กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ประเพณีการแห่เรือ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย ในปัจจุบันก็ยังถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สำคัญอย่างหนึ่ง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็นต้นฉบับของกาพย์เห่เรือต่างๆ นักเขียนจึงอยากจะพาทุกคนมารู้จักกับกาพย์เห่เรือฉบับครูของเจ้าฟ้าธรรมธิเบรศที่ใช้ในพระราชพิธีการแห่เรือ มาทำความรู้จักกับกาพย์เห่เรือเห่ไปพร้อมกันเลยค่ะ การเห่เรือหลวงจะใช้กาพย์เห่เรือประกอบการเห่ในพระราชพิธีทางชลมารค แต่เดิมบทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรเป็นบทเห่เรือเล่นและเป็นบทเห่เรือที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเหลืออยู่ ทรงพระนิพนธ์เพื่อใช้เป็นบทเห่เรือส่วนพระองค์เมื่อครั้งเสด็จตามพระราชบิดาไปนมัสการพระพุทธบาท ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์นำมาเป็นบทเห่เรือหลวง กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรเป็นพระนิพนธ์ที่มีค่ายิ่งในวรรณคดีไทยเพราะทรงนิพนธ์กาพย์เห่เรือขึ้นเป็นพระองค์แรก เป็นต้นแบบให้กวีในสมัยหลังนิยมใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์แห่เรือตามแบบของพระองค์ กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศรมี 2 ตอน ตอนแรกกล่าวชมกระบวนเรือ ชมปลา ชมนก ชมไม้ และมีแทรกบทคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รัก ตอนที่ 2 เป็นบทเห่เรียกว่าเห่กากีและเห่สังวาลย์ เป็นบทคร่ำครวญถึงนางอันที่รักเพียงอย่างเดียว ลักษณะคำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ 1 บท ใช้เป็นบทนำกระบวนความพรรณนาแต่ละตอน แล้วต่อด้วยกาพย์ยานี 11 ไม่จำกัดจำนวนบทแล้วขึ้นตอนใหม่ด้วยโคลงสี่สุภาพ 1 บท ตามด้วยกาพย์ยานีโดยเนื้อความในกาพย์ยานีบทแรกจะเหมือนเนื้อความในโครงแล้วขยายกว้างออกไป สรุปกาพย์เห่เรือของพระเจ้าธรรมธิเบศรโดยย่อ ตอนที่ 1 ชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ต่อจากชมกระบวนเรือ ว่าด้วยชมปลา ชมไม้ ชมนก เป็นลักษณะนิราศ กาพย์เห่เรือนี้เห็นได้ในสำนวนว่าเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงนิพนธ์สำหรับการเห่เรือพระที่นั่งของพระองค์เองเมื่อครั้งตามเสด็จไปนมัสการพระพุทธบาทในเวลาเช้า ตอนที่ 2 เป็นคำสั่งวาสยกเรื่องพญาครุฑลักพานางกากีมาทำบทเห่กากี แล้วว่าต่อไปในกระบวนสั่งว่าจนจบประวัติโดยย่อของพระเจ้าธรรมาธิเบศร พระเจ้าธรรมธิเบศรหรือเจ้าฟ้ากุ้ง เป็นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชชนนีคือพระพันวัสสาใหญ่ ประสูติเมื่อพศ 2248 เมื่อมีพระชนมายุครบ 19 พรรษา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าขุนเสนาพิทักษ์ ด้วยเหตุผลที่พระองค์เป็นราชโอรสองค์แรกจึงมีความหวังที่จะได้ขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อจากพระราชบิดา แต่พระราชบิดาไม่โปรดปราน พระราชชนนีจึงทรงจัดการให้เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรผนวชที่วัดโคกแสงเพื่อหนีราชภัย ในช่วงปลายแห่งพระชนมายุเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรถูกลงพระราชอาญาจนสิ้นพระชนม์เมื่อพ.ศ 2298 โดยพงศาวดารกล่าวว่ามีผู้กราบบังคมทูลฟ้องว่าทรงเป็นชู้กับพระเจ้าสังวาลย์และเจ้าพระนิ่ม พระสนมในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขอบคุณภาพจาก pexels และ pixabay : ภาพปก / ภาพที่1/ภาพที่2/ภาพที่3