หมดยุคที่ครูพกพจนานุกรมเล่มใหญ่ เพียงแค่มี Royal Society พจนานุกรมเพื่อการเรียนรู้ภาษาไทยที่ง่ายขึ้นRoyal Society เป็นแอปพลิเคชั่นพจนานุกรมไทย พัฒนาขึ้นจากความร่วมมือของสำนักราชบัณฑิตยสถาน และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC โดยอ้างอิงของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด แอปนี้สร้างขึ้นซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ภาษาไทย แก่ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา รวมถึงบุคคลทั่วไป เป็นการเพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าถึงความรู้ อีกทั้งยังได้เข้าไปใช้ฟรีขั้นแรก เข้าไปดาวน์โหลดแอปจาก Play Store หรือ App Store ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งระบบ IOS และ Androidเข้าไปสู่หน้าแรกของแอปพลิเคชั่น จะปรากฏส่วนระบุคำศัพท์ที่เราต้องการค้นหา เราสามารถพิมพ์คำที่ต้องการค้นหาความหมายได้ทันที ซึ่งแอปก็จะระบุรายการคำที่เราอาจค้นหาให้อัตโนมัติ เมื่อพบคำที่ต้องการก็ให้กดไปยังคำที่ต้องการได้ทันทีจากนั้นแอปจะพาเข้าสู่หน้าที่บอกรายละเอียดความหมายของคำที่เราค้นหา แน่นอนว่าพจนานุกรมจะต้องมีการระบุประเภทของคำ ระบุคำอ่าน (ในกรณีที่สามารถอ่านได้หลายรูปแบบ) และประวัติของคำ (คำไทยที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ) เช่นเดียวกับพจนานุกรมฉบับที่มีการตีพิมพ์ทั่วไป นอกจากนี้หากคำดังกล่าวเป็นคำหลักที่มีลูกคำ ระบบจะระบุลูกคำของคำนั้น ๆ ต่อท้ายความหมายสำหรับการค้นหาต่ออีกด้วยการค้นหาแต่ละครั้ง ทางแอปพลิเคชันจะบันทึกประวัติการค้นหาเอาไว้อัตโนมัติ และการค้นหาตามหมวดอักษร ใช้ในกรณีที่เราไม่ได้ต้องการค้นหาคำในพจนานุกรมโดยที่ไม่ได้ระบุคำ ซึ่งเรียงลำดับตามพยัญชนะทั้ง 44 ตัวของไทยนอกจากนี้ยังมีส่วนข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ทั้งข้อตกลงการใช้งาน คำนำ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คำชี้แจง ซึ่งจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม และวิธีใช้พจนานุกรมฉบับนี้ โดยแบ่งเป็นประเด็นดังนี้1. การเรียงลำดับคำและการเรียงลำดับคำ2. อักขรวิธี (หลักเกณฑ์การเขียนคำในภาษาไทย)3. การใช้เครื่องหมายต่าง ๆ4. การบอกคำอ่าน5. ความหมาย6. ประวัติของคำ ทำไมต้องเป็นแอป Royal Society ความถูกต้อง ข้อมูลในแอปย่อมมาจากฐานข้อมูลที่ใช้ทำพจนานุกรมแบบเล่ม นอกจากนี้เป็นแอปที่พัฒนาโดยหน่วยงานทางวิชาการที่ได้รับการยอมรับและเชื่อถือได้ ข้อมูลจากแอปพลิเคชั่นจึงมีความถูกต้องกว่าแอปพจนานุกรมอื่น ๆความน่าเชื่อถือ สำนักราชบัณฑิตยสถานเป็นหน่วยงานเกี่ยวกับภาษาที่มีการตรวจสอบข้อมูลเป็นอย่างดี และมีการให้ข้อมูลตามหลักวิชาการ ข้อมูลจึงสามารถนำมาใช้สำหรับการเรียนการสอนและอื่น ๆ รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลนำไปใช้อ้างอิงในทางวิชาการได้ความทันสมัย ข้อมูลมีการอัปเดตเมื่อมีการบัญญัติคำศัพท์ใหม่จากราชบัณฑิตยสถานสะดวกรวดเร็ว ประการนี้สำคัญอย่างมาก เพราะสามารถค้นหาข้อมูลของคำศัพท์ได้ทันที ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องสิ้นเปลืองเวลาเปิดพจนานุกรมเล่มหนา ๆ เหมือนที่ผ่านมา ตอบสนองการใช้ชีวิตและการเข้าถึงข้อมูลความรู้ของคนสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดีแน่นอนว่าหากเซิร์ชคำว่า “พจนานุกรม” ใน Play Store หรือ App Store จะต้องมีแอปพลิเคชันพจนานุกรมขึ้นมามากมาย แต่ที่สิริอยากแนะนำว่าควรใช้ Royal Society เพราะเหตุผลทั้ง 4 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว ในฐานะที่สิริเป็นนิสิตครูภาษาไทย แน่นอนว่าแอปพลิเคชันนี้ช่วยให้การเรียนภาษาไทยเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาก ซึ่งนักเรียน รวมถึงทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้ภาษาไทยเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายและเหมาะกับคนรุ่นใหม่แบบเรา ๆ ค่ะ ลิงก์สำหรับดาวโหลดสำหรับ Android : https://play.google.com/store/apps ลิงก์สำหรับดาวโหลดสำหรับ IOS : https://apps.apple.com/us/app/royal-society***เครดิตภาพทั้งหมดจากแอปพลิเคชัน Royal Society***