ในโลกยุคปัจจุบัน น้ำมันปิโตรเลียมเป็นทรัพยากรพลังงานที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ วิศวกรรมปิโตรเลียมเป็นศาสตร์ที่มุ่งเน้นการสำรวจ ขุดเจาะ และผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการตอบสนองความต้องการพลังงานของมนุษยชาติ การใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิงในการเดินทาง การผลิต และการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้วิศวกรรมปิโตรเลียมกลายเป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่ขาดไม่ได้ในภาคพลังงาน อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานปิโตรเลียมอย่างหนักนี้กลับก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน เช่น มลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้มนุษย์หันมาพิจารณาหาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น รถพลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) เป็นนวัตกรรมที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในทศวรรษที่ผ่านมา การเข้ามาของรถไฟฟ้าได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ตั้งแต่เศรษฐกิจ การขนส่ง ไปจนถึงการจัดการทรัพยากรพลังงาน โดยรถไฟฟ้าใช้งานแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแทนการใช้น้ำมันปิโตรเลียม ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่น้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ส่งผลให้หลายประเทศสนับสนุนการพัฒนารถไฟฟ้าเพื่อลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ในการส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้านี้ มีความหวังว่าจะเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของพลังงานสะอาด ซึ่งจะช่วยลดภาวะโลกร้อนและการขาดแคลนน้ำมันในระยะยาว ปัจจุบันในไทยเริ่มมีการใช้รถไฟฟ้ากันแพร่หลายมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาครับ ผู้เขียนก็สังเกตเห็นรถไฟฟ้ามากหน้าหลายตาอยู่ตามท้องถนนหรือลานจอดรถเต็มไปหมดเลยครับ การเข้ามาของรถไฟฟ้า ถ้าพูดกันถึงความสะดวกสบายหรือรูปลักษณ์หน้าตาของรถไฟฟ้า ผู้เขียนของบอกตรง ๆ ว่ามันดูดีจริง ๆ ครับ ผู้เขียนเคยมีประสบการ์ณในการนั่งรถไฟฟ้าของเพื่อนมาครับ เวลานั่งรถฟีลลิ่งการนั่งถือว่าดีไม่แพ้รถชั้นนำยุโรปจำพวกเบนซ์หรือ BMW เลย แถมหน้าจอ ระบบปฏิบัตการนั้นก็ดูไฮเทคสุด ๆ หน้าจอหน้ารถดูเหมือนเป็นคอมพิวเตอร์มากกว่ารถโดยสารเพื่อการคมนามคมเลยครับ อีกทั้งถ้าถามเรื่องรายจ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือนนั้นถือว่าถูกกว่าน้ำมันถึง 2-3 เท่าตัวต่อเดิมครับ แต่อาจมีปัญหาเรื่องการหาสถานที่ใช้เพราะถ้าจะติดตั้งที่ชาร์จที่บ้านจะใช้รายจ่ายสูงพอสมควร และจุดบริการเติมไฟฟ้ายังไม่แพร่หลายเทียบเท่ากับน้ำมันครับ อย่างไรก็ตาม ถ้าพูดถึงเรื่องด้านการลดใช้น้ำมันระดับโลกละก็ การเข้ามาของรถไฟฟ้าอาจไม่สามารถหยุดการใช้ปิโตรเลียมได้โดยสิ้นเชิงครับ เพราะปิโตรเลียมยังคงมีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม เช่น การผลิตพลาสติก การขนส่งทางอากาศ และการผลิตไฟฟ้าในบางส่วนของโลก การผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเองยังคงพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติที่มีข้อจำกัด เช่น ลิเทียมและโคบอลต์ ซึ่งกระบวนการผลิตเหล่านี้ก็อาจก่อให้เกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงในวงกว้างจะต้องอาศัยการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรีไซเคิลแบตเตอรี่ หรือการค้นหาแหล่งพลังงานที่สะอาดกว่าเดิม ถึงอย่างนั้น รถพลังงานไฟฟ้ามีศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงโลกอย่างแท้จริงในระยะยาว การขยายตัวของรถไฟฟ้าไม่เพียงแต่จะลดการพึ่งพาปิโตรเลียมในการขนส่งเท่านั้น แต่ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนในวงกว้าง การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่เกิดขึ้นทันที แต่จะค่อยๆ พัฒนาไปตามการปรับตัวของเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภค รถพลังงานไฟฟ้าจึงถือเป็นก้าวสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้น และจะเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดอนาคตของการใช้พลังงานของโลก ผู้เขียนในฐานะนิสิตวิศวกรปิโตรเลียม ก็หวั่น ๆ กลัวจะตกงานเหมือนกันครับ เครดิตรูปภาพ ภาพปก โดย JuliusH ,Pixabay ภาพที่1 โดย keridjackson,Pixabay ภาพที่2 โดย JuliusH ,Pixabay ภาพที่3 โดย genephoto365 ,Pixabay ภาพที่4 โดย fernandozhiminaicela ,Pixabay เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !