🔰เครื่องจักสาน : ของคนยุคก่อนที่สืบทอดกันมาจนถึงยุคนี้🔰 ภาพโดย Pixabay เป็นงานหัตถกรรมฝีมือที่คนท้องถิ่นทำขึ้นมา เพื่อการดำเนินชีวิต เครื่องจักสานบางชนิด มีคุณสมบัติพิเศษ คือ ความคงทนแข็งแรง งดงาม จากการที่สร้างขึ้นด้วยฝีมืออันประณีต จนมีรูปร่าง ที่น่ามานำใช้สอย ในบรรดางานหัตถกรรมประเภทต่าง ๆ เครื่องจักสานมีความเก่าแก่ที่สุด ที่รู้จะกันมา ในทุกภาษา ในทุกชนชาติ เครื่องจักสานในระยะเวลาเริ่มแรก มีลักษณะหยาบ ไม่ค่อยคงทน แต่แล้วได้มีการวิวัฒนาการมาเรื่อย คิดค้นจนได้งานฝีมือที่งดงามได้ จนทำเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ จากการค้นคว้าเรื่องคนก่อนประวัติศาสตร์ โดยขุดค้นพบจารึก ที่เก่าแก่ที่สุด และใช้เป็นหลักแบ่งระยะเวลา ในประเทศไทย เป็น 2 ยุค คือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และยุคประวัติศาสตร์ ภาพโดย Pixabay มนุษย์ยุคนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองรู้จักทำเครื่องมือ ทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปันดินเผา และที่สำคัญเครื่องจักสาน หลักฐานสำคัญ ซึ่งพึ่งจะค้นพบ คือภาพเขียนที่หน้าผา ที่มีแนวขนานไปกับลำน้ำโขง ซึ่งอยู่ในเขตบ้านกุ่ม อำเภอโขงเจียม จีงหวัดอุบลราชธานี ในทุกภาคของประเทศไทย จะพบเห็นเครื่องจักสานต่าง ๆ มากมาย เพราะเครื่องใช้จำเป็นที่สำคัญยิ่ง ซึ่งทุกคนต้องใช้เครื่องจักสาน ประกอบกับความจำเป็น ทางด้านเศรษฐกิจ จึงทำให้ชาวบ้านต้องทำเครื่องจักสาน เป็นเครื่องใช้สอยในครัวเรือน และบางทีก็มีมากเหลือพอที่จะมาจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยน กันในชุมชน ความต้องการเครื่องจักสานที่มีลักษณะดังเดิม และเป็นที่ต้องของชาวกรุงเทพฯ อีกด้วย ภาพโดย Pixabay ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเราเอง ไม่มีชาติไหนลอกเลียนแบบความเป็นไทยของเราได้ แต่สามารถสอนให้ต่างชาติ ได้ทำ ได้ลอง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัวด้วย และชาวต่างชาติจะได้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เกี่ยวกับจักสานได้มากขึ้น ในประเทศไทยมีศูนย์ให้ความรู้มากมายในประเทศที่ให้ความรู้เกี่ยวภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ในที่คำว่าภูมิปัญญาไม่ได้มีแค่จักสาน มีทั้งการละเล่น มีทั้งอาหาร เครื่องใช้ ตำนาน เรื่องเล่า ต่าง ๆ นี้ก็เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เหมือนกัน ภาพโดย Pixabay ประโยชน์ของเครื่องจักสาน สามารถนำไปเป็นอุปกรณ์ต่างได้เช่น ตะกร้า กระดง เสื่อ ฝาผนังบ้านไม้ไผ่ เตียงไม้ไผ่ กระเป๋า หมวก ปิ่นโต เป็นต้น ส่วนนักท่องเที่ยวต้องการเข้าชม หรือศึกษาวิธีชีวิตการจักสาน สามารถไปที่ ศูนย์เครื่องจักสานใหญ่ที่สุดในโลก ที่จังหวัด ชลบุรี สามารถกดเข้าไปชมในลิงก์ได้เลย https://www.museumthailand.com/th/museum/Phanatnikhom-Town-Municipalityวันและเวลาทำการ : วันจันทร์-วันอาทิตน์ เวลา 08.00-17.00น. ค่าเข้าชม : ไม่มีค่าเข้าชมโทรศัพท์ : 038-461 180 / 038-461 453 / 086-017 2450เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานจักสานด้วยไม้ไผ่ โดนเฉพาะ การอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมี ปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้ให้ความรู้ เพราะปราชญ์ชาวบ้านจะเข้าใจเข้าถึงกระบวนการทำ และความเป็นไปเป็นมาของการจักสานได้เป็นอย่างดีภาพปกโดย Pixabay อาทร