เมื่อเร็วๆนี้ ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ร่วมมือกับทางชุมชน ๔ ชุมชนในเขตตำบลจะบังติกอ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้จัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้จะบังติกอ ณ มัสยิดรายอฟาฏอนี โดมเหนือมัสยิดรายอฟาฏอนี : ปัตตานี ภาพโดย : ผู้เขียนโดยมีนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นผู้กล่าวรายงาน รองศาสตราจารย์อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขคปัตตานี : ผู้กล่าวรายงานโครงการภาพโดย : ผู้เขียนนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี : ประธานในพิธีภาพโดย : ผู้เขียนอาคารศูนย์การเรียนรู้จะบังติกอภาพโดย : ผู้เขียนพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯภาพโดย : ผู้เขียนป้ายหน้าอาคารศูนย์การเรียนรู้ฯภาพโดย : ผู้เขียนบางส่วนของเครื่องใช้สมัยโบราณ ที่เคยใช้ในพื้นที่จะบังติกอแห่งนี้ภาพโดย : ผู้เขียนสำหรับ ๔ ชุมชนของตำบลจะบังติกอ ประกอบไปด้วย ชุมชนจะบังติกอ(วังเก่า),ชุมชนตะลุโบะ,ชุมชนจะบังติกอ(ริมคลอง) และชุมชนวอกะห์เจะหะ ทั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มี “โครงการ Pattani Heritage City ภายใต้ Creative Economy : ปัตตานีเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรม” ซึ่งได้มีการดำเนินการศึกษา สำรวจข้อมูลในลักษณะของพื้นที่วงแหวนพหุวัฒนธรรม โดยร่วมมือกับทางมัสยิดรายอฟาฏอนี เพื่อสร้างสถานที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลทางวัฒนธรรม ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่มาเยือนดินแดนแห่งจะบังติกอ และกระทั่งเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ของพื้นถิ่นของชุมชนแก่ผู้ทีมาเยี่ยมเยือนต่อไป จึงเกิด “ศูนย์การเรียนรู้จะบังติกอ” แห่งนี้ทีมงานคณะกรรมการบริหารมัสยิดรายอฟาฏอนีภาพโดย : ผู้เขียน โดยศูนย์การเรียนรู้จะบังติกอ ตั้งขึ้นบริเวณด้านข้างของในบริเวณมัสยิดรายอฟาฏอนี สำหรับมัสยิดรายอฟาฏอนี ถือได้ว่าเป็นมัสยิดประวัติศาสตร์ที่มีอายุมายาวนานของจังหวัดปัตตานี เป็นมัสยิดที่อยู่ในเขตพระราชฐานของวังเก่าแก่จะบังติกอ ที่อยู่เยื้องไปทางด้านหลังของมัสยิดด้านหน้ามัสยิดรายอฟาฏอนี และนักกีฬาปันจักสีลัต จากโรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ ร่วมแสดงในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯครั้งนี้ภาพโดย : ผู้เขียนดังอ้างอิงจากข้อมูลต่อไปนี้http://pattaniheritagecity.psu.ac.th/demo/landmark/%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%A3/ประวัติและความสำคัญเดิมเป็นมัสยิดแห่งรัฐปัตตานี เริ่มก่อสร้างเมื่อสมัยเมืองปัตตานีเป็นเมืองหรือรัฐปัตตานี มีเจ้าเมืองปกครองตนเอง คือ สุลต่านมูฮัมหมัด หรือ ตนกูบือซาร์ หรือ ตนกูปะสา เป็นเจ้าเมืองปัตตานี ช่วงประมาณ พ.ศ. 2388-2399 ได้ทรงเริ่มสร้างมัสยิดประจำเมืองปัตตานีในสมัยตนกูปูเต๊ะฮฺ พ.ศ. 2399-2424 เดิมเป็นสุเหร่าอาคารไม้ สร้างในรั้ววัง ต่อมาได้ย้ายมาสร้างเป็นอาคารถาวร ณ ที่ปัจจุบัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวังเจ้าเมือง ก่อนถึงสุสานหลวง (กูโบร์โต๊ะอาเยาะฮฺ) ต่อมาตนกูตีมุง พ.ศ. 2424-2433 ได้ทรงแต่งตั้งฮัจญีอับดุลาเตะฮฺ ดาโต๊ะ เป็นอีหม่ามท่านแรกอย่างเป็นทางการ และได้ขยายอาคารเพิ่มเติม แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จสมบูรณ์ท่านได้เสียพระชนม์เสียก่อน ต่อมาตนกูสุไลมานหรือตนกูบอซู พระอนุชาตนกูปูเต๊ะฮฺ ได้ทรงสร้างต่อจนแล้วเสร็จ มีการขยายอาคารในส่วนที่เป็นอิฐเพิ่มเติม พร้อมทั้งได้ประดับลวดลายภายในมัสยิดด้วยไม้แกะสลัก พรรณพฤกษา และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “มัสยิดรายอฟาฏอนี” ตามคำเรียกชื่อเมืองปัตตานี มัสยิดแห่งนี้มีความโดดเด่นที่สถาปัตยกรรมมลายูปาตานี ซึ่งผสมระหว่างอาคารทรงพื้นเมืองหลังคา 2 ชั้น ทรงปั้นหยา และยอดโดมแบบสถาปัจยกรรมตะวันออกที่อยู่ด้านหลังของอาคารประธานในพิธีเปิดกับสื่อมวลชนในพื้นที่ภาพโดย : ผู้เขียน ดังนั้น ศูนย์การเรียนรู้จะบังติกอมัสยิดรายอฟาฏอนี จึงจะเป็นแหล่งขุมคลังของข้อมูลในเชิงการท่องเที่ยว และเป็นศูนย์เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ของฝากจากชุมชนแห่งนี้ เพื่อรออาคันตุกะที่มาเยี่ยมเยือนแผ่นดินแห่งพหุวัฒนธรรมปัตตานีแห่งนี้ต่อไป. Anusorn Ninuan :True ID in trend เรื่อง-ภาพ-รายงาน