ทุกสิ้นปี ครีเอเตอร์จะเห็นบทความแนะนำทักษะที่จำเป็นต้องมีและเรื่องที่ต้องปรับตัวในปีถัดไป แต่เรื่องที่มีผลระยะยาวท่ามกลางบรรยากาศของการทำงานควบคู่กับ AI กลับไม่ค่อยเป็นที่พูดถึงมากนัก Bernard Marr นักอนาคตศาสตร์ (Futurist) และที่ปรึกษาของบริษัทชั้นนำระดับโลกจะมาให้แนวคิดเรื่องทักษะแห่งอนาคตเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเราเหนือกว่า AI ตัวเราจะได้มีจุดแข็งอย่างที่ AI ไม่อาจมีได้ ผลงานการแปลโดย พรรษรัตน์ พลสุวรรณา ความรู้ความประทับใจในมุมมองของครีเอเตอร์ได้เรียนรู้ว่าในอนาคต อะไรก็ตามที่สามารถทำได้อย่างง่ายด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติ งานเหล่านี้จะหายไปในที่สุด เช่น บริการนำเที่ยว ถูกแทนที่ด้วยเว็บไซต์จองโรงแรมออนไลน์ คนขับแท็กซี่ ถูกแทนที่ด้วยบริการแท็กซี่ไร้คนขับ กรรมการตัดสินกีฬาก็อาจถูกแทนที่ด้วยระบบผู้ช่วยตัดสินวิดีโอ หรือ VAR เป็นต้น ได้เรียนรู้ว่าการตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะทำอะไรเป็นหน้าที่ของมนุษย์ เครื่องจักรอาจระบุได้ว่าทางเลือกใดดีที่สุด โดยตัดสินจากข้อมูล แต่มันไม่สามารถพิจารณาผลกระทบที่กว้างขึ้นจากการตัดสินใจ เช่น ผลกระทบต่อกลยุทธ์ของบริษัท คนทำงานและวัฒนธรรมองค์กร มนุษย์ต้องเป็นผู้ชั่งน้ำหนักผลกระทบในวงกว้างจากการตัดสินใจ ได้เรียนรู้ว่าคนที่สามารถปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงทาง Digital คือคนที่มีทักษะที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ทักษะเหล่านี้จะเป็นตัวแปรสำคัญที่สร้างความแตกต่าง และนำไปสู่ความสำเร็จ ได้เรียนรู้ว่าทักษะทางด้านข้อมูลจะทำให้ข้อมูลของเราดูมีน้ำหนักน่าเชื่อถือมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้ข้อมูลน่าสนใจมากขึ้น ไม่ว่างานนั้นจะเป็นงานอะไรก็ตาม ย่อมมีโอกาสประสบผลสำเร็จมากขึ้น ได้เรียนรู้ว่าการแสดงข้อมูลในรูปแบบภาพ เป็นวิธีการเล่าเรื่องที่ดี เช่น การใช้เปอร์เซ็นต์ในการเปรียบเทียบให้คนอื่นเห็นความแตกต่างระหว่างตัวเลข 2 ค่าได้อย่างง่ายดาย ใช้สีสัน เช่น ใช้สีแดงแทนเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในเชิงลบ ใช้สีเขียวแทนเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ใช้รูปภาพหรือภาพกราฟิก เพื่อสื่อถึงการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงบวกและลบ ได้เรียนรู้ว่าความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการรับรู้ แสดงออก และ ควบคุมอารมณ์ของเราได้ รวมถึงเข้าใจและตอบสนองต่ออารมณ์ผู้อื่นได้ คนที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะรับรู้ว่าอารมณ์ของตัวเองมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและส่งผลกระทบต่อคนอื่นรอบตัว ทั้งยังสามารถจัดการอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม และแม้กระทั่งมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของผู้อื่นด้วย ได้เรียนรู้ว่าการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น หรือความสามารถในการมองโลกจากมุมมองของผู้อื่น คือ องค์ประกอบสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ เนื่องจากมันทำให้เรารู้ว่าผู้อื่นรู้สึกอย่างไร ได้เรียนรู้ว่าประโยชน์ของการมีความฉลาดทางอารมณ์ คือ จะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นกับเพื่อนร่วมงาน คนรัก สมาชิกในครอบครัว และคนอื่นๆ รวมถึงสามารถรักษาความสัมพันธ์เหล่านี้ไว้ได้ คิดก่อนทำ มีการตระหนักรู้มนตนเองมากกว่า เป็นผู้ฟังที่ดีกว่า และจัดการอารมณ์ตนเองได้ดีกว่า โดยเฉพาะเวลาที่เครียด จะเครียดน้อยกว่า และวิตกน้อยกว่าผู้อื่น ได้เรียนรู้ว่าคนที่มีความยืดหยุ่นจะมองเห็นโอกาส ไม่ใช่อุปสรรค พวกเขาจะเต็มใจลองแก้ปัญหาหลายๆแบบดู และไม่ยึดติดอยู่แค่แผนเดิม ได้เรียนรู้ว่าคนที่มีความยืดหยุ่นจะเป็นคนที่มีความคิดเปิดกว้างเต็มใจจะรับฟังผู้อื่น แม้มันอาจจะขัดกับความคิดเห็นและความชอบของตนเองก็ตาม และจะรับมือกับความล้มเหลว จัดการความเครียด และมองโลกในแง่บวกได้ดีกว่า ได้เรียนรู้ว่าหลายคนอาจรู้สึกว่าถ้าเรากังวลบางอย่างมากพอ เราจะป้องกันไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ แต่ความคิดของเราไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ภายนอกได้ และหากเราใช้พลังไปกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง มีแต่จะทำให้ตัวเองต้องเผชิญกับความทุกข์ซ้ำสอง ให้พยายามปล่อยความกังวลทิ้งไปและยอมรับว่า...แม้เรื่องเล็กที่สุดที่จะเกิดขึ้น เราก็ยังมีเครื่องมือ แรงกำลัง และกลไกการช่วยเหลือพร้อมรับมืออยู่แล้ว ได้เรียนรู้ว่าจงยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ การนิยมความสมบูรณ์แบบ อาจนำไปสู่ความเครียดได้ เราไม่จำเป็นต้องเก่งที่สุด แค่ดีพอก็ถือว่าโอเคแล้ว การหาสมดุลคือการเดินทางอันยาวนาน ไม่ใช่สิ่งที่จะทำสำเร็จในครั้งเดียวแล้วจบกันขาดเลย เราจะต้องพยายามทำมันอยู่เรื่อยๆ เพื่อสร้างและรักษานิสัยที่ดีเหล่านั้นเอาไว้ และนี่คือทักษะความสามารถที่ต้องมีในโลก Digital ในยุคที่การทำงานเปลี่ยนแปลงบ่อยและการแย่งงานของ AI ที่ Bernard Marr เน้นย้ำให้ความสำคัญมาโดยตลอด บ่อยครั้งแนวทางด้าน IT ของเขา เราอาจตามไม่ทัน เนื่องด้วยชีวิตส่วนตัวของครีเอเตอร์ยังไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้มากนัก แต่อนาคตถัดจากนี้เราย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับมันอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ในส่วนของทักษะเชิงเทคนิค ทักษะด้านอารมณ์และสังคม เป็นสิ่งที่เราต้องมีในระยะยาวโดยไม่ขึ้นกับกาลเวลา นั่นคือ มันต้องเรียนรู้เพื่อปรับใช้ไปตลอด ซึ่งเป็นเรื่องที่เราทุกคนพัฒนากันได้ เครดิตภาพภาพปก โดย freepik จาก freepik.comภาพที่ 1 และ 2 โดยผู้เขียนภาพที่ 3 โดย freepik จาก freepik.comภาพที่ 4 โดย freepik จาก freepik.com บทความอื่นๆที่น่าสนใจรีวิวหนังสือ How to Make Work not Suck เมื่อเส้นทางการทำงานโรยไปด้วยเปลือกทุเรียนรีวิวหนังสือ ทำงานยังไงให้คุณมีมูลค่าสูงสุดในองค์กรรีวิวหนังสือ วิถีผู้ชนะฉบับคนเก่งแบบเป็ด (How to be better at (almost) everything)รีวิวหนังสือ PRODUCTIVITY คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่นรีวิวหนังสือ เปลี่ยนแปลงได้ก่อน มีโอกาสมากกว่า เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !