligence)ซึ่งข้าพเจ้าสามารถนำความรู้ใหม่ๆที่เรียนวิชาดนตรีไป พัฒนาการเรียนดนตรีของนักเรียนในด้านต่างๆได้ดีขึ้น เช่น เมื่อนักเรียนได้เรียนดนตรี ความเข้าใจในความสามารถด้านตรรกะ ภาษา จะได้รับการกระตุ้นจากการอ่านโน้ตและจังหวะในการปฏิบัติดนตรี ซึ่งจะต้องใช้สมองหลายๆส่วนในการทำงานไปพร้อมๆกันเพื่อประมวลผลอย่างรวดเร็ว ว่าตัวโน้ตที่กำลังอ่านอยู่คือโน้ตใด มีการกำหนดจังหวะอย่างไร และจะเล่นอย่างไรเพื่อสื่อความหมายทางอารมณ์ให้ดีได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความฉลาดทางด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อเล่นดนตรีร่วมกันกับผู้อื่น จะพัฒนาความสามารถทางสังคมที่เรียกว่า Social Skills ส่วนความฉลาดในการหยั่งรู้ระดับสติปัญญาขั้นสูง เกิดขึ้นได้เมื่อเล่นดนตรีซึ่งจะช่วยให้เกิดสมาธิ8. จัดทำห้องสมุดดนตรีในโรงเรียน วัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมความรู้การศึกษาเกี่ยวกับด้านดนตรี เพื่อให้นักเรียนได้ติดตามความเคลื่อนไหวหรือเหตุการณ์ต่างๆเกี่ยวกับด้านดนตรี สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆเมื่อครูดนตรีให้ทำกิจกรรมหรือภาระงานเกียวกับด้านดนตรีได้ อีกทั้งสามารถเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือนันทการได้อีกด้วย ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด วิธีการอาจจะของบประมาณจากทางโรงเรียนเพื่อทำการจัดซื้อ ข้อมูลความรู้ต่างๆเกี่ยวกับดนตรีหรือทำการขอสำเนาจากเจ้าของลิขสิทธ์มาใช้ในการศึกษา และอาจจะขอรับบริจาคสารสนเทศด้านดนตรีจากองค์กรต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้ได้ทุกคน เช่น นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป เป็นต้น9. วิทยากรจัดค่ายดนตรีให้ความรู้กับโรงเรียนต่างๆ ทุกส่วนภูมิภาค ครูดนตรีเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ สามารถแบ่งปันความรู้ให้กับผู้เรียนได้ทุกภาคส่วน เช่น แต่ละภาคส่วน หรือ แต่ละจังหวัด จะมีโรงเรียนหนึ่งเป็นศูนย์กลางของการจัดอบรมในแต่ละครั้ง และให้โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมอบรมด้วยโดยมีการสนับสนุนจากผู้บริหารแต่ละสถาบันและผู้ปกครอง ซึ่งจะมีการให้ความรู้ในหลายๆด้าน ทั้งภาคปฏิบัติและทฤษฏี มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ครูผู้ควบคุมดูแลแต่ละสถาบันได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมนี้และได้แนวทางการเรียนการสอนจากวิทยากร เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามแต่ละบริบทของแต่ละโรงเรียน และยังทำให้เกิดเครือข่ายของครูและนักเรียนแต่ละโรงเรียนในส่วนภูมิภาคที่ใกล้เคียงกันอีกด้วย10. สร้างนวัตกรรมแนวทางการสอน ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดนวัตกรรมแนวทางการสอนรูปแบบของศาสตร์ทางดนตรีตั้งชื่อว่า" จิตตวาทิตวิทยา หรือ Psychoacousticology " ที่เลือกสร้างศาสตร์แล้วค่อยคิดหลักสูตรออกมาจากสิ่งที่ได้เรียนมา ซึ่งที่ไม่เลือกสร้างหลักสูตรก่อนเพราะหลักสูตรไม่ยืนยาวเท่าศาสตร์ และจะนำศาสตร์นั้นมาตีโจทย์เพื่อสร้างหลักสูตรต่อไป โดยการทำวิจัยในแต่ละหลักสูตรเมื่อได้การประเมินผลที่ดีที่สุดแล้วจึงน ามาใช้เป็นหลักสูตรแบบการเรียนการสอนดนตรีโดยประชากรในการวิจัยคือนักเรียนวงโยธวาทิต ข้าพเจ้าทราบดีว่าอาจต้องใช้ระยะเวลานานในการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา แต่ก็เป็นความหวังหนึ่งที่จะช่วยให้พัฒนการในด้านศาสตร์ของดนตรีต่อไป การเป็นครูดนตรีในสมัยนี้มันไม่มีเวลาให้ผู้เรียนมากมายเหมือนอดีต หลักสูตรนี้จะช่วยร่นระยะเวลาสอนได้มาก และหวังจะช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ดียิ่งๆขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งครูและสถานศึกษาสามารถสร้างนวัตกรรมแนวการสอนได้เองเช่นกัน โดยการผ่านการวิจัยต่างๆเพื่อนพัฒนานวัตกรรมให้ดียิ่งขึ้น ขอบเขตของโครงการสร้างนวัตกรรมแนวทางการสอน " จิตตวาทิตวิทยา หรือ Psychoacousticology " 1. Screening หาวิธีคัดกรอง pilot ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อการบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น 2. Scheduling จัดตารางการสอนให้สอดคล้องกับบทเรียน แบ่งกลุ่มเป็น 2-3 กลุ่ม สลับการสอนกับฝึกฝนเอง 3. Schooling จัดการสอนอย่างมีระบบ ใช้ mind induction (การจูงจิต) ก่อนการสอนทุกครั้ง เจาะทีละ point/skill เห็นผลทันทีในทุกๆ class 4. Squeezing ใช้แรงกดดันให้เป็น ในบางครั้งคราว เพื่อให้ได้ผลตามกำหนดเวลา ให้เป็นไปพร้อมๆกับกลุ่ม 5. Scouting ตรวจสอบและสอดส่องเพื่อประเมินผลผู้เรียน หาผู้มีพรสวรรค์ให้นำผู้อื่นและแบ่งเบางานผู้สอน 6. Scrambling หมั่นโยนโจทย์ให้ผู้เรียนรู้จักตะเกียกตะกายหรือแย่งชิงให้ได้มาซึ่งรางวัล/ความสำเร็จก่อนเพื่อนร่วมกลุ่ม 7. Scaling วางระดับการฝึกฝนเพิ่มความก้าวหน้าของแต่ละกลุ่ม/บุคคล อย่าให้รอกันไปมา จะทำให้ผู้เรียนที่รู้ไวกว่าเบื่อหน่าย 8. Scoring เก็บเกี่ยวความสำเร็จจากการดำเนินการสอนตามขั้นตอนขอบข่ายของแผนการสอนข้างต้น หวังว่าบทความและข้อแนะนำจากผู้เขียนจะเป็นประโยชน์ต่อวงการการศึกษาของประเทศไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการพัฒนาการศึกษาในศาสตร์ของดนตรีในประเทศบ้านเราต่อไป ขอบคุณครับอ้างอิง : ข้อมูลทฤษฎีพหุปัญญา(MultipleIntelligences) จาก www.google.comขอบคุณภาพประกอบจาก Suanthonfilm - STF ,RakmiaPhto และภาพจากผู้เขียน